เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]