NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่สีอิฐกลางทุ่งนาสีเขียว จังหวัดอยุธยา เชื่อมผู้คนเข้ากับบริบทชุมชนเกษตรกรรมวัดสะแก

ร้อนๆ แบบนี้ เห็นแล้วอยากหนีร้อนจากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวจังหวัดข้างเคียงอย่าง ‘พระนครศรีอยุธยา’ กับเขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทริปไหว้พระ สัมผัสประวัติศาสตร์ หรือไปที่ไหนก็ได้ แต่อย่าลืมแวะมาจิบกาแฟรับลมชิลๆ ที่ ‘NAYA Cafe Ayutthaya’ เพราะที่นี่คือคาเฟ่สีอิฐที่ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนาเขียวชอุ่ม บนพื้นที่ดินเดิมที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากครอบครัว ใกล้กับวัดสะแก (หลวงปู่ดู่) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับปลูกข้าวของชาวอยุธยา NAYA Cafe Ayutthaya เป็นผลงานการออกแบบของ ‘BodinChapa Architects’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติไทย ที่ออกแบบกำแพงภายนอกคาเฟ่โดยใช้รูปร่างโค้งรีที่ให้ความรู้สึกคล้ายรูปทรงเมล็ดข้าวอันใหญ่ใจกลางท้องทุ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้สัมผัสกับวิวธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม และวิวธรรมชาติของทุ่งนานี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการทำเกษตรกรรมในแต่ละช่วงปี ตั้งแต่เริ่มเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร ช่วงเวลาต้นกล้าเจริญเติบโต จนออกมาเป็นรวงข้าวสีทองอร่ามพร้อมเก็บเกี่ยว ตลอดจนฤดูน้ำหลากในบางครั้ง เสริมให้ NAYA Cafe Ayutthaya น่าค้นหายิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางเดินยาวและผนังที่ก่อขึ้นด้วยอิฐแดงซึ่งเป็นวัสดุที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นในจังหวัด ยังทำให้ NAYA Cafe Ayutthaya กลมกลืนไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว โดยมีการไล่ระดับอิฐสูงต่ำต่างกันแบบลาดเอียงเพื่อเปิดพื้นที่ให้สายตาของผู้ใช้บริการพบกับมุมมองตัวทุ่งนา รวมไปถึงถนนหลักด้านหน้าอาคาร ทั้งยังเลือกก่ออิฐสูงในส่วนของหมู่บ้านและถนนใกล้เคียงเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้คนในบริเวณนั้น ในการออกแบบครั้งนี้ NAYA Cafe Ayutthaya และ BodinChapa […]

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

ดุดันและใช้กำลังไฟ! T4 รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าไร้คนขับ เสียงไม่ดัง และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]

‘Land of Memoria’ ดินแดนแห่งความทรงจำ

การกลับมาแม่แจ่มเป็นเหมือนสถานที่ฟูมฟักตัวตนมันทำให้ผมได้สำรวจตัวเอง และในขณะเดียวกันก็หยิบเอามันมานำเสนอในฐานะสถานที่แห่งความทรงจำ

โคนมยุคเมตาเวิร์ส เกษตรกรตุรกีพบวัวผลิตนมมากขึ้น เพราะสวมแว่น Virtual Reality

หลายคนคงรู้จักหรือเคยลองสวมแว่น Virtual Reality (VR) อุปกรณ์สร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่ทำให้ผู้ใช้งานเห็นภาพแบบ 3 มิติ ผ่านมุมมอง 360 องศา ในตอนแรกเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาสำหรับเล่นเกมเป็นหลัก หลังจากนั้นก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายวงการ เช่น การแพทย์ การทหาร การศึกษา และการท่องเที่ยว และล่าสุดประโยชน์ของแว่น VR สุดล้ำครอบคลุมไปถึงภาคเกษตรกรรมแล้ว Izzet Kocak เกษตรกรในเมืองอักซารัย (Aksaray) ประเทศตุรกี ปิ๊งไอเดียนำแว่น VR สวมให้โคนมที่ถูกกักอยู่ในคอกช่วงฤดูหนาว เพื่อลดความเครียดให้แก่สัตว์เลี้ยง และต้องการทดสอบว่าพวกมันจะผลิตนมได้มากขึ้นหรือไม่  Kocak ทดลองสวมแว่น VR ให้วัวสองตัว หลังจากนั้นก็เปิดเพลงคลาสสิกและภาพวิวทิวทัศน์ให้พวกมันรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียวในวันที่แสงแดดจ้าและอากาศดี ดูเหมือนว่าการทดลองนี้จะได้ผล เพราะ Kocak เปิดเผยว่า โดยปกติวัวของเขาผลิตนมได้ 22 ลิตรต่อวัน แต่หลังจากได้สวมอุปกรณ์ VR พวกมันสามารถผลิตนมได้มากถึง 27 ลิตรต่อวันเลยทีเดียว  Kocak อธิบายต่อว่า การมองทุ่งหญ้าสีเขียวช่วยให้พวกมันอารมณ์ดีขึ้น เครียดน้อยลง และให้ผลผลิตมากขึ้น ดังนั้น สภาพแวดล้อมจึงมีผลกระทบต่อสุขภาพและการผลิตนมของวัว หลังจากภาพวัวสวมแว่น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.