‘ตั๊กแตนทะเลทรายนับล้าน’ บุกทำลายพืชผลในแอฟริกาตะวันออก หนักสุดในรอบ 70 ปี
‘ตั๊กแตนทะเลทรายนับล้าน’ บุกทำลายพืชผลในแแอฟริกาตะวันออกหนักสุดในรอบ 70 ปี โดยเฉพาะในเคนยา เอธิโอเปีย และโซมาเลีย ขณะที่ทางสหประชาชาติออกมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ เพื่อรับมือกับฝูงตั๊กแตนที่คุกคามความมั่นคงด้านอาหาร และความเป็นอยู่ของชาวแอฟริกา โฆษกองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์การว่าเมื่อฤดูฝนมาถึงอาจจะยิ่งทำให้จำนวนตั๊กแตนทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นถึง 500 เท่าภายในเดือนมิถุนายน โดยขณะนี้มีพื้นที่ประมาณ 70,000 เฮกตาร์ หรือ 437,500 ไร่ในเคนยาถูกตั๊กแตนทำลายไปแล้ว องค์การสหประชาชาติ (UN) กล่าวว่า ต้องใช้เงินประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 2,148 ล้านบาทในการควบคุมทางอากาศ ด้วยการฉีดยาฆ่าแมลงจากเครื่องบิน โดยฝูงตั๊กแตนทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตอนนี้อยู่ที่เคนยา วัดความยาวได้ 60 กม. กว้าง 40 กม. และตั๊กแตนฝูงหนึ่งสามารถมีได้มากถึง 150 ล้านตัว มีกำลังทำลายพื้นที่เพาะปลูกได้ถึง 1 ตารางกิโลเมตร | สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ’Abubakr Salih Babiker’ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศในไนโรบีกล่าวว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ตั๊กแตนขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ตั๊กแตนทะเลทรายสามารถบินได้ไกลถึง 150 กิโลเมตรภายในหนึ่งวัน ซึ่งตอนนี้พวกมันกำลังเดินทางไปยังยูกันดาและซูดานใต้ที่เกือบครึ่งประเทศกำลังเผชิญกับความหิวโหย […]