อุดหนุนเบียร์ประชาชนในงาน ‘BEER Market’ ตลาดนัดเหล้าเบียร์ วันที่ 26 – 27 ส.ค. 66 ที่ตลาดจตุจักรพลาซ่า

หลังจากเคลื่อนไหวและผลักดันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทยมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการพาไปรู้จักคราฟต์เบียร์ยี่ห้อใหม่ พิกัดร้านคราฟต์เบียร์ในจังหวัดต่างๆ ไปจนถึงลายแทงคนทำเบียร์สำหรับคนที่อยากเรียนรู้ ในที่สุดกลุ่ม ‘ประชาชนเบียร์’ ก็ได้ฤกษ์จัดงานใหญ่กับ ‘BEER Market’ ที่สวนจตุจักร BEER Market เป็นงานเล็กๆ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนตลาดนัดเหล้าเบียร์ เน้นเปิดกว้าง ไม่ว่าใครก็เข้าถึงได้ โดยภายในงานมีกิจกรรมมากมายให้ได้เอนจอย ทั้งกับแกล้มรสอร่อยที่มีหลากหลายร้าน เสียงเพลงไพเราะจากเหล่าวงดนตรี ไปจนถึงการเปิดตัวเบียร์และสุราประชาชนให้ได้กวาดซื้อมากินดื่มพร้อมแบกกลับบ้าน ด้วยความที่งานนี้ไม่ได้มีพิธีรีตองอะไร ใครใคร่จะแต่งตัวแบบไหนหรือมากับใครก็ตามสบาย หรือจะพกเก้าอี้พับมาหามุมนั่งเอนจอยกับเครื่องดื่มเองก็ดีไม่น้อย ที่สำคัญแค่อย่าลืมพกกระเป๋าใบใหญ่ๆ มาหิ้วของกลับไปกินที่บ้าน หรือนำไปฝากคนรอบตัวด้วยแค่นั้นเอง ถ้างานนี้ประสบความสำเร็จ ประชาชนเบียร์หวังว่าหากกฎหมายสุราของไทยเปิดกว้างกว่านี้ เราคงได้เห็นตลาดนัดเหล้าเบียร์ที่รวมคนทำสุราชุมชน คราฟต์เบียร์ เหล้าและไวน์ มาจัดกิจกรรมสนุกๆ แบ่งปันความรื่นรมย์กันในหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ตลาดนัดเหล้าเบียร์ BEER Market จัดขึ้นในวันที่ 26 – 27 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 – 22.00 น. ที่ JJ Plaza พิกัด maps.app.goo.gl/zJGRRDEHxQB2juHZ6?g_st=ic

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.