ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย

“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว

ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.