‘Waste War’ บอร์ดเกมสอนแยกขยะแบบง่ายๆ ที่ทั้งสนุกและได้เรียนรู้เรื่องรีไซเคิลไปพร้อมกัน

การแยกขยะ เป็นการกระทำหนึ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ยั่งยืนได้ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนก็มองว่าการแยกขยะมีวิธีที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ทำให้อาจมองข้ามการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไป ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘KongGreenGreen’ คอนเทนต์ครีเอเตอร์สายสิ่งแวดล้อมที่ให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะมานาน ร่วมมือกับ ‘ไจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์ ‘Qualy’ ในการทำ ‘Waste War’ บอร์ดเกมที่จะทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และนอกจากจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแล้ว ยังสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของขยะอีกด้วย ก้องเล่าให้เราฟังว่า บอร์ดเกมนี้เป็นการต่อยอดเนื้อหาจากช่อง KongGreenGreen ที่ต้องการทำให้การรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และทำตามได้จริง ผ่านหลักคิดที่ว่า ‘แค่เราปรับเพียงนิดหน่อยก็ช่วยโลกได้มาก’ ซึ่งเอกลักษณ์ของช่องคือ การแนะนำวิธีการแยกขยะเบื้องต้น การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ ผ่าน The Recycle Series รายการที่นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กระป๋องที่ถูกใช้งาน จนผ่านกระบวนการรีไซเคิลต่างๆ กลับมาเป็นกระป๋องที่สามารถนำมาบรรจุเครื่องดื่มได้อีกครั้ง นอกจากนั้น ด้วยความที่เขายังเป็นผู้นำกระบวนการเวิร์กช็อปเรื่องแยกขยะตามหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่สนใจเรื่อง Zero Waste ทำให้ต้องคิดเกมหรือกิจกรรมเพื่อที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้สนุกสนานพร้อมกับได้รับความรู้ไปด้วย ก้องจึงนำเอาประสบการณ์จากการทำกิจกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้เป็นบอร์ดเกมชิ้นนี้ ที่แม้จะดูเป็นสื่อการสอนที่ดี แต่ก็อยากให้เป็นเกมที่เล่นได้ยามว่าง เพราะ Waste War […]

‘Goose Liver’ บอร์ดเกมที่จะพาไปสำรวจเส้นทางอันโหดร้ายของอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ราคาแพง

ใกล้ช่วงคริสต์มาสเข้ามาทุกที หลายประเทศเริ่มมีการเตรียมวัตถุดิบสำหรับเฉลิมฉลองอาหารมื้อพิเศษประจำปี โดยหนึ่งในนั้นก็มักมี ‘ฟัวกราส์’ เมนูราคาแพงที่แลกมากับการทรมานห่านเพื่อการผลิตตับห่านที่นุ่มละมุนลิ้นอยู่ด้วย และเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ลดการกินฟัวกราส์ลง ‘Wakker Dier’ องค์กรสิทธิสัตว์ และ ‘Mutant’ บริษัทเอเจนซีโฆษณาในเบอร์ลิน ได้ร่วมมือกันผลิต ‘Goose Liver’ บอร์ดเกมที่มีสีสันและภาพประกอบสดใส เลียนแบบ ‘Game of the Goose’ บอร์ดเกมแบบดั้งเดิมในศตวรรษที่ 15 แม้ว่าภาพจะดูน่าเล่น แต่เนื้อหาในเกมนั้นกลับเป็นการย้ำให้เห็นถึงความเป็นจริงอันโหดร้ายในอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ ที่ถึงจะมีการห้ามผลิตในหลายประเทศของยุโรป แต่การบริโภคและการนำเข้ายังคงมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บอร์ดเกมนี้จะพาไปดูเส้นทางในขั้นตอนการผลิตฟัวกราส์ ทั้งกระบวนการที่ได้มาซึ่งตับห่าน ก่อนจะเปลี่ยนให้เป็นอาหารรสเลิศ ซึ่งในการทอยลูกเต๋าแต่ละครั้ง เลขแต้มที่ได้อาจพาผู้เล่นไปตกอยู่ในสถานการณ์อันโหดร้ายอย่างการบังคับป้อนอาหารที่สะท้อนถึงการทารุณห่านเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอีกมากมายตลอดทั้งเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นช่องที่เปลี่ยนให้ห่านของเราต้องเป็นอาหารแมวหลังจากพบว่าคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะกลายเป็นฟัวกราส์ ช่องที่พาเรากลับไปยังจุดเริ่มต้นกับการทนทุกข์ทรมานใหม่ทั้งหมดเพราะปัญหาไข้หวัดนกระบาด หรือช่องที่ต้องย้อนกลับไปที่โรงงานผลิตเพราะไขมันที่ตับห่านยังไม่เพียงพอ เป็นต้น โดยทาง Wakker Dier ได้ส่งเกม Goose Liver ให้อินฟลูเอนเซอร์ด้านสิทธิสัตว์ รวมไปถึงร้านอาหารที่ยังมีเมนูฟัวกราส์ขาย เพื่อเป็นการให้ความรู้และเตือนสติถึงการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมเบื้องหลังเมนูนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/2p8we4n3The Stable | tinyurl.com/2vjd6ysp

