นักวิทย์ฯ สร้างต้นไม้ประดิษฐ์ดักจับ CO2 ไม่เปลืองพลังงาน คาดเป็นทางออกที่ยั่งยืน

หลังการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลมานานหลายร้อยปี คาร์บอนไดออกไซด์ได้สะสมในชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก ลำพังการลดการปล่อยมลพิษอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงมองว่าการดูดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถลดการสะสมในชั้นบรรยากาศได้ แต่ก็มีข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือประสิทธิภาพยังไม่มากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน และกินพลังงานมากอย่างเหลือเชื่อในการดูดซับมลพิษเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน ต้นไม้ก็ต้องการเวลามหาศาลที่จะเติบโตและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงตัวเองได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งความสามารถในการดูดซับก็อาจไม่เพียงพอ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (ASU) จึงเสนอให้ใช้ ‘Mechanical Tree’ หรือต้นไม้กล ในการดูดซับคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศโดยตรง  Klaus Lackner ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมของ ASU และผู้อำนวยการของ Center for Negative Carbon Emissions จึงวางแผนที่จะสร้างเครื่องดักจับคาร์บอนที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยต้นไม้ที่ว่านี้จะดูเหมือนกองแผ่นเสียงขนาดยักษ์ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่บรรจุตัวโน้ตและเสียงเพลง แต่เคลือบด้วยวัสดุดักจับคาร์บอน เมื่ออากาศหมุนเวียนผ่านแผ่นเสียงเหล่านั้นก็จะเก็บคาร์บอน ลงไปจนเต็ม ก่อนจะจุ่มลงในถังซึ่งใช้ไอน้ำในการปล่อยคาร์บอนที่บรรจุไว้ออกมาแล้วเก็บไว้ในถังอีกต่อหนึ่ง “การใช้ความชื้นทำให้เราสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึงครึ่งหนึ่งของการดักจับอากาศโดยตรง และส่วนที่เหลือเราก็เลือกที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน” Klaus ยังมองว่าการดักจับอากาศโดยตรงเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา แต่เราไม่ควรพึ่งพาวิธีการนี้เพียงอย่างเดียว และมองว่าการที่บริษัทดักจับคาร์บอน จำหน่าย Carbon Offset หรือการชดเชยคาร์บอนในราคา 500 – 1,000 เหรียญฯ ต่อตัน เป็นราคาที่สูงเกินไป  หลังจากนี้ Klaus […]

เนเธอร์แลนด์รีโนเวตบ้านเก่า ให้ประหยัดพลังงานได้ภายใน 1 วัน ตั้งเป้าอาคารทุกหลังปล่อย CO2 เป็นศูนย์

บริษัทจากเนเธอร์แลนด์กำลังนำเสนอวิธีการใหม่ที่จะทำให้อาคารเก่าประหยัดพลังงานได้มากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการก่อสร้างขนาดใหญ่  ในเวลาอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าอาคารทุกหลังบนโลกจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศของโลก และเนื่องจากอาคารส่วนใหญ่บนโลกถูกก่อสร้างมานานแล้วและใช้พลังงานแบบเก่าที่กินทรัพยากรและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก นั่นหมายความว่าจะต้องมีการปรับปรุงจำนวนมาก เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคารนั่นเอง Martha Campbell อาจารย์ใหญ่จากโปรแกรมปลอดคาร์บอนของ RMI องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานบอกว่าในสหรัฐอเมริกามีอาคารประมาณ 3 – 6 ล้านหลังต่อปีที่ต้องปรับให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงบ้านราว 15,000 หลังต่อวัน หากจะบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยคาร์บอนให้ทันภายในปี 2050  Energiesprong องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนซึ่งเปิดตัวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กำลังทำงานเกี่ยวกับระบบการปรับปรุงบ้านเพื่อเร่งให้กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนเกิดได้ไวขึ้น ผ่านโครงการที่ชื่อว่า RC Panels ที่ทำการผลิตแผงโซลาร์เซลล์น้ำหนักเบาซึ่งสามารถนำไปติดตั้งบนอาคารเก่าได้ทันที โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์วัดขนาดบ้านจริง ทำการตัดแผงที่ทับซ้อนกับตำแหน่งของหน้าต่างและประตูออกจากโรงงานเพื่อให้เข้ากันได้พอดีกับขนาดและตำแหน่งของอาคารทุกหลัง บวกกับบริการปรับเปลี่ยนปั๊มหรือท่อสำหรับทำความร้อนและน้ำเย็น ซึ่งดำเนินการได้รวดเร็วกว่าบริการแบบดั้งเดิมมาก ใช้เวลาเพียงวันเดียวสิ่งปลูกสร้างเก่าก็สามารถประหยัดพลังงานได้ทันที Christian Richter ทีมพัฒนาตลาดของ Energieprong บอกว่ากระบวนการดังกล่าวควรเป็นลักษณะของ Plug and Play กล่าวคือสามารถติดตั้งและพร้อมใช้งานได้ทันที สาเหตุเพราะว่าหลายประเทศในโลกนี้เช่นยุโรปกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน การรีโนเวตหรือปรับปรุงโครงสร้างแบบดั้งเดิมจึงกินเวลาและทรัพยากรมากเกินไป แต่พวกเขามีภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการผลิตมากเพียงพอสำหรับเทคโนโลยีแบบนี้ เป้าหมายของการดำเนินงานในครั้งนี้คือการทำให้บ้านแต่ละหลังมีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หมายความว่าแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาต้องผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอตลอดทั้งปี เท่ากับพลังงานที่ใช้ในการทำความร้อน น้ำร้อน และเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งตอนนี้เมืองยูเทรกต์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี […]

ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น  โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย  ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.