สำรวจการจัดการขยะใน 6 เมืองใหญ่กับนิทรรศการภาพถ่าย Wasteland ที่สวนลุมพินี วันนี้ – 25 ต.ค. 65

‘ขยะ’ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อประหยัดงบประมาณกำจัดขยะและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นอกจากจะต้องจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องหาทางลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในแต่ละปี เพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปด้วย เพราะเชื่อว่าปัญหาขยะคือเรื่องของทุกคน จึงเป็นที่มาของ Wasteland นิทรรศการภาพถ่ายของคาเดีย ฟัน โลฮูสเซิน (Kadir van Lohuizen) ช่างภาพข่าวแนวสารคดีชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั้งที่ถูกวิธีและไม่ถูกวิธี ผ่านชุดภาพถ่ายจาก 6 เมืองใหญ่ของโลก ได้แก่ จาการ์ตา โตเกียว ลากอส นิวยอร์ก เซาเปาโล และอัมสเตอร์ดัม ระหว่างที่ทำโปรเจกต์นี้ คาเดียได้ค้นพบว่า ประชากรโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การอุปโภคบริโภคจึงเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือปริมาณขยะถูกสร้างขึ้นมากกว่าที่เคย ที่น่าสนใจก็คือ ภาพถ่ายชุดนี้ยังนำเสนอมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะของแต่ละเมือง เช่น การเผาขยะ การฝังกลบ ขยะอาหาร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คาเดียหวังว่า Wasteland จะสร้างความตระหนักเรื่องปัญหาขยะที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับขยะ และร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเสียที ใครสนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ Wasteland ได้ฟรี ที่ลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี ตั้งแต่วันนี้ – 25 […]

‘Gooutride’ ปั่นหาเส้นทาง มุมมองบนอานจักรยาน

“จักรยานและภาพถ่าย คือสิ่งที่เราเรียกได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารและถ่ายทอดความคิดในแบบของตัวเอง” ตอนที่อยู่บนอานจักรยาน ทุกสิ่งรอบตัวดูช้าไปหมด ผมมีสมาธิมากขึ้น อยู่กับตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันมันทำให้เรารู้สึกถึงเพื่อนร่วมทางและวิวทิวทัศน์ข้างทางมากกว่าการเดินหรือขี่มอเตอร์ไซค์ อาจเพราะเราต้องใช้แรงกายแรงใจในการโฟกัสกับการเดินทางก็ได้ นอกจากชอบปั่นจักรยานแล้ว ผมยังชอบถ่ายภาพด้วย สองสิ่งนี้ดูเหมือนจะทำไปพร้อมๆ กันได้ไม่ง่ายในสายตาคนทั่วไป แต่ตัวผมสามารถพกกล้อง ปั่นจักรยาน และถ่ายภาพไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคเลย  Gooutride เป็นชุดภาพถ่ายที่นำเสนอการเดินทางด้วยจักรยาน กับการปั่นหาเส้นทาง สถานที่ใหม่ๆ ในชนบท ทั้งหมดอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเพื่อนร่วมทาง สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่เราอยากให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับเรา ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

