The junk, the gems ธีสิสที่ว่าด้วยสิ่งของข้างทาง และไอเดียการประยุกต์แบบบ้านๆ ของคนไทย

นิสัยช่างสังเกตและความชอบในการเดินเมือง ทำให้ ‘ปิ๊ก-ชาคริยา เนียมสมบุญ’ บัณฑิตจากสาขาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ ได้ไปเดินยังจุดต่างๆ ของเมือง และพบความสนใจในการสร้างเครื่องเคลือบดินเผาจากไอเดียที่พบเห็นสิ่งของข้างทาง จนทำให้เกิดเป็นงานธีสิสชิ้นนี้ขึ้นมา ‘จุดนำสายตา’ เป็นคำนิยามที่ปิ๊กรู้สึกต่อตะกร้าผลไม้ ยางรถยนต์ แกลลอน หรือข้าวของที่วางอยู่ระเกะระกะ ควบคู่ไปกับความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ที่มักหยิบจับสิ่งของที่ดูไม่เข้ากันมาประกอบเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนแค่ไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตคนไทย ที่เมื่อปัญหาบางอย่างไม่สามารถแก้ไขอย่างถาวรได้ คนไทยก็มักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยไอเดียการประยุกต์ใช้สิ่งของบางอย่าง เช่น ถ้าไม่อยากให้ใครมาจอดรถหน้าบ้าน ก็เอาแกลลอนหรือสิ่งของมาประกอบกันแล้ววางขวางพื้นที่ไว้ รวมถึงสิ่งของบางอย่างที่อาจใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว อย่างตะกร้าพลาสติกที่แตกบริเวณฐาน พ่อค้าแม่ค้าก็ดัดแปลงด้วยการนำมาตั้งเรียงกันเป็นโต๊ะ เพื่อไม่ให้ตะกร้าเหล่านั้นกลายเป็นขยะพลาสติกเสียเปล่าไปเฉยๆ จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากการไปเดินย่านทรงวาดของปิ๊ก และพบเข้ากับเสาไฟที่มีแกลลอนขวดนมตั้งอยู่ตรงฐาน แต่เมื่อมองเข้าไปข้างในขวดนมจะพบปลั๊กพ่วงซ่อนอยู่ ซึ่งตัวปิ๊กเองคาดเดาว่าอาจจะใช้เพื่อกันน้ำฝน หรือป้องกันไม่ให้ใครเห็น เพราะถ้าจะต่อปลั๊กจากไฟเหล่านี้ต้องมีการขออนุญาตก่อน เสาไฟและขวดนมที่ทรงวาดจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปิ๊กอัปสกิลการสังเกตของตนเองและค่อยๆ พัฒนามาเป็น ‘The junk, the gems’ ธีสิสที่บอกเล่าตามชื่อด้วยเรื่องราวของสิ่งของข้างทางที่เป็นขยะ แต่ถูกนำมาดัดแปลงจนเห็นถึง Gems ที่แทรกอยู่ในขยะเหล่านั้น โดยจุดสำคัญของผลงานชุดนี้คือ การนำเสนอไอเดียและการแก้ปัญหาของคนเมือง พร้อมสอดแทรกความเป็นตัวปิ๊กลงไป ด้วยความตั้งใจที่ไม่อยากเพียงแค่คัดลอกไอเดียที่เห็น แต่อยากจินตนาการเสียมากกว่าว่า ถ้าเธอเป็นคนทำงานชิ้นนี้ออกมา แต่ละงานจะออกมาหน้าตาแบบใด ปิ๊กเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟังว่า นอกจากย่านทรงวาดที่ทำให้ได้เจอกับเสาไฟที่จุดประกายไอเดียแล้ว […]

สุ่มกาชาปองตุ๊กตาดินเผาในนิทรรศการเซรามิกฯ ถึง 14 ธ.ค. ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

‘เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก’

วิพากษ์ศิลปะจากดินโคกหนองนากับ UN-EARTH Provenience Unfold ที่นัวโรว์อาร์ตสเปซ อุดรฯ วันนี้ – 15 ต.ค. 65

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ‘โครงการโคกหนองนา’ และ ‘โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง’ โมเดลของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมผ่านการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญา เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน แต่โครงการเหล่านี้อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่ภาพวาดไว้ เพราะ ‘โคกหนองนา’ ถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน การใช้ พ.ร.บ.เงินกู้หลายพันล้านบาทเร่งทำโครงการในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนัก ไปจนถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนไม่น้อยต้องพบเจออย่างผู้รับเหมาขุดปรับพื้นที่ไม่ตรงแบบหรือทิ้งงาน ความซับซ้อนของโมเดลเกษตรกรรมนี้ทำให้ ‘ส้มผัก-สุรสิทธิ์ มั่นคง’ ศิลปินจากอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จัดทำนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘UN-EARTH Provenience Unfold’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองของเขาในฐานะคนท้องถิ่นที่ได้ใกล้ชิดกับโครงการเหล่านี้ “ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว เรามีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการดินของชาวบ้านและคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นการขุดหน้าดินขาย เอาโฉนดที่ดินไปจำนำ หรือแม้แต่ปล่อยเช่าพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และเอาตัวรอดในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากการจัดการพื้นที่ในสมัยก่อนที่มักใช้เพื่อผลิตพืชผลทางการเกษตร และกักเก็บน้ำไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก “ในช่วงเวลาเดียวกัน เราก็ได้เห็นรัฐนำโครงการต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ ทั้งโครงการโคกหนองนาและการจัดการปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากการใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ประมาณ 4,800 ล้านบาท ทำให้เราตั้งคำถามว่าแทนที่จะเอาเงินมาให้ชาวบ้านขุดพื้นที่ทำโคกหนองนา รัฐควรนำงบประมาณเหล่านี้ไปแก้ปัญหาที่เร่งด่วนอย่างโรคระบาดให้เสร็จก่อนดีมั้ย นี่คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะเชิงการเมืองครั้งนี้” ส้มผักได้ลงพื้นที่ทั่วภาคอีสานด้วยตัวเองเพื่อรวบรวมดินและวัสดุจากโครงการโคกหนองนาและโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะนำมารังสรรค์ชิ้นงานศิลปะเชิงเปรียบเปรยทั้งหมด 12 ชุด โดยแต่ละชุดใช้วัสดุและมีรูปแบบที่ต่างกันไป เช่น ป้ายเหล็กของโคกหนองนา แผ่นดินสลักพิกัดโครงการต่างๆ แท่งยางมะตอย แปลนโคกหนองนาในมุมมองของศิลปิน รวมไปถึงศิลปะผ้าใบที่เขียนด้วยดิน  […]

