Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

สำรวจคลื่นทะเลในใจและปัญหาชายหาดสงขลาใน ‘Solids by the Seashore’ หนังแซฟฟิกไทยที่ไปคว้ารางวัลที่เกาหลีใต้

ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน (Busan International Film Festival : BIFF) ครั้งที่ 28 ที่ผ่านมา มีสองหนังไทยที่ได้เข้าฉายในเทศกาลและได้รับรางวัลติดไม้ติดมือกลับมาด้วย หนึ่งในนั้นคือ ‘Solids by the Seashore ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ โดยผู้กำกับ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ น่าเสียดายที่แม้ว่าจะไปคว้าถึงสองรางวัลจากเทศกาลหนังระดับนานาชาติ แต่ Solids by the Seashore กลับมีที่ทางในการฉายแสนจำกัดแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น เพราะนอกจากรางวัลที่การันตีคุณภาพแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งไม่ค่อยมีหนังไทยเลือกหยิบมาบอกเล่านัก ตั้งแต่การพาไปสำรวจความซับซ้อนในใจของมุสลิมที่มีหัวก้าวหน้าและเป็นเควียร์ การเมืองท้องถิ่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมชายหาดกัดเซาะ ไปจนถึงการใช้งานศิลปะสะท้อนความในใจของสองตัวละครหลัก ซึ่งคนหนึ่งเป็นหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม และอีกคนคือศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ พ้นไปจากความรักความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสองที่พยายามหาที่ทางให้ตัวเองภายใต้กรอบที่ขีดกั้น การที่ฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและความอัปลักษณ์ของเขื่อนหินกันคลื่นกับเม็ดทรายแปลกปลอม ก็สื่อสารถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองได้อย่างแยบคาย คงดีไม่น้อยถ้าคนในจังหวัดอื่นๆ จะได้ชมหนังเรื่องนี้ด้วย Solids by the Seashore ฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub.

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.