Bangkok eyes 01/50 – เขตธนบุรี

ธนบุรีเป็นเขตหนึ่งที่เราเดินทางผ่านบ่อยๆ เพราะอยู่ละแวกบ้าน แต่เราก็ไม่ค่อยได้เดินสำรวจเขตนี้สักเท่าไหร่ มีไปจุดใหญ่ๆ มาบ้าง อย่างโบสถ์ซางตาครู้ส วัดประยุรวงศาวาสฯ สี่แยกบ้านแขก ตลาดพลู และแถววงเวียนใหญ่นิดหน่อย เท่าที่รู้สึกคุ้นเคยกับเขตนี้มา ธนบุรีดูจะเป็นเขตที่มีชุมชนบ้านเดี่ยวและตึกแถวอยู่เยอะ แต่ก็มีคอนโดฯ เกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย เป็นย่านที่ดูน่าสนใจ แต่เรายังไม่เคยได้เดินเข้าไปในตรอกเล็กซอกซอยน้อยสักเท่าไหร่ เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าภาพถ่ายจะออกมาเป็นอย่างไร ก่อนไปลงพื้นที่จริงจึงลองสำรวจทั้งเขตคร่าวๆ ใน Google Maps โดยหาจุดท่องเที่ยวและจุดแวะกินซะก่อน ซึ่งก็ไม่ค่อยพบอะไรมากนัก สุดท้ายก็ปักธงว่าจะลองเดินช่วงวุฒากาศไปโบสถ์ซางตาครู้ส หลังจากออกเดินมาก็พบชุมชนเล็กๆ ที่มีเยอะมาก ทำให้มีช่องแสงนิดๆ หน่อยๆ เกิดเป็นเส้นสายน่าสนใจดี ในช่วงเช้าตามตลาดจะมีคนเยอะเป็นพิเศษ ใครที่อยากมาเดินเล่นแถวนี้สามารถเข้าไปตามชุมชนและพูดคุยกับคนในพื้นที่ได้ ขนาดเราถือกล้องเข้าไป เขายังค่อนข้างเป็นมิตรเลยทีเดียว น่าเสียดายที่ช่วงวันที่เราไปมีเมฆมากเกือบทุกวันและทุกเวลา ทำให้เป็นอุปสรรคนิดหน่อยกับการถ่ายภาพที่ต้องเล่นกับแสง ซีนที่เราชอบและคิดว่าน่าแวะเลยคือ สถานีรถไฟตลาดพลู เพราะถึงจะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ แต่สีและการออกแบบให้ความรู้สึกคลาสสิกสุดๆ ที่สำคัญมีร้านข้าวหมูแดงชื่อดังอยู่ตรงนั้นอีกด้วย นอกจากนี้ ช่วงตอนบนๆ ของเขตบริเวณวัดกัลยาณมิตรฯ ก็มีนักท่องเที่ยวปั่นจักรยานแวะเวียนเข้า-ออกกันเป็นระลอก ถือว่าเป็นเขตที่มีอะไรให้เซอร์ไพรส์ได้ตลอดทางอยู่เหมือนกัน

Limitation of Truth – ข้อจำกัดของความจริง

Limitation of Truth (ข้อจำกัดของความจริง) คือผลงานที่อิงครัตตั้งคำถามถึงความจริงของภาพถ่ายที่มักถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานยืนยันความจริง

ท่องโลกประวัติศาสตร์ไทยอันเพ้อฝัน กับนิทรรศการ BLUE FANTASY ที่ Hub of Photography วันนี้ – 19 มิ.ย. 65

เพราะตำนานและพงศาวดารเก่าแก่ของไทยถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อประดับลงบนโครงสร้างสังคมร่วมสมัย ตีกรอบความเชื่อ และเพิ่มพูนอำนาจให้แก่รัฐในทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ ความเชื่อนี้จึงเป็นสารตั้งต้นที่ทำให้ศิลปินอยากชวนทุกคนไปสำรวจโลกเพ้อฝันอันแปลกตาที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ‘BLUE FANTASY : ประวัติศาสตร์เพ้อฝัน’ คือนิทรรศการของ ‘กมลลักษณ์ สุขชัย’ ที่นำเสนอศิลปะภาพตัดแปะแบบคอลลาจ (Collage) ผ่านส่วนประกอบของภาพถ่าย รูปวาด จดหมาย ตลอดจนเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สอดประสานกัน เพื่อสะท้อนความไม่เท่าเทียมเชิงระบบ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำของสังคมที่เกิดขึ้นมาจากบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งมักอุทิศเนื้อหาให้แก่การเชิดชูเหล่าวงอวตาร โดยบางส่วนของวรรณกรรมเหล่านี้ยังถูกคัดสรรขึ้น เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนความจริงทางประวัติศาสตร์อันเป็นปริศนาด้วย สำหรับผลงานภาพชุด BLUE FANTASY กมลลักษณ์มอบอำนาจให้เหล่าผู้ถูกปกครองลองเขียนและสร้างประวัติศาสตร์ของพวกเขาขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสร้างความหมายของการมีชีวิตและความรู้สึกถึงตัวตนขึ้นมาใหม่ เธอจึงกลายเป็น ‘จิตรกรผู้วาดประวัติศาสตร์’ ผ่านการประพันธ์เรื่องราวในแบบฉบับของเธอเอง โดยแทนที่ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ด้วยใบหน้าของสมาชิกในครอบครัว  ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกมลลักษณ์จึงเป็นการผสมผสานภูมิหลังของครอบครัว จินตนาการของชาวบ้านในท้องถิ่น วรรณกรรม ความฝันของสมาชิกในบ้าน ตลอดจนเรื่องราวเก่าแก่ของสิ่งของดั้งเดิมภายในบ้าน โดยเธอได้เน้นย้ำและยกย่องถึงคุณค่าของครอบครัว เพื่อให้ความหมายแด่สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองข้ามไป ผลงานคอลลาจเหล่านี้จะพาทุกคนไปสำรวจและตั้งคำถามถึงนิยามของคำว่า ‘ประวัติศาสตร์’ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและกำหนดอัตลักษณ์ ความปรารถนา และจิตสำนึกของคนในสังคม เพื่อสะท้อนว่าประวัติศาสตร์ที่ถูกอำนาจคัดสรรมานั้น ส่งผลให้อัตลักษณ์และความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมถูกดัดแปลง ควบคุม และเต็มไปด้วยความโป้ปด เหนือสิ่งอื่นใด ผลงานชุดนี้ยังเปรียบเสมือนสื่อกลางของศิลปิน ที่อยากเรียกคืนความยุติธรรมและความเท่าเทียมของสังคมผ่านการตีแผ่และชำแหละเรื่องราวอันเพ้อฝัน รวมไปถึงเรื่องเล่าเหนือธรรมชาติที่ทำให้อำนาจทางการเมืองส่องประกายโดดเด่นและมีความหมายสำคัญต่อประวัติศาสตร์การปกครองของไทยตลอดมา กมลลักษณ์ สุขชัย เป็นศิลปินช่างภาพชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นจากการสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายแบบคอลลาจ […]