@เปิ้น Don Moo Din จากงานอดิเรกสู่อาชีพนักปั้นเซรามิก I Somebody Ordinary | EP.6

เมื่อเส้นทางชีวิตแรกเริ่มไม่ได้บันดาลให้สาวคนนี้เป็นนักปั้นเซรามิก แต่ด้วยใจรัก สุดท้ายเธอได้มาเป็นนักปั้นเซรามิกอย่างที่ใจหวังในถิ่นบ้านเกิดของตัวเอง นี่คือเรื่องราวของ เปิ้น Don Moo Din นักปั้นเซรามิกที่บอกเล่าเรื่องราว วัฒนธรรม ลงบนจาน ชาม แก้วน้ำ และสารพัดเครื่องปั้นที่เธอทำ บวกกับเก๋ไก๋ในดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างแก้วที่หูพับเป็นทรงยับๆ ที่ไม่ว่าคุณจะถนัดซ้ายหรือขวาก็จับได้ถนัดมือ แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณอยากได้เพิ่มต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตแต่ละครั้งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เสน่ห์ของชิ้นงานเซรามิกที่ปั้นมีความแตกต่างกัน เหมือนที่พี่เปิ้นบอกเราว่า “ทุกอย่างเราไปบังคับอะไรไม่ได้หรอก ทุกคนมีตัวตน และคุณสามารถเลือกได้นะ” การพูดคุยกับเธอจะดี จะสุด จะมัน ขนาดไหน มาดูกัน! #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #DonMooDin #เซรามิก #เครื่องปั้นดินเผา

‘ยานณกาล’ สตูดิโอที่อยากให้เซรามิกเป็นงานอาร์ตมาช่วยเปลี่ยนบรรยากาศบ้านให้มีชีวิต

ท่ามกลางความเร่งรีบ เสียงจอแจ และรถยนต์อันแสนพลุกพล่านของย่านนางลิ้นจี่ ฉันได้ยืนหยุดอยู่ตรงหน้าประตูไม้บานใหญ่ ซึ่งเป็นทางเข้าสตูดิโอเซรามิก ‘ยานณกาล’ (Yarnnakarn) และทันทีที่ก้าวเท้าเข้าร้าน กลับต้องแปลกใจในความเงียบสงบที่ยึดครองพื้นที่ชั้น 1 ซึ่งห่างจากถนนไม่ถึง 5 เมตร เป็นความตั้งใจของ ‘กรินทร์ พิศลยบุตร’ และ ‘นก-พชรพรรณ ตั้งมติธรรม’ ที่อยากให้สเปซของยานณกาลเป็นหลุมหลบภัย เพื่อปลีกตัวออกจากความวุ่นวาย  สเปซแต่ละมุมถูกประดับประดาไปด้วยเครื่องปั้นเซรามิก ทั้งของใช้ ของกระจุกกระจิก หรือของแต่งบ้านให้เราเลือกสรรตามชอบ ซึ่งฉันกลับไม่รู้สึกว่าเรากำลังเลือกซื้อสินค้าในร้านขายของ แต่เหมือนเดินชมงานเซรามิกในอาร์ตแกลเลอรีเล็กๆ ที่หากถูกใจชิ้นไหนก็จ่ายเงินแล้วหิ้วกลับบ้านไปได้เลย ยานณกาล = พาหนะที่พาเราเดินทางผ่านกาลเวลา กว่ายานณกาลจะเป็นรูปเป็นร่างได้ทุกวันนี้ กรินทร์เล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เขาเรียนจบเอกหัตถศิลป์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาไม่ได้ตั้งใจทำสตูดิโอเซรามิกในตอนแรก แต่มีความคิดว่าอยากหาอาชีพที่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่กระบวนการทำ ไปจนถึงการลงมือขาย ซึ่งช่วงหนึ่งเขาได้พับความคิดตรงนั้นเอาไว้ แล้วไปทำงานอย่างอื่นแทน “ช่วงหนึ่งเราไปทำงานที่โรงงานเซรามิก แล้วเราทำ Mass Production คือทำปริมาณเยอะๆ พันชิ้น หมื่นชิ้น แล้วพอมาถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกว่าความรู้ที่มีจากการทำงานในโรงงานบวกกับความถนัดของเรา มันน่าจะพอทำเองได้นะ เลยออกมาทำ ซึ่งความตั้งใจแรกคิดว่าอยากทำ Home Studio มีเซตเตาเผาเล็กๆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.