รถโรงเรียนในต่างประเทศ ออกแบบอย่างไรถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสาร

จากกรณีรถบัสนักเรียนทัศนศึกษาเกิดไฟไหม้ท่วมคัน จนมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 23 ราย ทำให้สังคมกลับมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของยานพาหนะที่ใช้สำหรับขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งเด็กนักเรียนกันมากขึ้น เพราะตั้งแต่เด็ก ‘รถโรงเรียน’ ที่เรารู้จักมักมาในรูปแบบรถตู้ รถสองแถว หรือรถหกล้อแบบดัดแปลง แตกต่างกับต่างประเทศที่มีรถบัสคันสีเหลืองที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรับ-ส่งเด็กนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้การเดินทางของเด็กในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัยมาก เห็นได้จากสถิติเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโรงเรียนเฉลี่ยเพียง 6 คนต่อปีเท่านั้น คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูรูปแบบรถโรงเรียนและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในต่างประเทศว่า เขามีการออกแบบหรือข้อบังคับอย่างไร ถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสารได้อย่างทุกวันนี้ ออกแบบเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ความแตกต่างแรก เริ่มจากในต่างประเทศมีผู้ผลิตรถโรงเรียนโดยเฉพาะให้เลือกหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Blue Bird, Thomas Built Buses หรือ IC Bus ที่ทำให้รถยนต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อโดยสารเด็กโดยเฉพาะ แตกต่างจากไทยที่ต้องดัดแปลงรถให้กลายเป็นรถโรงเรียน การออกแบบที่เห็นอย่างเด่นชัดคือ ภายนอกตัวรถจะทาด้วยสีเหลืองสดใส มีไฟส่องสว่าง เพื่อให้คนมองเห็นได้ชัดเจนและแยกออกทันทีว่าคือรถโรงเรียน เพื่อระมัดระวังในการขับขี่ รวมไปถึงรถโรงเรียนแต่ละคันจะติดตั้งป้ายหยุด (Stop Arm) บริเวณด้านข้าง ที่เมื่อรถหยุดบริเวณป้ายจอดรับ-ส่งนักเรียน ป้ายหยุดจะถูกกางออกมาทันที ขณะที่ภายในออกแบบมาในลักษณะที่นั่งหันหน้าไปทางเดียวกัน ยึดติดกับตัวรถอย่างแน่นหนา บุด้วยวัสดุดูดซับแรงกระแทก มีพนักพิงสูงเพื่อป้องกันศีรษะและคอในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะเว้นทางเดินภายในรถให้กว้างมากพอเดินสวนกันสะดวกและลุกออกได้ง่าย มีราวจับช่วยในการทรงตัวระหว่างรถเคลื่อนที่ มีช่องเก็บของเหนือศีรษะหรือใต้ที่นั่งสำหรับเก็บสัมภาระ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.