Sculpture Random Camera กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งที่ทำให้สนุกกับการถ่ายภาพยุคโควิด-19

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมากระแสตู้ถ่ายรูป Photoautomat กลับมาบูมสุดๆ อีกครั้งในกรุงเทพฯ เพราะฝีมือของ Sculpturebangkok บริการตู้ถ่ายภาพอัตโนมัติที่จุดกระแสให้คนเมืองออกจากบ้านไปต่อแถวเพื่อรำลึกความหลังการถ่ายภาพด้วยตู้ถ่ายภาพอีกครั้ง ถึงแม้ตอนนี้เราจะล็อกดาวน์ และตู้ถ่ายภาพหลายแห่งจะปิดไปชั่วคราว แต่ความสนุกของ Sculpturebangkok ไม่หยุดอยู่แค่นี้ ยังออกจากบ้านไม่ได้ไม่เป็นไร เพราะ ‘Sculpture Random Camera’ สามารถไปหาคุณได้ถึงที่ Sculpture Random Camera คือกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งสุดลิมิเต็ดที่ออกแบบโดย Sculpturebangkok ทำร่วมกับร้านฟิล์ม Space cat lab จุดเด่นของกล้องตัวนี้คือ ‘แฟลช’ ใครที่เป็นแฟนคลับของ Sculpturebangkok และชอบสไตล์ภาพในตู้ถ่ายภาพก็คงรู้ว่าเขาพิถีพิถันกับเรื่องแสงมากแค่ไหน กล้องฟิล์มตัวนี้ ISO 400 เมื่อยิงแฟลชถ่ายจะยิ่งได้ภาพสีสวยยิ่งกว่าเดิม น้ำหนักของกล้องก็พกพาง่าย ใช้งานง่าย ไม่ต้องปรับอะไรมาก มือใหม่หัดใช้กล้องก็ใช้คล่องได้เหมือนกัน  โปรเจกต์นี้ ‘ปิ่น ลักษิกา’ แห่ง Sculpturebangkok บอกว่าคิดไว้ตั้งแต่ต้นปีที่มีโควิด-19 ระลอก 2 แล้ว กว่าจะคลอดออกมาก็มีโควิด-19 ระลอก 3 จึงอยากออกโปรดักต์ใหม่ๆ […]

Super Dad ความซูเปอร์ฮีโร่ของพ่อคนธรรมดา

ผลงานภาพถ่ายชุด Super Dad เป็นการหยิบเอาเรื่องราวจริงในอดีตที่พ่อเคยเล่าให้ฟัง แล้วเรามองว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ น่าตื่นเต้น มาสร้างเป็นภาพถ่ายที่เปรียบพ่อเป็นซูเปอร์ฮีโร่ผ่านภาพและเรื่องราวที่เหมือนจะธรรมดา

