‘ตลาดพลูดูดี’ กลุ่มนักพัฒนาย่านรุ่นใหญ่หัวใจตลาดพลูที่รวมตัวกันส่งต่อประวัติศาสตร์และสิ่งดีๆ ให้ทุกคนได้ดู

หากเอ่ยถึง ‘ตลาดพลู’ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงจะเป็นอาหารคาวหวานท้องถิ่นรสเลิศที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด ไม่ว่าจะเป็นกุยช่าย ขนมเบื้อง ขนมชั้น ขนมผักกาด เปาะเปี๊ยะสด หรือข้าวต้มแห้ง เหล่านี้เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ไม่ว่าใครก็ตามที่แวะมาเยือนตลาดพลูมักจะมาลองชิมและอุดหนุนเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านไปเสมอ แต่ตลาดพลูไม่ได้มีเพียงอาหารที่เป็นตัวชูโรงความโดดเด่นของย่านเท่านั้น เพราะที่นี่ยังมีประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตลาดพลู ที่คนในย่านอยากส่งต่อเรื่องราวให้คนนอกพื้นที่ได้มาทำความรู้จักและสัมผัสพื้นที่แห่งนี้มากขึ้น ด้วยเสน่ห์ความเป็นย่านชุมชนของตลาดพลู ทำให้ที่นี่ถูกขับเคลื่อนด้วยวิถีชีวิตที่มีอยู่ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดท็อปอันดับต้นๆ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือชาวต่างชาติต่างอยากแวะเวียนมาเยี่ยมเยียน และถึงแม้กระแสตอบรับจะดีมากก็ตาม แต่ชาวตลาดพลูก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนย่านเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ยังคงอนุรักษ์ความดั้งเดิมของพื้นที่นี้เอาไว้ และตั้งใจจะปรับภาพจำของย่านด้วยการส่งเสริมให้ตลาดพลูเป็นมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวตามกระแสชั่วคราว ด้วยการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จากจุดยืนที่มุ่งมั่นของชาวตลาดพลูที่จะพัฒนาย่าน คอลัมน์ คนขับเคลื่อนเมือง ครั้งนี้ ขอพาทุกคนมารู้จักกับ ‘ต้น-ชลิดา ทัฬหะกาญจนากุล’, ‘พี-พีรวัฒน์ บูรณพงศ์’, ‘จิ๋ม-อรพิณ วิไลจิตร’ และ ‘นก-สมพร เตมีพัฒนพงษา’ สี่รุ่นเก๋าหัวใจตลาดพลูที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในนาม ‘ตลาดพลูดูดี’ กับ 8 ปีที่ขับเคลื่อนย่านตลาดพลูให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และอยากให้ทุกคนรู้ว่าย่านที่อยู่ของพวกเขานั้นมีอะไรดีๆ ที่รอให้มาดูอีกมากมาย การรวมตัวของ 4 รุ่นใหญ่หัวใจนักพัฒนาตลาดพลู “เราทุกคนในกลุ่มผูกพันกับตลาดพลูมาก อย่างเราเองเกิดที่นี่ โตที่นี่ ทำงานที่นี่ เห็นทุกความเปลี่ยนแปลงของตลาดพลูมาตลอดชีวิต อยากทำบางอย่างที่ช่วยแชร์ให้ทุกคนรู้จักที่นี่จากข้อมูลของคนที่อาศัยอยู่จริง […]

EAT

ฟังเรื่องเล่าการ ‘กินหมาก’ ผ่านร้านขายหมากพลูเจ้าสุดท้ายในย่านตลาดพลู

คอลัมน์ล่าถึงถิ่นในครั้งนี้จึงพาทุกคนมานั่งฟังเรื่องราว ‘การกินหมาก’ จาก ‘พี่จอย-พรทิพย์ จิรชาติธนวัฒน์’ เจ้าของร้านขายหมากพลูเจ้าสุดท้ายในตลาดวัดกลาง

ข้ามฟากไปเที่ยว ‘ฝั่งธนฯ’ ชมเสน่ห์เก่า-ใหม่ในหนึ่งวัน

หนึ่งในกิจกรรมที่เราชอบทำในวันหยุด นอกจากรื้อตู้หาหนังสือดีๆ สักเล่ม หรือเลือกหนังสนุกๆ มาดูสักเรื่องแล้ว การไปเดินเที่ยวเล่นตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไปดูวิถีชีวิต พูดคุยกับผู้คน ชื่นชมบรรยากาศ พร้อมลิ้มลองอาหารรสเด็ดของย่านนั้นๆ ถือเป็นกิจกรรมสุดโปรดของเราเช่นกัน และหลังจากอยู่ฝั่งพระนครมาสักพัก รอบนี้เราปักหมุดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาเที่ยวที่ฝั่งธนฯ มาดูวิถีชีวิตของคนที่ยังมีความผูกพันกับสายน้ำจนแทบจะไหลรวมเป็นสายเดียวกัน . เมื่อก่อนถ้าพูดถึง ‘ฝั่งธนฯ’ อาจจะรู้สึกไกลและไม่มีอะไรน่าค้นหา แต่จริงๆ แล้วในความเรียบง่ายที่เราเห็นมันเต็มไปด้วยเรื่องราวอันมีเสน่ห์ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมของผู้คน ผสมผสานกับความเป็นอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ร่วมกับความเจริญที่นำไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เข้ามาผสมผสานอย่างกลมกลืน ย้อนเวลากลับไปสมัยกรุงเทพฯ ยังมีชื่อว่า ‘บางกอก’ ธนบุรี คือ ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชาวบางกอกที่ผูกพันกับสายน้ำ จนได้ชื่อว่า ‘เวนิสแห่งตะวันออก’ ธนบุรีตั้งอยู่บนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา มีลำคลองเล็กใหญ่แตกแขนงออกไปหลายสาย . สมัยก่อน ‘แม่น้ำเจ้าพระยา’ ไม่ใช่สายที่เราเห็นบนแผนที่ในปัจจุบัน แต่เจ้าพระยาสายเก่านั้น คือ ‘คลองบางกอกน้อย’ ในปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2065 สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่แคบที่สุด ซึ่งก็คือบริเวณปากคลองบางกอกน้อยไปถึงปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนที่กลายเป็นลำน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันคือ หน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อยถึงวัดอรุณฯ ซึ่งคลองที่ลัดเลาะย่านบางกอกให้เกิดชุมชนริมน้ำมากมาย โดยเฉพาะริมคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวงนั่นเอง | […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.