‘ลัทธิชาตินิยามทางศาสนา’ คืออะไร ทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และโอบรับความแตกต่างในสังคมได้
‘ศาสนา’ คือลัทธิความเชื่อของมนุษย์ ที่อธิบายการกำเนิดและความเป็นไปของโลก หลักศีลธรรม พิธีกรรม และความเชื่อ มากไปกว่านั้น ศาสนายังเป็นดั่งเข็มทิศที่กำหนดกรอบจริยธรรมให้ผู้นับถือปฏิบัติตาม ช่วยนำทางชีวิต และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นเรื่องปกติที่ประเทศจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่มีคนนับถือเป็นจำนวนมากกว่าศาสนาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำ ‘อัตลักษณ์ทางศาสนา’ (Religious Identity) ไปหลอมรวมกับ ‘เอกลักษณ์ประจำชาติ’ (National Identity) จนเกิดเป็น ‘ลัทธิชาตินิยมทางศาสนา’ (Religious Nationalism) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ศาสนาอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและกีดกันผู้นับถือศาสนาอื่น จนอาจลามไปถึงความขัดแย้งรุนแรงได้ ในหน้าประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หลายต่อหลายครั้งพวกเราได้เห็นผลพวงจากการนำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น ในประเทศอินเดียที่พรรคการเมืองใช้วาทกรรมเหยียดศาสนาอิสลามเพื่อสร้างความนิยม และออกนโยบายเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม ‘กลุ่มรัฐอิสลาม’ หรือ ‘IS’ ที่ใช้ศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือรวบรวมกำลังพลและเป็นอุดมการณ์ในการก่อตั้งประเทศ และใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงอย่างสุดโต่งกับฝ่ายตรงข้ามและผู้เห็นต่าง และเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญาในประเทศเมียนมาร์ที่กระทำโดยพลเมือง พระ และเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีบ่อเกิดความรุนแรงจากการโหมแนวคิดว่าชาวโรฮิงญาไม่ใช่ชาติพันธุ์ของประเทศเมียนมาร์ และเป็นภัยต่อศาสนาพุทธ ประเทศไทยเองก็เป็นดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ถึงแม้จะไม่ได้มีความขัดแย้งระหว่างศาสนาอย่างชัดเจน และคนส่วนใหญ่ก็ให้ความเคารพในสิทธิการนับถือศาสนาที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนของชาวพุทธที่มีอย่างมากในประเทศไทย และสถานะของศาสนาพุทธที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบทบาทอย่างมากกับสังคม ทำให้ในบางครั้งอาจเกิดการเคลื่อนไหวที่พยายามใช้ศาสนาพุทธในการขับเคลื่อนอุดมการณ์ชาตินิยมหรือทางการเมือง และมีการสร้างความหวาดระแวงต่อกลุ่มศาสนาอื่น โดยอ้างว่าเป็นภัยต่อศาสนาพุทธและประเทศ วาทกรรมเหล่านี้เป็นอันตรายต่อความตั้งใจของประเทศในการสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย และเราจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรที่จะสามารถหยุดยั้งความขัดแย้งทางศาสนาก่อนที่จะปะทุไปเป็นความรุนแรง United Nations […]