การปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย เพิ่มขึ้นเท่าไรในช่วงระยะเวลา 10 ปี

วันวันหนึ่งคุณหมดเงินไปกับค่าครองชีพเท่าไหร่ ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ที่พอรวมกันก็หลายร้อยบาท จากนั้นลองหันมาดูจำนวนเงิน 300 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ที่แค่ใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบไม่เพียงพอแล้ว ไหนจะค่านู่นค่านี่ที่ต่อแถวปรับราคาขึ้นแทบทุกปี แต่ในขณะเดียวกัน ค่าแรงของคนทำงานในประเทศนี้กลับยังแช่แข็งที่เรตเดิม จริงอยู่ว่ามีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เพิ่มขึ้นในจำนวนแค่หลักหน่วยถึงหลักสิบเท่านั้น ซึ่งเอาเข้าจริงจำนวนเงินที่ว่านี้ก็ไม่ได้ช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เท่าไหร่เลย ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่เริ่มต้น 300 บาทมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีการปรับขึ้นไปกี่ครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละวันหรือไม่ คอลัมน์ City by Numbers หาคำตอบมาให้แล้ว ไทยกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แม้ว่าเราจะเคยชินกับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่ 300 บาท/วัน แต่ความจริงแล้วอัตราค่าแรงถูกปรับจากปี 2554 ให้เป็นมาตรฐานเท่ากันทั่วประเทศทุกจังหวัดเมื่อปี 2556 และคงอัตรานี้มานานกว่า 4 ปี จนมีการปรับอีกครั้งในปี 2560 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำในไทยมีการปรับขึ้นทั้งสิ้น 5 ครั้ง ดังนี้ ปี 2556 ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นที่ 300 บาท/วัน (ทั่วประเทศ) […]

ชีวิตออนไลน์กับราคาที่ต้องจ่าย เราเสียเงินเยอะแค่ไหน กับค่า Subscription ในแต่ละเดือน

ในแต่ละวันเราใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากแค่ไหน เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มนุษย์มีวิถีชีวิตเปลี่ยนไป หลายคนหันไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาความบันเทิง สร้างคอนเทนต์ พบปะผู้คน หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาไว้ในสมาร์ตโฟนของตัวเอง และหากใครที่ต้องการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์แบบไหลลื่น สะดวกสบาย ไร้ข้อจำกัด ก็ต้องยอมจ่ายเงินค่า ‘Subscription’ หรือ ‘ค่าสมาชิกรายเดือน’ เพื่ออัปเกรดแอปฯ ต่างๆ ให้พรีเมียมและเข้าถึงการใช้งานที่หลากหลายมากกว่าเดิม เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่ Subscribe แอปฯ แบบรายเดือนเอาไว้ คงเลือกใช้วิธีชำระเงินด้วยการตัดบัตรเครดิตหรือตัดบัญชี เพื่อความสะดวกสบายและง่ายต่อการต่ออายุการใช้งาน เลยอาจไม่ได้คำนวณว่าพวกเขาต้องเสียเงินให้กับค่าสมาชิกไปทั้งหมดกี่บาท  คอลัมน์ City by Numbers เลยขอรับหน้าที่เป็นฝ่ายบัญชีช่วยคำนวณรายจ่ายสำหรับค่า Subscription ทั้งหลาย ว่าในแต่ละเดือนชาวโซเชียลต้องเสียเงินกับการใช้ชีวิตบนออนไลน์นี้ไปเท่าไรกันบ้าง และทบทวนว่าในอนาคตอันใกล้ที่ช่องทางออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นกว่าเดิมนั้น เราพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับบริการเหล่านั้นหรือเปล่า ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง หลังจากเลิกงานมาเหนื่อยๆ เราเองก็อยากหลีกหนีความวุ่นวายจากโลกแห่งความจริงด้วยการเข้าไปสิงอยู่ในสตรีมมิงแพลตฟอร์มที่รวบรวมความบันเทิงหลากหลายเอาไว้ ทั้งรายการทีวี ซีรีส์ และภาพยนตร์ แถมยังนอนดูอยู่บ้านได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงภาพยนตร์ให้เสียเงิน เสียแรง และเสียเวลา  ด้วยเหตุนี้ บริการสตรีมมิงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในตอนนี้ไปเสียแล้ว โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนของสตรีมมิงออนไลน์แต่ละเจ้าอยู่ที่ 99 – 419 บาทขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ แต่เชื่อเลยว่าหลายคนคงไม่ได้สมัครสมาชิกแค่เจ้าเดียวเท่านั้น […]

New Year, Hit a New High เปิดโพยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปี 2023

ตั้งแต่ต้นปี 2022 อะไรๆ ก็ดูราคาแพงขึ้นไปหมด ตั้งแต่ราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูด ทำเอาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ผักสด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ค่าโดยสารสาธารณะ ไปถึงค่าไฟฟ้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 24 ปี สูงถึง 7.1 เปอร์เซ็นต์  แค่ปีนี้ค่าครองชีพยังเพิ่มสูงขนาดนี้ ไม่อยากคิดเลยว่าปีหน้าจะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะขนาดยังไม่ทันก้าวขาขึ้นวันที่ 1 มกราคมอย่างเป็นทางการ ก็มีประกาศปรับราคาสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคและคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้ากันบ้างแล้ว คอลัมน์ City by Numbers จึงขอ Spoiler Alert เปิดโพยค่าครองชีพในปี 2023 ที่ Urban Creature คัดเลือกและเรียงเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากน้อยไปมากมาให้ทุกคน เพื่อเป็นแนวทางตั้งรับและวางแผนการเงินสำหรับปีหน้า เราจะได้ก้าวเข้าปีใหม่กันแบบสวยๆ ไม่ต้องมาหมุนเงินรัวๆ เพราะตั้งตัวกันไม่ทัน 📈 ดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปอาจรู้จักคำว่า ‘ดอกเบี้ย’ กันอยู่แล้ว แต่สำหรับ ‘ดอกเบี้ยนโยบาย’ คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินคงเกิดคำถามในใจขึ้นว่า มันคืออะไรกันแน่ และการปรับเพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง ดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของชาติ […]

