ตามไปส่องเบื้องหลัง ‘วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ’ โครงการรับบริจาคชุดชั้นใน ที่จะนำไปกำจัดให้ถูกวิธีแบบฟรีๆ

ปกติแล้วเราจัดการกับชุดชั้นในที่ไม่ใส่แล้วอย่างไรกันบ้าง เพราะชุดชั้นในเหล่านี้อาจยากที่จะนำไปรีไซเคิลใหม่ ดังนั้นหากสภาพยังดีอยู่ บางคนคงเลือกส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ แต่ถ้ามันเยินจนใช้งานไม่ได้แล้ว ก็แค่แยกใส่ถุงเอาไว้ แล้วทิ้งขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะต่อไป แต่มันจะง่ายอย่างนั้นเชียวหรือ เพราะหลังจากนั้นเราแทบไม่รู้เลยว่า อดีตชุดชั้นในตัวโปรดของเราจะไปอยู่ในกระบวนการไหน และโดยส่วนใหญ่แล้วของใช้ในหมวดหมู่เสื้อผ้ามักจะถูกนำไปฝังกลบ ซึ่งนอกจากจะไม่ได้เป็นการกำจัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขยะให้โลกอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อช่วยลดขยะและลดการสร้างมลพิษให้โลก ‘Wacoal’ แบรนด์ชุดชั้นในของไทยได้มองหาวิธีการแก้ปัญหาส่วนนี้ ด้วยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกำจัดชุดชั้นในไปพร้อมๆ ลดโลกร้อนกับโครงการ ‘วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ’ ที่เปิดรับชุดชั้นในที่ไม่ใช้แล้วมาเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกต้อง ลดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Sgreen จึงขอพาไปพูดคุยกับทางวาโก้ถึงโครงการนี้ และการร่วมมือกับ ‘ไปรษณีย์ไทย’ ในการอำนวยความสะดวกให้ทุกคนโบกมือลาชุดชั้นในเก่าของตัวเองอย่างสบายใจและสบายโลก วาโก้ขออาสากำจัดบราเก่า ‘นงลักษณ์ เตชะบุญเอนก’ กรรมการบริหารสายงานสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่า ชุดชั้นในแต่ละตัวนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นฟองน้ำ ผ้าที่มีทั้งเส้นใยหลายชนิด ลวด ตะขอโลหะทั้งหลาย และการทิ้งขยะประเภทนี้มักใช้วิธีการฝังกลบ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 400 ปีกว่าจะย่อยสลาย ทางวาโก้เองคำนึงถึงปลายทางหลังจากที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้วว่า ชุดชั้นในเหล่านั้นจะต้องกลายเป็นขยะในท้ายที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการลดขยะบนโลกลง ในปี 2555 วาโก้จึงมองหาวิธีการกำจัดขยะเหล่านี้ให้เร็วขึ้น พร้อมกับเปิดตัวโครงการ วาโก้บราเดย์ […]

‘Verdicy’ นวัตกรรมเคสมือถือทำจากฟางข้าวที่ย่อยสลายได้ และช่วยลดขยะพลาสติก

เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่า ตลาดเคสโทรศัพท์ทั่วโลกมีสถิติการใช้พลาสติกในการผลิตสูงมาก และนั่นส่งผลให้การผลิตเคสโทรศัพท์สร้างขยะพลาสติกให้กับโลกของเราราวๆ 60,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 400 ปีเลยทีเดียว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดขยะ ‘Verdicy’ แบรนด์เคสโทรศัพท์รักษ์โลกสัญชาติไทย จึงมุ่งเน้นออกแบบเคสโทรศัพท์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากขั้นตอนการผลิตในรูปแบบใหม่ที่ปราศจากการใช้พลาสติก (Plastic Free) สอดคล้องกับที่มาของชื่อแบรนด์ที่มาจากคำว่า ‘Verdancy’ ซึ่งหมายถึงความเขียวขจีและความชอุ่มของพืชพรรณ ‘ทรงกฤษณ์ มูลอ้าย’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์บอกกับเราว่า อยากให้วิถีชีวิตที่ยั่งยืนจากธรรมชาตินั้นดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จึงกำหนดให้จุดประสงค์หลักของแบรนด์คือ การเป็นส่วนหนึ่งที่ใส่ใจปัญหาและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อคนรุ่นต่อไป ด้วยเหตุนี้ แบรนด์เลือกที่จะใช้ Bioplastic ซึ่งมีส่วนประกอบหลักของข้าวโพด อ้อย และฟางข้าวเป็นวัสดุในการผลิตเคส เพราะมีคุณสมบัติย่อยสลายจนหมดสิ้น ไม่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติเหมือนกับเคสพลาสติกทั่วไป และยังมีกระบวนการย่อยสลายหลักๆ ในการผลิตตามมาตรฐาน ISO 17088 ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายและปลอดภัยจากสารปนเปื้อนอันตราย เช่น สารตะกั่ว เป็นต้น รวมไปถึงยังมีมาตรฐาน OK Compost HOME, DIN CERTCO EN 13432 มาตรฐานกระบวนการย่อยสลายขยะจากครัวเรือนใช้วิธีทางธรรมชาติ เช่น ฝังดิน ซึ่งเป็นตัวรับรองว่าเคส Verdicy นั้นจะสามารถย่อยสลายได้จริง นอกจากเคสโทรศัพท์แล้ว […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.