ภาพช่วงเวลา Sunday ที่ ‘มอร์ วสุพล’ ถ่ายเอง เฉื่อยๆ เอื่อยๆ แต่ได้ฮีลใจตัวเอง

ทุกวันอาทิตย์ทุกคนทำอะไรกันบ้าง เราที่ปกติต้องทำงาน ออกไปเล่นคอนเสิร์ต หรือออกไปเจอใครๆ ขอขี้เกียจ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องไปกับใครสักหน่อย ขอลองนอนตื่นสายใน Sunday เหมือนเพลงที่เขียน เพื่อจะมีวันอาทิตย์ที่เอื่อยๆ ฮีลใจเหี่ยวๆ และทบทวนตัวเองด้วยการทำอาหาร มองท้องฟ้า แล้วก็วิ่ง  Sunday นี้เราฮีลตัวเองด้วยการทำอาหาร ค้นพบว่า การทำอาหารสามารถทำให้ใจสงบนิ่งขึ้นได้ประมาณหนึ่งเหมือนกันนะ อร่อยด้วย เริ่มจากมื้อ Brunch Heal ใจในวันเหี่ยวๆ ออกไปซื้อกาแฟเจอแสง Cookies ธรรมชาติแบบนี้แล้วแพ้ทุกที ต้องถ่ายเก็บไว้ จานซ้ายแฟนทำให้กิน อร่อย อยากอวด ส่วนจานขวาให้กำลังใจตัวเองด้วยสเต๊ก Medium Rare ในภาพมันยังแรร์อยู่ แต่ตอนย่างแล้วสีมันไม่สวยเท่าตอนนี้ เลยอยากให้ผู้อ่านช่วยจินตนาการตามหน่อยนะครับ Sunday นี้เราทำคอนเทนต์ปีนต้นไม้ถ่ายรูป ต้นหูกระจงหลังบ้านเปรียบเสมือนพี่ชาย เขาอายุมากกว่าเราแค่ 2 ปี เห็นกันมาตั้งแต่เด็ก ถ่ายรูปไปเกือบร้อยรูปตามประสาเน็ตไอดอลวอนนาบี เสร็จปุ๊บ พอกระโดดลงมา โป๊ะ ก็รับรู้ได้ถึงสังขารอันไม่จีรัง ไม่เที่ยงแท้ของคนเรา รู้สึกแพ้ รู้สึกห่วย Sunday นี้เราฮีลตัวเองด้วยการมองท้องฟ้า ชอบสีของฟ้าและแสงสีส้มที่ตกกระทบตึกข้างล่าง […]

‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ สะท้อนชีวิตในรั้ว รร. ผ่านเลนส์กล้องฟิล์มเด็กมัธยมฯ ขอนแก่น

ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ชีวิตในรั้วการศึกษาของเด็กรุ่นนี้ก็ยาวนานขึ้นไปโดยปริยาย นักเรียนบางกลุ่มยังคงต้องเรียนออนไลน์ บ้างกำลังจะเปิดเทอมในวันพรุ่งนี้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายนมาเป็น 14 มิถุนายน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการเรียนแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน  คอลัมน์ Urban Eyes ชวนมองภาพสะท้อนการศึกษาผ่านชุดภาพ ‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ จากฝีมือเด็กนักเรียนมัธยมที่ 1 – 5 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่นที่ได้จับกล้องฟิล์มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆ จาก มูลนิธิ Teach For Thailand และ FilmGalong จังหวัดขอนแก่น ก่อนนำมาพิมพ์เป็นโปสต์การ์ดเพื่อส่งต่อความรู้สึกถึงกัน เพราะเชื่อว่าภาพหนึ่งใบสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในใจได้อย่างมากมาย  ทางหนึ่ง…นี่อาจเป็นของที่ระลึกบันทึกความรู้สึกใน ‘ภาพปัจจุบัน’ ก่อนจะกลายเป็นอดีต และอีกทางหนึ่ง ชุดภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉันอาจเป็นไทม์แมชชีนพาย้อนกลับสู่ ‘ภาพวันเก่า’ ก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพื่อนสนิท – เด็กหญิงอรินนา ดุสิทธิ์ ม.2 ทำไมต้องใส่กระโปรง – นางสาวมัตตัญญุตา อภัยพลชาญ ม.5 ฉันคือใครในวันนี้ […]

Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง

เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.