คนไทยหมดเงินไปเท่าไหร่ เพื่อแลกความมั่นใจกับคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’

บ้านหลังนั้นมีตุ่มสีดินแดงสี่ใบไว้เก็บน้ำฝนสำหรับดื่ม และในตู้เย็นมีขันเงินใส่น้ำฝนแช่ไว้ดื่มเย็นชื่นใจ มาถึงวันนี้น้ำฝนฟรีจากฟ้ามีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มขึ้น การดื่มเข้าไปมากๆ ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย การซื้อน้ำดื่มจากขวดบรรจุภัณฑ์ย่อมให้ความรู้สึกที่สะอาดกว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้บ้านเรามีน้ำดื่มที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตามร้านขายของชำ จำนวนหลายสิบยี่ห้อให้เลือกดื่มตามราคา และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย มนุษย์ทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนต้องดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว โดยข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences : NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine : IOM) ให้คำแนะนำสำหรับการดื่มน้ำไว้ว่า – ผู้หญิง ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2.7 ลิตร หรือประมาณ 11.5 แก้ว– ผู้ชาย ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 3.7 ลิตร หรือประมาณ 15.5 แก้ว ในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันเรื่องน้ำสะอาดและค่าครองชีพ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปดูกันว่า ในดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ คนไทยหมดเงินกันไปเท่าไหร่กับการแลกความมั่นใจในคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’ ราคาของการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด สมมติว่าในหนึ่งวันคนเราต้องดื่มน้ำประมาณ […]

FYI

อยู่เมืองนี้ต้องทำงาน ทำงาน ทำงาน เรื่องเล่าจากประชากรแฝงในมหานครแห่งความหวัง

ฟ้ามืด ฝนตกหยิมๆ ส่งสัญญาณเป็นรอยต่อสู่ฤดูหนาว วันเวลาเดินทางอย่างรวดเร็วและบางขณะก็ช้าเหลือทน แต่ก็ผ่านมาถึงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ในจำนวนประชากรผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเผยสถิติว่า ประชากรแฝงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนามีถึงราว 800,000 กว่าคน  ในแปดแสนกว่าคนนั้น มีคนที่เข้ามาทำงานตอนกลางวันแบบหาเช้ากินค่ำในกรุงเทพฯ คิดเป็น 49.0 เปอร์เซ็นต์ คนที่เข้ามาทำงานกลางคืน 32.7 เปอร์เซ็นต์ และคนที่เข้ามาเรียนหนังสืออีก 49.5 เปอร์เซ็นต์ เมืองหลวงแห่งนี้จึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงเยอะที่สุดในประเทศ และครองอันดับแทบตลอดกาล พวกเขาต่างเข้ามาที่นี่เพราะหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่กรุงเทพฯ ทำให้ความฝันของแต่ละคนเป็นจริงหรือไม่ หรือกลับให้แต่ฝันลมๆ แล้งๆ ต่อไป ‘Urban Creature’ ชวนไปฟังเศษส่วนเรื่องราวจากปากคำพวกเขากัน ป้าเขียว อายุ 54 ปีอาชีพ : ขายหมูปิ้ง ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด “เมื่อก่อนทำงานโรงงาน แล้วมาทำงานก่อสร้าง ช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก ไม่มีงานเลย ทีนี้ก็ฝึกวิชาหมูปิ้งขึ้นมาเอง ทีแรกไม่อยากมาอยู่กรุงเทพฯ หรอก แต่พอขายได้เรื่อยๆ มันก็ไม่อยากไปไหนแล้ว […]

คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

ทำไมคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์’ แทนมี ‘ลูก’

แต่ก่อนเมื่อพูดถึงการมีครอบครัว ก็จะนึกถึงการวางแผนแต่งงานและมีลูกหลานไว้สืบสกุล ทว่าเทรนด์ครอบครัวของคนสมัยนี้อาจจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องมีคู่ครองหรือมีลูกเป็นเป้าหมายของชีวิตอีกต่อไป หากขอแค่ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเหมือนลูกน้อยคนหนึ่งก็พึงพอใจแล้ว เนื่องจากไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้คนมีความคิดและค่านิยมเรื่องครอบครัวต่างไปจากอดีต เดิมทีคนเลี้ยงสัตว์แบบแสดงความเป็นเจ้าของ (Ownership) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนการ์ตูนเรื่อง ‘ชินจัง’ ที่มีเจ้าชิโร่ สุนัขคู่ซี้ที่คอยอยู่เคียงข้างเจ้านายเสมอ แตกต่างจากทุกวันนี้ที่คนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ‘Pet Parent’ แถมยังมองว่าตนเองไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นพ่อหรือแม่ของสัตว์เลี้ยง ที่ทุ่มเทเอาใจใส่น้องสี่ขาทั้งการใช้ชีวิต การกินและดูแลสุขภาพ ไม่ต่างจากการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาและแมว อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย และกรมปศุสัตว์ สรุปว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 15 ล้านตัว โดยจำนวนสุนัขประมาณ 9 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัว และจำนวนแมวประมาณ 3 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 8 แสนตัว รวมถึงทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตนเองง่าย เลี้ยงสัตว์ คนจ่ายไหวและมีข้อผูกมัดน้อย สาเหตุหลักๆ ที่คนสนใจเลี้ยงสัตว์ […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.