หมารู้ภาษา นักวิจัยฮังการียืนยันว่าสุนัขแยกแยะได้เมื่อเราพูดภาษาอื่น

ใครๆ ก็เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘หมาเป็นสัตว์ที่รู้ภาษา’ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบรรดาสุนัขมีความสามารถด้านการแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาต่างๆ ได้จริงๆ ประเด็นนี้อ้างอิงมาจากรายงานของ Vice News ที่เผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยพิสูจน์ว่าสุนัขรับรู้ความแตกต่างทางภาษาของมนุษย์ได้ ซึ่งมีการตีพิมพ์รายละเอียดของการศึกษาทางวารสาร NeuroImage เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และพบว่า “สมองของสุนัขตรวจจับ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบการพูดที่มันคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้ ที่สำคัญยังแยกความแตกต่างระหว่างแต่ละภาษาได้อีกด้วย” ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Eötvös Loránd ในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ได้ทดสอบการประมวลผลทางภาษาผ่านสุนัขจำนวน 18 ตัว สุนัขกลุ่มนี้ได้รับการฝึกฝนให้นอนนิ่งๆ เพื่อถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (fMRI) ลูกสุนัขเหล่านี้ถูกทดสอบด้วยเสียงข้อความที่ตัดตอนมาจากวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Little Prince ในเวอร์ชันภาษาสเปนและฮังการี ซึ่งเป็นภาษาที่บรรดาสุนัขทั้งหมดเคยได้ยินมาจากเจ้าของคนเดียวกัน ทั้งนี้นักวิจัยยังเล่นเสียงแต่ละแทร็กย้อนหลัง เพื่อทดสอบความสามารถของสุนัขต่อการจดจำเสียงพูดที่เป็นธรรมชาติ และเสียงที่มีสัญญาณรบกวน นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษารูปแบบสมองของสุนัขขณะกำลังฟังเพลง พวกเขาสังเกตเห็นว่าบริเวณต่างๆ ในสมองของเหล่าสุนัขสว่างขึ้นเมื่อมีการเล่นเสียงสัญญาณรบกวน และเสียงพูดปกติ และพบรูปแบบสมองที่แตกต่างกันเมื่อมีการเล่นภาษาที่มันคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยด้วย Laura Cuaya ผู้รายงานการศึกษาและนักวิจัยที่ Eötvös Loránd เผยว่าสุนัขเป็นตัวอย่างที่ดีมาก ต่อการนำมันมาทำวิจัยเพื่อหาคำตอบว่าสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ สนใจสิ่งที่คนเรากระทำหรือแสดงออกมาหรือไม่ เพราะพวกมันอาศัยและอยู่ร่วมกับมนุษย์มานานเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว เป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือการทดสอบทักษะที่เรียกว่าการแยกแยะทางภาษา […]

นักวิจัยทำฟอนต์ไทยประหยัดพลังงานลดใช้หมึกพิมพ์ 30%

โดยปกติแล้วหน่วยงานราชการในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ฟอนต์ TH Sarabun ทำงานเสมอมา แต่ติดตรงที่เจ้าฟอนต์ประเภทนี้น่ะเป็นฟอนต์ที่มีขนาดหนาไปสักหน่อย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการต้องใช้หมึกพรินต์ตัวหนังสือซะเยอะ ส่งผลให้ปีหนึ่งๆ บรรดาหน่วยงานต่างๆ ต้องทุ่มเทค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณไปกับการจัดซื้อหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารจำนวนมหาศาลกันเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เลยตัดสินใจจับมือกับ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช และทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. ด้วยโจทย์การแก้ไขปัญหาที่ว่า ทำยังไงให้เราลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ให้เหมือนเดิมที่สุดด้วยเหมือนกัน คราวนี้ก็เลยตกผลึก ผุดเป็นไอเดียการดีไซน์ชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน หรือที่เรียกกันว่า Thai Eco font ครั้งนี้ ทีมงานไม่ได้เอาฟอนต์พิสดารหรือแหวกแนวจากที่ไหนมาเป็นเรฟเฟอเรนซ์หรอก แต่เป็นการหยิบเอาสิ่งใกล้ตัวอย่าง TH Sarabun มาพัฒนาและต่อยอด ทำออกมาแล้วนำมาทดสอบว่าประหยัดหมึกพรินต์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งหลักการของไอเดียนี้ก็คือการลดขนาดพื้นที่ภายในแต่ละตัวอักษรลง และลดปริมาณ Black Pixel ให้มากด้วยวิธีการประมวลผลภาพถ่าย  เมื่อทำกันจริง ทีมวิจัยก็ค้นพบว่า Thai Eco font ให้ผลลัพธ์ด้วยการประหยัดหมึกพรินต์ได้จำนวนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และที่น่าสนใจมากคือตัวหนังสือยังคงชัดแจ๋วเหมือนเดิม แถมสังเกตเห็นการลดลงของขนาดไม่ได้ ที่ขนาดตัวอักษรสูงสุดถึง 18 pt ซะด้วย  […]

ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.