‘No Worries If Not’ สำรวจความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้หญิงผ่านบอร์ดเกมที่จำลองจากสถานการณ์จริง

จุดร่วมของผู้หญิงทั่วโลกคือ การรู้สึกว่าสังคมออกจะกดดันการใช้ชีวิตของพวกเธอมากเกินไป ต้องผจญกับอุปสรรค ต่อสู้กับกรอบความคิดต่างๆ ราวกับอยู่ในเกมที่ไม่ได้อยากเล่น แต่ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงก็อยากลองเอาชนะกับสิ่งที่ต้องพบเจอดูบ้าง ทางสตูดิโอออกแบบ ‘Little Troop’ และ ‘Billie’ แบรนด์ความงามจากสหรัฐอเมริกา จึงร่วมมือกันนำปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องเจอมาออกแบบและพัฒนาเป็นบอร์ดเกมที่มีชื่อว่า ‘No Worries If Not’ เพื่อพาผู้เล่นไปสำรวจความคาดหวังและความกดดันจากสังคมที่ผู้หญิงต้องเจอ ‘Georgina Gooley’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Billie กล่าวถึงไอเดียของเกมว่า ได้มาจากแนวคิดการใช้ชีวิตในฐานะผู้หญิงในปัจจุบัน ที่ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกมที่ไม่สามารถควบคุมและทำอย่างไรก็เอาชนะไม่ได้เลย จึงตัดสินใจนำความคิดเหล่านี้มารวมเข้ากับบอร์ดเกม No Worries If Not ถึงแม้ว่าตัวเกมจะสดใส สนุกสนาน ดูเหมือนมองโลกในแง่ดี แต่ Little Troop เลือกที่จะสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้เล่นด้วยอุปสรรคที่นำมาจากปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ เช่น การขอโทษมากเกินไป การที่ต้องทำให้คนอื่นพอใจ หรือแม้แต่คำพูดว่าคิดมากไป เพราะทางสตูดิโออยากให้บอร์ดเกมนี้เป็นพื้นที่ที่ให้ผู้หญิงได้เล่นและควบคุมชีวิตตัวเองเพื่อลองเป็นผู้ชนะบ้าง โดยเนื้อหาที่นำมาใช้บนตัวเกมนั้นอ้างอิงมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มหญิงสาวถึงความคาดหวังทางเพศและความท้าทายที่ต้องเจอในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ส่วนวิธีการเล่นก็เหมือนกับบอร์ดเกมทั่วไป ที่ผู้เล่นต้องทอยลูกเต๋าเพื่อพาตัวเกมของตนเดินตามจำนวนที่ทอยได้ โดยระหว่างทางจะเจอกับหลุมพรางต่างๆ บนกระดาน เช่น The Wage Gap (ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง), Smile […]

Walk The Talk บอร์ดเกมใหญ่ที่สุดในโลกในสวนพฤกษศาสตร์มิลาน ให้ผู้เล่นเลือกวิธีการเดินทางที่ยั่งยืนด้วยตัวเอง

