ปักหลัก

ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักจะไปเล่นซนตามสถานที่ต่างๆ ในละแวกบ้าน แต่คนในครอบครัวนั้นเป็นห่วงผมว่าจะเกิดอันตราย จึงกุเรื่องว่าสถานที่นั้นๆ มีผี และทำให้ผมกลัว ไม่กล้าไปเล่นแถวนั้นอีก ความกลัวในตอนนั้นยังคงติดอยู่กับผมจนถึงปัจจุบัน ผมจึงอยากหาวิธีลบล้างสิ่งนี้ และปักหลักเผชิญหน้ากับมัน โดยนำ ‘ไฟหลัก’ ของงานวัดที่เป็นภาพจำของความสนุกสนาน รื่นเริง เข้าไปติดตั้งในสถานที่เหล่านั้นตอนมืดๆ หรือใกล้ค่ำ สำหรับผม ไฟที่ปักลงท่ามกลางความมืดนั้นเปรียบได้กับความกล้าของตัวเองที่สร้างขึ้นท่ามกลางความกลัวในจิตใจ ติดตามผลงานของ พงศธร บุญโต ต่อได้ที่ Instagram : earthz.quake และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

สีสันบรรทัดทอง – ไฟและฟอนต์บนป้ายร้านรวงสีสัน

ถนนบรรทัดทองเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านดังเก่าแก่หรือร้านใหม่ๆ นอกจากรสชาติอาหารเด็ดโดนลิ้น แต่ละร้านล้วนแข่งขันกันเรียกลูกค้าด้วยป้ายไฟสีสันสดใส ดีไซน์เก๋ๆ เพื่อดึงดูดสายตาทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ‘ป้ายไฟหน้าร้าน’ ถือเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ยิ่งป้ายไฟสว่างแค่ไหน ยิ่งทำให้หน้าร้านมีความสวยงาม โดดเด่นมาแต่ไกล ลูกค้าสังเกตเห็นร้านค้าง่ายขึ้น กระตุ้นให้อยากลิ้มลองรสชาติอาหารของร้าน ขณะเดียวกัน บรรทัดทองยังเป็นย่านใกล้ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย ทำให้คนที่สัญจรไปมาแถวนั้นมีจำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่เปิดตัวพร้อมป้ายร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งแบบจัดเต็ม แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใครแวะไปแถวนั้น กินข้าวเสร็จแล้วลองไปเดินเล่นย่อยอาหาร สังเกตหน้าร้านรวงกันได้ เพลินดีทีเดียว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Life in Neon ชีวิตใต้แสงไฟ

ในเมืองที่ไม่เคยเงียบเหงา ความมืดที่ไม่เคยดำสนิท แสงสว่างในตอนกลางคืนจำเป็นต่อมนุษย์เสมอ ‘ป้ายไฟนีออน’ เหล่านี้กำลังทำหน้าที่ของมันอยู่ ทั้งสร้างสีสัน บอกตำแหน่งหรือสถานที่ หรือแม้กระทั่งบอกยุคสมัย ขณะเดียวกันยังสามารถบอกถึงวัฒนธรรมที่ผลัดเปลี่ยนตามกาลเวลา ป้ายไฟนีออนที่อยู่ในงานชุดนี้เกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน สิ่งที่ผ่านเข้ามาให้เห็นแทบทุกวันของผม ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ให้ได้รู้ว่ามันเคยมีอยู่ ‘สกาลา’ หนึ่งในความทรงจำในวัยเด็กของผม โรงหนังที่เคยถูกเรียกว่าเป็นโรงหนังที่สถาปัตยกรรมงดงามที่สุดของไทย ป้ายของสกาลาจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในงานชุดนี้ แม้ปัจจุบันจะไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ผมคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไป งานชุดนี้จะยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะยุคสมัยและความทรงจำส่วนหนึ่งได้ถูกรวบรวมไว้ในงานชุดนี้แล้ว ติดตามผลงานของ สรวิศ ธุระพันธ์ ต่อได้ที่ Instagram : megamxxd และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘Stump’ โคมไฟบนเกาะ Møn ที่ช่วยลดมลภาวะทางแสง ทำให้ชาวเดนมาร์กเห็นดาวชัดขึ้น

