เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]

คลาสเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นกับ ‘ซิกแนล’ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าผู้ใช้ข้างทางเป็นห้องเรียน

พี่ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่มีผลงาน Folk Art โลดแล่นอยู่บนเวทีระดับโลกมากว่า 14 ปี ผลงานทุกชิ้นของเธอล้วนมีเสน่ห์เสียจนอดคิดไม่ได้ว่าเสื้อผ้าของเธอแต่ละผืนนั้นมีชีวิต ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเย็บผ้าจนถึงวันนี้ เธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ปักเข็มลงไปบนผ้าผืนต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตและการมองโลกของเธอบนผืนผ้า ร้อยเรียงออกมาจนเป็นลวดลายแห่งความสุข เพียงแต่เธอไม่ได้มีความสุขแค่คนเดียว ยังคงส่งมอบความสุข ความรู้ และเสียงหัวเราะให้ผู้อื่น ผ่านการเปิดคลาสเรียนเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นข้างทาง เสมือนห้องทดลองให้เหล่าคนที่ลุ่มหลงในงานผ้าได้มาทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์ในร้านที่มีชื่อว่า ‘แนลแอนทีค’ ชีวิตวัยเด็กแก่นเซี้ยว สู่ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่ชื่อว่า ‘ซิกแนล’ “พี่โตมากับการวิ่งเล่น ตัดต้นข้าวมาทำปี่เป่า เราทำของเล่นเองตั้งแต่เด็ก เพราะว่าไม่มีของเล่น ต้องคิดเองทำเอง เวลาอยากได้อะไรเราก็ทำเพราะว่าไม่มีเงิน ” ย้อนกลับไปวัยเด็ก ความซุกซนของพี่แนลเรียกได้ว่าเต็มสิบ จนถูกจับขังในกล่องลังอยู่เป็นประจำ เธอเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นช่วงสงครามเวียดนามยุคที่มีทหารอเมริกันเข้ามาพักอาศัยจำนวนมาก เธอจำได้ว่าในจังหวัดมีจำนวนคนไทยกับฝรั่งพอกัน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทั้งภาษา สกุลเงิน นิตยสาร หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว ยังเป็นช่วงที่คนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เริ่มเข้ามาทำงานในแคมป์ทหาร ทำให้พี่แนลในวัยประถมฯ ได้เห็นคนที่มีความสามารถด้านการวาดรูปและการสื่อสารภาษาอังกฤษ จนเกิดความชื่นชมและกลายเป็นความฝันว่า สักวันหนึ่งต้องเก่งให้ได้เหมือนพวกพี่ๆ เขา และแม้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้เป็นคนเก่ง แต่เธอรู้เพียงว่า ถ้าทำอะไรได้เองมันคงน่าภูมิใจไม่น้อย จึงขวนขวายตั้งใจเรียนมาตั้งแต่เล็ก […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.