4 ปีผ่านมา พรรคไหนทำตามสัญญาบ้าง รวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ Wevis Election’66

ผ่านไป 4 ปี การเลือกตั้งครั้งใหญ่ก็เวียนกลับมาอีกครั้ง แม้ว่ากฎกติกาที่ออกมาจะดูงงๆ แปลกๆ ราวกับไม่อยากให้ประชาชนคนไทยเข้าใจการเลือกตั้งง่ายๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขัดขวางให้เราไม่ไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเอง นอกจากการแบ่งเขตและกฎกติกาการเลือกตั้งปี 2566 ที่ต้องทำความเข้าใจแล้ว อีกเรื่องที่คนน่าจะอยากรู้กันคือ ผลงานของ ส.ส.ในเขตของเรา และพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ว่าพวกเขาทำอะไรให้ดีขึ้นบ้าง ซึ่งเว็บไซต์ election66.wevis.info/ ของกลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน Wevis ก็รวบรวมมาให้ทั้งหมดแล้วในรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลที่ดูง่าย สนุก และสวยงาม Wevis Election’66 คือเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประชาชนก่อนไปเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นโปรเจกต์ย่อยๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น – 4 ปีผ่านมา ส.ส. ทำอะไรกันในสภาบ้าง? ทบทวนความจำกับผลงานการลงมติและการย้ายพรรคของ ส.ส.ชุดล่าสุด– 4 ปีผ่านมา พรรคการเมืองทำตามสัญญาอะไรได้บ้าง? ทบทวนความจำกับพรรคในสภาชุดล่าสุด เคยขายนโยบายและทำอะไรไปบ้าง– 4 ปีผ่านมา กฎหมายอะไรผ่านเข้าสภาบ้าง? ตรวจงานรัฐสภาชุดล่าสุด เคยเสนอ/ผ่านกฎหมายอะไรให้เรา– ส่องเพจพรรค ที่ผ่านมา โพสต์อะไรกันไว้บ้าง? ส่องโลกออนไลน์ของ 6 พรรคการเมืองในสภา นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นว่าผู้แทนฯ แบบไหนที่ประชาชนอยากเห็น […]

ไม่เชื่อมาดูมิจิ เพื่อไทยจัด นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้านำร่องนโยบายและทลายอคติต่อผู้มีประจำเดือน

ไม่มีประจำเดือนก็ทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ ‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ คือนิทรรศการจากพรรคเพื่อไทยที่จัดในโอกาสวันสตรีสากล  นิทรรศกีคือ งานแสดงศิลปะและข้อมูลสำคัญที่ว่าด้วยเรื่องผ้าอนามัยและค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง ซึ่งมาพร้อมกับประกาศการศึกษาความเป็นไปได้ด้านนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ด้วยการเริ่มต้นนำร่องโปรเจกต์ในตึกเพื่อไทยเป็นที่แรก นิทรรศการนี้จะจัดวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล ในปีนี้วันสตรีสากลใช้แคมเปญ #breakthebias หรือการทำลายอคติ ตั้งแต่มายาคติเรื่องเพศ การเหมารวม (stereotype) การเลือกปฏิบัติ และอื่นๆ ที่มาพร้อมกับอคติทางเพศ  นิทรรศกีจึงนำแคมเปญ #breakthebias #IWD2022 มาประกาศการศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ประกาศนำร่องโครงการในพรรคเพื่อไทย และจัดนิทรรศการเรื่องผ้าอนามัย จิ๋ม และความเป็นผู้หญิง เพื่อศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง และฝ่าอคติทางเพศไปพร้อมๆ กัน  ชานันท์ ยอดหงษ์ ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายของพรรค เล่าที่มาของความตั้งใจว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ นิทรรศการที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงพยายามฝ่าอคติทางเพศอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง  “หากค่าแรงขั้นต่ำเรายังอยู่ที่ราว 331 บาท/วัน แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายประจำเดือนของผู้หญิงอย่าง ‘ผ้าอนามัย’ อยู่ที่ 350 – 400 บาท/เดือน โดยตัวเลขนี้คำนวณจากจำนวนผ้าอนามัยที่ควรเปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมง และผู้หญิงเป็นประจำเดือนที่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.