สำรวจ ‘เมืองทองธานี’ เมืองเล็กในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหยุดเติบโต

“ครั้งล่าสุดที่ไปเมืองทองคือเมื่อไรกันนะ” คนรักบ้านและสวนอาจตอบว่าเมื่อปลายปีที่แล้วที่งานแฟร์ คนรักรถน่าจะไปเดินเล่นงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน หรือหลายคนอาจไปคอนเสิร์ตของศิลปินที่ชื่นชอบเมื่อไม่นานมานี้ ‘เมืองทองธานี’ ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่เรื่องอีเวนต์ที่จัดอยู่ตลอดทั้งปี แต่ยังมีที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ร้านรวงยันห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ และสนามกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล กับการมีสโมสรประจำย่านที่มีแฟนคลับเข้าเส้นไม่ต่างจากสโมสรในต่างประเทศ ปกติแล้วคอลัมน์ Neighboroot มักจะชวนผู้อ่านลงพื้นที่ ย่ำตรอก ออกซอย สำรวจย่านต่างๆ ในเมืองหลวงเป็นหลัก แต่สำหรับครั้งนี้เราขอชวนออกไปปริมณฑลเพื่อนบ้านเมืองหลวง อัปเดตวิถีชีวิตชาวเมืองทอง กินอย่างคนเมืองทอง และเชียร์ฟุตบอลอย่างทีมเมืองทองฯ กันดูบ้าง ‘เมืองทองธานี’ เรียกว่าเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ก็ไม่ผิดนัก หากเล่าอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปเร็วที่สุด โครงการอภิมหาโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2533 จากความตั้งใจของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขยับออกมาในเขตชานเมือง ตามอย่างในฮ่องกง พื้นที่รวมๆ ในเมืองทองธานีสามารถแบ่งได้เป็น 2 โซนหลักคือ โซนที่อยู่อาศัย มีทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว แบ่งซอยย่อยๆ แยกจากถนนใหญ่ไม่ต่างจากในเมือง วางแลนด์สเคปและผังเมืองในโครงการมาอย่างดี หากโซนแรกมีวิถีชีวิตที่เงียบๆ และไม่ค่อยพลุกพล่าน อีกฟากหนึ่งคงให้ความรู้สึกต่างออกไป เพราะโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์-ศูนย์แสดงสินค้า จะคึกคักตลอดทั้งปี สถานที่ที่หลายคนคุ้นชินน่าจะเป็นชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค […]

City of Craft Beer ทัวร์ 5 ร้านกินดื่มในนนทบุรี กับกลุ่ม ‘ประชาชนเบียร์’

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ‘กลุ่มประชาชนเบียร์’ นำโดยผู้ก่อตั้ง ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ได้จัดกิจกรรม ‘ประชาชนเบียร์พาทัวร์’ รวมพลผู้ร่วมสนใจกว่า 30 คน เดินทางไปยังนนทบุรี ดินแดนที่ได้รับฉายาจากนักดื่มว่าเป็น ‘เมืองหลวงคราฟต์เบียร์’ เราและผู้ร่วมเดินทางได้เรียนรู้เรื่องคราฟต์เบียร์และสัมผัสประสบการณ์การกินดื่มที่แตกต่างไปจากความคุ้นเคยเดิม ผ่าน 5 ร้านคราฟต์เบียร์ที่ทางประชาชนเบียร์คัดสรรมานำเสนอ  เมื่อย้อนนึกถึงรอยยิ้มพิมพ์ใจและบทสนทนาหลังแก้วเบียร์ของการเดินทางในครั้งนั้นแล้ว คอลัมน์ Urban Guide เลยอยากแนะนำร้านเหล่านี้ให้ผู้อ่านเก็บเข้าลิสต์ไว้ เผื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่อยากใช้ช่วงเวลาวันหยุดรื่นรมย์ไปกับการกินดื่ม Devanomฟาร์มฮอปส์แห่งแรกของไทย และโรงเบียร์มิตรสัมพันธ์ เริ่มต้นสถานที่แรกด้วยฟาร์มปลูกฮอปส์แห่งแรกของไทย ‘Devanom Farm’ สำนักเดียวกันกับ ‘เทพพนม’ แบรนด์คราฟต์เบียร์ไทยที่หลายคนเป็นแฟนคลับตัวยง  ‘อ๊อบ-ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์’ คือเจ้าของฟาร์มฮอปส์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการต้มเบียร์ เขาสร้างฟาร์มแห่งนี้ขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พร้อมกับพัฒนาสายพันธุ์ฮอปส์เองกว่า 500 สายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เต็มตามความต้องการ และทนทานต่อสภาพอากาศในเมืองไทย นอกจากนี้ ที่นี่ยังมียีสต์แล็บที่ใช้พัฒนาสายพันธุ์ของอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญของการต้มเบียร์ และบริเวณใกล้เคียงก็มีการเตรียมสร้างโรงกลั่นสาโท และแปลงนาข้าวที่กำลังดำเนินการปลูกเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยอ๊อบมุ่งหวังให้พื้นที่ตรงนี้เป็น Local Community ของโซนนนทบุรี และต้องการการันตีว่านี่คือเครื่องดื่มของคนไทย ยังไม่หมดแค่นั้น ที่ฟาร์มแห่งนี้ยังมี ‘โรงเบียร์มิตรสัมพันธ์’ […]

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย

ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

เปิดบ้านดินมอญ สัมผัส “เครื่องปั้นดินเผา” มรดกล้ำค่าแห่งเกาะเกร็ด

เพราะไม่ต้องการให้มรดกที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปี ของ “เครื่องปั้นดินเผา” เกาะเกร็ด ต้องกลายเป็นเพียงของที่ตั้งโชว์อยู่แค่ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ‘พงษ์พันธุ์ ไชยนิล’ หรือ ‘พี่จ๊อด’ ทายาทช่างศิลป์รุ่นที่ 5 แห่งบ้านดินมอญ จึงเกิดไอเดียทำเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่ภายใต้แบรนด์ ‘Panchanil’ ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้เครื่องปั้นดินเผา หยิบยกเทคนิคมากมายมาสร้างความงามและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร จนทำให้เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตออกมาซ้ำๆ กลายเป็นของที่มีชิ้นเดียวในโลก จากเดิมมีราคาแค่ไม่กี่สิบบาท เพิ่มมูลค่าจนมีราคาเป็นหลักแสนในที่สุด

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.