‘อาคารพิงไผ่’ ศาลาอเนกประสงค์เชื่อมป่าเข้ากับคนผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่

‘ยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่า’ เป็นโครงการที่ดำเนินงานจากความร่วมมือของชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน และโรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ในชื่อ ‘อาคารพิงไผ่’ จาก ‘ไม้ไผ่’ ซึ่งมีอยู่เดิมในพื้นที่ เพื่อให้อาคารพิงไผ่กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและพัฒนาคุณภาพทักษะการใช้ไม้ไผ่ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างแนวทางการต่อยอดสู่การสร้างรายได้ของชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน รวมถึงสร้างพื้นที่ที่เยาวชนและคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมผ่านการคิด การออกแบบ และพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ปัจจุบันโครงการยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่า ได้ดำเนินโครงการนี้มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ตั้งแต่การระดมทุน ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน การศึกษาดูงานการออกแบบอาคาร และลงมือปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ่อยืดอายุไม้ไผ่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานในระยะยาว หรือการจัดเวิร์กช็อปฝึกอาชีพออกแบบสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร จนในที่สุดอาคารพิงไผ่ก็เปิดใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา อาคารพิงไผ่เป็นผลงานการออกแบบร่วมกันระหว่างโครงการยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่า และ Bamboosaurus Studio ผ่านการนำคุณค่าและอัตลักษณ์ด้านไม้ไผ่ของชุมชนบ้านป่าซางนาเงินและรูปแบบของ ‘หมวกทรงสูงของชาวอาข่า’ มาพัฒนาออกแบบและต่อยอดให้ออกมาเป็นอาคารสาธารณประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อผสานประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ไม้ไผ่ และตัวอาคารจะกลายเป็นที่ทำการของ ‘วิสาหกิจชุมชนพัฒนาไผ่ดอยตุง’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำไม้ไผ่ภายในพื้นที่มาสร้างรายได้ให้คนในชุมชนต่อไปในอนาคต รวมถึงอาจมีการเปิดหลักสูตรท้องถิ่นให้เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้บนทรัพยากรที่มี และต่อยอดทักษะความรู้ให้เห็นถึงสิ่งที่มีในชุมชน เพื่อให้อาคารพิงไผ่แห่งนี้เป็นเหมือนพื้นที่เรียนรู้ที่เชื่อมโยงโรงเรียน ชุมชน และคนนอกชุมชนที่สนใจอยากเรียนรู้บริบทในพื้นที่ หลังจากนี้ทางโครงการยังมีแผนพัฒนาโครงการด้วยการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานไม้ไผ่อย่างยั่งยืนไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายในการสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้คนกลับมาใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น […]

Furnish Studio สตูดิโอศิลปะในจังหวัดระยองที่โอบล้อมด้วยไม้ไผ่ท้องถิ่นและคอนกรีตที่ถูกทิ้ง

การออกแบบพื้นที่หรือสถานที่นั้น นอกจากต้องคำนึงถึงการใช้งานแล้ว ยังควรนึกถึงวัสดุและความยั่งยืนในทุกขั้นตอนการสร้างด้วย  สตูดิโอ 11.29 Studio ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบอย่างยั่งยืนและการใช้วัสดุในท้องถิ่น รวมถึงมอบชีวิตใหม่ให้คอนกรีตที่ถูกทิ้ง ด้วยการเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่งแห่งความสร้างสรรค์ของ Furnish Studio สตูดิโอศิลปะวาดภาพสีน้ำมันในจังหวัดระยอง โดยทีมออกแบบได้ใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและอุตสาหกรรมของภูมิภาค ด้วยการนำวัสดุในท้องถิ่นที่ยั่งยืนอย่างไม้ไผ่มาใช้ เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง เนื่องจากจังหวัดระยองเองเป็นที่รู้จักในฐานะจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) สูงที่สุดในประเทศไทย และล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการก่อสร้างจำนวนมากและขยะคอนกรีตที่เหลือทิ้งได้ 11.29 Studio ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากลูกปูนที่ถูกทิ้งเอาไว้ จึงนำมาสร้างประโยชน์ด้วยการทำเป็นผนังทางเข้าของสตูดิโอศิลปะ ที่ดูเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยสร้างสรรค์ ส่วนตัวอาคารที่ออกแบบให้เป็นพื้นที่ทำงานสร้างสรรค์สำหรับศิลปินด้านสีน้ำมัน และต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอเพื่อสุขภาพของผู้ใช้งาน ทาง 11.29 Studio จึงออกแบบส่วนหน้าอาคารด้วยระแนงไม้ไผ่เป็นบานประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยกรองแสงและช่วยให้อากาศภายในถ่ายเทสะดวก Sources :Designboom | bit.ly/3FLCq4V Thitinan Micropile | www.thitinan.co.th/spacer

BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก

ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่  อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.