‘มลภาวะทางแสง (Light Pollution)’ ที่เกิดจากแสงประดิษฐ์โดยมนุษย์ในเวลากลางคืน เป็นอีกหนึ่งมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราไม่น้อย นั่นเป็นเพราะแสงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตและทำให้กิจกรรมทางดาราศาสตร์อย่างการดูดาวเสียหาย ไม่ต่างกับเกาะ Møn ทางตอนใต้ของเดนมาร์ก ที่ถูกจัดให้เป็นชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Communities) ที่มีการรักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้เหมาะสมต่อการสังเกตเห็นดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ กลุ่มดาว กระจุกดาว เนบิวลา หรือทางช้างเผือกได้ด้วยตาเปล่า ก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน เพื่อคงความสวยงามของท้องฟ้ายามค่ำคืนและรักษาความเป็นชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดเอาไว้ จึงเกิดการร่วมมือกันของนักออกแบบ ‘Peter Bysted’ และ ‘Icono’ บริษัทไฟจากเดนมาร์ก เพื่อพัฒนา ‘Stump’ โคมไฟภายนอกสำหรับเกาะนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ใช่แค่โคมไฟภายนอกที่มีขนาดใหญ่โตและให้แสงสว่างไสวในที่มืด แต่ Stump มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการผสมผสานตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมกลางแจ้งโดยไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสะดุดตา ขณะเดียวกันยังสามารถให้แสงสว่างตามทางเดินทั้งในพื้นที่กลางแจ้งส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะในปริมาณเพียงพอ ไม่มากเกินไปจนเกิดเป็นมลภาวะทางแสง ที่เป็นเช่นนี้เพราะภายใน Stump ประกอบด้วยระบบไฟที่ใช้พลังงานต่ำ ซึ่งจะปล่อยแสงที่นุ่มนวลโทนสีอบอุ่นเมื่อเปิดใช้งาน และส่งออกมาผ่านกระจกแบบโปร่งใสที่ทำให้เกิดแสงและเงาที่สวยงาม โดยไม่กลบแสงดาวบนท้องฟ้าให้หายไปเหมือนในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยไฟจากหลอด LED นอกจากนี้ ตัวฐานของโคมไฟยังสร้างขึ้นจากตอไม้ที่แข็งแรงเพียงพอที่จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเก้าอี้ ให้คนที่ผ่านมาใช้งานในระยะสั้นพักพิงหรือนั่งมองดูดาวในช่วงกลางคืนได้อีกด้วย Sources : Dezeen | t.ly/_ctiYanko Design | t.ly/c-Oq

ขับเคลื่อนเมืองผ่านศิลปะ แสงสี และดนตรี กับงานใหญ่ ‘Colorful Bangkok 2022’ ปลายปีนี้ ตั้งแต่ พ.ย. 65 – ม.ค. 66

สำหรับงานเทศกาลปลายปี คงหนีไม่พ้นเรื่องของแสงสี ดนตรี และศิลปะ ที่จัดอยู่ตามสถานที่ต่างๆ รอให้คนเข้าไปสัมผัสและถ่ายรูปเก็บความทรงจำ เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น กทม. จึงจัดงาน ‘Colorful Bangkok 2022’ หรือ ‘ฤดูกาลศิลปะกรุงเทพฯ’ ขึ้นตามนโยบาย 12 เทศกาลตลอดปีของผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ครอบคลุมตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ไปจนถึงมกราคม 2566  ภายใต้ชื่องาน ‘Colorful Bangkok 2022’ จะมีการแบ่งเทศกาลย่อยลงไปอีกในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ‘เทศกาลศิลปะสร้างสรรค์’ ในเดือนพฤศจิกายน ‘เทศกาลแสงสี’ ในเดือนธันวาคม และ ‘เทศกาลดนตรี’ ในเดือนมกราคม เพื่อจุดมุ่งหมายในการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมให้เข้าร่วมได้ตลอดทั้งปี ทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจโดยรอบ กระตุ้นยอดขายจากการจัดงานเทศกาล และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ความน่าสนใจคือ งานนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือของภาคีเครือข่ายกว่า 250 องค์กร ในการจัดงานกว่า 120 งาน เพื่อทำให้กรุงเทพฯ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.