ทางเท้า เกาหลีใต้ ต่อให้ก้มหน้าเล่นมือถือก็ไม่เป็นอันตราย เพราะให้ความสำคัญกับคนมากกว่ารถยนต์

ครั้งหนึ่งในปี 1982 ‘เกาหลีใต้’ เคยเป็นประเทศให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจโดยรวม ชนิดที่มีการออกกฎหมายพิเศษ ยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดที่ละเมิดกฎจราจรบนถนนให้ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา ตราบใดที่บุคคลนั้นมีประกันภัยครอบคลุม จนตามมาซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้าสูงกว่าในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ถึง 7.7 เท่า เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันน่าเป็นกังวลนี้ ในปี 1998 ‘Seoul Metropolitan Government (SMG)’ ได้ดำเนินโครงการ ‘Creation of pedestrian-friendly walkways’ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอันน่ารื่นรมย์และปลอดภัยให้กับการเดินเท้า โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนให้โซลกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตร และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับคนเดินเท้า พร้อมทั้งพัฒนามาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอตามข้อกำหนดของกฎหมายที่กล่าวว่า ทาง SMG จะต้องจัดทำ ‘แผนพื้นฐานสำหรับสภาพแวดล้อมสำหรับคนเดินเท้า’ เป็นประจำทุกๆ ห้าปี เพื่อปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนเดินเท้าและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการแก้ไข 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ 1) อันตรายจากการเดินข้ามถนนโดยผิดกฎหมาย อันเนื่องมาจากการขาดทางม้าลาย 2) การยึดครองถนนในเขตที่อยู่อาศัยโดยรถยนต์จำนวนมาก3) สะพานลอยสำหรับคนเดินเท้าและทางเดินใต้ดินมีมากเกินไป4) ทางเดินมีความกว้างไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลกรุงโซลจึงติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยกในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง […]

ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.