หากใครเป็นสายบอร์ดเกมคงเคยคิดอยากจะเอาตัวเองลงไปเป็นเบี้ยตัวละครที่ได้ผจญภัยบนเกมกระดานกันสักครั้ง ซึ่งทางสถาปนิก ‘Italo Rota’ และบริษัทสถาปัตยกรรม ‘Carlo Ratti Associati’ ก็ได้ร่วมมือกันสร้างฝันให้หลายๆ คนเป็นจริงด้วยการเปลี่ยนสวนพฤกษศาสตร์ของมิลานให้กลายเป็นบอร์ดเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก สำหรับงาน Milan Fashion Week ทว่านี่ไม่ใช่การออกแบบเพื่อทุบสถิติใดๆ แต่เป็นการชวนทุกคนให้มาผจญภัยด้วยการเลือกเส้นทางในมิลานด้วยตัวเอง เพื่อไตร่ตรองว่าทางเลือกในชีวิตประจำวันนั้นสามารถสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง ‘Walk The Talk’ เป็นบอร์ดเกมขนาดกว่า 3,500 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ของมิลาน ที่มีแรงบันดาลใจจากการจำลองเส้นทางการเดินเล่นในเมืองผ่านสถานที่สำคัญที่ปรากฏบนกระเบื้องไม้กว่า 400 แผ่น และมีไอคอน 32 รูปแบบเป็นตัวแสดงอุปสรรคหรือการแก้ปัญหาการเดินทาง เช่น ขนส่งสาธารณะและรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เล่นสามารถเดินทางผ่านเมืองได้ด้วยการหาวิธีแก้ปัญหาจากความท้าทายต่างๆ ในแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทุกๆ เส้นทางการเดินนั้นก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เล่นนั่นเอง ความน่าสนใจก็คือ กระเบื้องที่นำมาทำเป็นบอร์ดเกมนั้นสามารถเก็บพลังงานระหว่างวันเอาไว้ได้ และจะส่องแสงสว่างเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ทำให้เล่นเกมต่อไปได้แม้ว่าฟ้าจะมืดลงแล้วก็ตาม Italo Rota สถาปนิกผู้ร่วมสร้างบอกว่า Walk The Talk นำแนวคิดการเล่นเกมมาใช้เพื่อสร้างการสนทนาระหว่างผู้ที่มาเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ รวมไปถึงยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับสถานที่ต่างๆ ในเมือง ตลอดจนสร้างประสบการณ์ที่ผู้คนสามารถแบ่งปันกันได้ในขณะที่ร่วมเล่นเกมนี้ด้วยกัน Sources :Carlo Ratti Associati | […]

Patani Colonial​ Territory บอร์ดเกมที่ชวนทุกคนตามรอยประวัติศาสตร์ที่หายไปของปาตานี

Patani (ปาตานี) คือพื้นที่ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูและมุสลิม อาณาจักรปาตานีเคยรุ่งเรืองเมื่อสี่ร้อยปีก่อนจะถูกสยามยึดครองในช่วงต้นของยุครัตนโกสินทร์ และแบ่งพื้นที่สืบต่อมาเป็นจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้เช่นปัจจุบัน ‘Patani Colonial​ Territory’ คือบอร์ดเกมที่เป็นผลผลิตจากกลุ่ม ‘Chachiluk​ (จะจีลุ)’ ร่วมกับสำนักพิมพ์ KOPI และได้รับทุนสนับสนุนโดย Common School มูลนิธิคณะก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้ไม่ให้หายไป กลุ่มจะจีลุเล่าถึงที่มาของชื่อกลุ่มว่ามาจากการละเล่นพื้นบ้านของเด็กๆ ในพื้นที่ปาตานี โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อนี้เพราะอยากทำหน้าที่เป็นตัวแทนความสนุกสนาน และหวังเป็นสื่อในการเชื่อมต่อผู้คนให้ได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงนำเสนอเรื่องราวของปาตานีผ่านความสนุกในโลกของบอร์ดเกมที่จะชวนผู้เล่นมาประลองไหวพริบและกระตุ้นเตือนความทรงจำ ​ท้าทายให้ทุกคนได้ลองร้อยเรียงลำดับเหตุการณ์​การผนวก​รวมปาตานีเข้ากับสยาม โดยเกมนี้จะใช้จำนวนผู้เล่น 3 – 5 คน กับระยะเวลาเล่นราว 15 – 30 นาที  ในบอร์ดเกมหนึ่งชุดนั้นประกอบด้วย 1) การ์ดเกม 52 ใบ โดยแบ่งออกไปเป็น 4 สี สีละ 13 ใบ  2) โทเคน 30 ชิ้น ประกอบด้วยโทเคนที่มีตัวเลข […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.