‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

‘Coca-Cola Y3000’ โค้กรสชาติใหม่ที่ใช้ AI ออกแบบรสชาติและบรรจุภัณฑ์แห่งโลกอนาคตใน 977 ปีข้างหน้า 

ไม่รู้ว่าวงการการใช้ AI ในการออกแบบจะไปหยุดที่ตรงไหน เพราะล่าสุดบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Coca-Cola’ ได้ทดลองออกผลิตภัณฑ์รสชาติแปลกใหม่ขึ้นมาโดยใช้ AI กับเขาเหมือนกัน ‘Coca-Cola Y3000’ เป็นผลงานชิ้นโบแดงที่เกิดขึ้นหลังจากซุ่มทดลองกันมานานประมาณหนึ่งปีครึ่ง จากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยออกแบบรสชาติและบรรจุภัณฑ์ภายใต้คอนเซปต์ ‘รสชาติแห่งโลกอนาคต’ เพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภครุ่นใหม่ในท้องตลาด ปัจจุบัน Coca-Cola Y3000 วางขายแล้วแบบ Limited Edition ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ทั้งแบบมีน้ำตาลและไม่มีน้ำตาล โดยราคาเท่ากับโค้กทั่วไปในท้องตลาด เมื่อผู้บริโภคซื้อไป บนแพ็กเกจจะสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อเดินทางต่อไปยังเว็บไซต์ Creations สำหรับดูภาพอนาคตใน 977 ปีข้างหน้าจากการออกแบบของ AI Y3000 ว่าในปี 3000 จะมีลักษณะเป็นอย่างไรได้ด้วย ส่วนเราชาวไทยที่อาจจะหาซื้อ Coca-Cola Y3000 มาชิมรสชาติแห่งอนาคตกันไม่ได้ แต่อยากรู้ว่าภาพของโลกอนาคตในปี 3000 จะเท่สักแค่ไหน ก็สามารถเข้าไปเล่นที่ลิงก์นี้ได้เลย www.coca-cola.com/us/en/offerings/creations/y3000-cam ใครทดลองเล่นกันแล้วได้ผลลัพธ์มาในรูปแบบไหน ก็อย่าลืมเอาภาพมาอวดกันด้วยนะ Sources : CNN | t.ly/hNB2ECoca-Cola | t.ly/3uMen

คืนอรรถรสในการเดินริมหาดด้วย BeachBot หุ่นยนต์เก็บก้นบุหรี่ ที่เก็บบุหรี่ 20 ชิ้นใน 30 นาที

อรรถรสในการเดินบนหาดทรายขาวต้องหยุดชะงัก เมื่อสองเท้าเผลอไปเหยียบขยะก้นบุหรี่ของใครก็ไม่รู้ โอ๊ย! ทำไมทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง  ทว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมคนมันแก้ยากซะเหลือเกิน Edwin Bos และ Martijn Lukaart สองผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีจาก TechTics ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงสร้างหุ่นยนต์เอไอทำความสะอาดก้นบุหรี่บนชายหาดขึ้นมาในชื่อ ‘BeachBot’ ซึ่งสามารถเก็บก้นบุหรี่ 20 ชิ้นใน 30 นาที! BeachBot หรือเรียกสั้นๆ ว่า BB เป็นหุ่นยนต์ขนาด 80 เซนติเมตรที่พัฒนาอัลกอริทึมการตรวจจับด้วยเอไอ เชื่อมต่อกับ Microsoft Trove แอปฯ ที่เชื่อมต่อกับนักพัฒนาเอไอและผู้ถ่ายภาพบุหรี่ทั่วโลก เพื่อให้เจ้าหุ่นยนต์จดจำบุหรี่ได้หลากหลายแบบ กริปเปอร์หรือมือจับของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยระบบการเคลื่อนที่แบบคาร์ทีเซียน โดยมีมอเตอร์สองตัวช่วยประมวลผลในการเดินขึ้น-ลง หรือเดินขวา-ซ้าย นอกจากนี้หุ่นยนต์ยังเรียนรู้การหยิบจับก้นบุหรี่เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติบนชายหาดอย่างเปลือกหอยอีกด้วย Source : Designboom | https://bit.ly/3f3Bg7c

แอบเล่นมือถือในสภา โดน AI แฉแน่! ซอฟต์แวร์ติดแท็กนักการเมืองเบลเยียม ใครอู้งาน โพสต์คลิปลงโซเชียลทันที

ไม่ว่าจะนายกฯ รองนายกฯ คณะรัฐมนตรี หรือ ส.ส. ในสภา ถ้าคุณแอบเล่นมือถือ หรืออู้งานเมื่อไหร่ จะโดนแท็กถามทันทีว่า “โฟกัสกับงานหน่อย!” พร้อมแนบหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอลงทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ให้ประชาชนได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งหมดนี้เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศเบลเยียม The Flemish Scrollers คือซอฟต์แวร์ติดแท็กสัญญาณโทรศัพท์ และจดจำใบหน้านักการเมืองที่กำลังง่วนกับการเล่นมือถือขณะประชุมสภาของรัฐบาลเฟลมิชด้วย AI ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่าน YouTube ช่อง Vlaams Parlement หากตรวจพบว่าใครกำลังแอบเล่นมือถือ คลิปวิดีโอจะถูกดึงออกมาโพสต์ในบัญชีทวิตเตอร์ The Flemish Scrollers และอินสตาแกรม @theflemishscrollers โปรเจกต์นี้เป็นผลงานของสปีกเกอร์และนักพัฒนา AI อย่าง Dries Depoorter ที่สร้างซอฟต์แวร์นี้ด้วยภาษาโปรแกรม Python และใช้การเรียนรู้ของเทคโนโลยีเพื่อตรวจจับโทรศัพท์และจดจำใบหน้าเพื่อระบุตัวนักการเมือง โดยซอฟต์แวร์นี้เพิ่งเริ่มทำงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 2021 โดยรองนายกรัฐมนตรีอย่าง Bart Somers และ รัฐมนตรีอย่าง Jan Jambon ก็โดนแท็กถามถึงพฤติกรรมแอบเล่นมือถือระหว่างประชุมเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะจ๊ะ Source : […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.