Rayavadee อาณาจักรสีเขียวในกระบี่ที่ให้แขกดื่มด่ำความรุ่มรวยของธรรมชาติและอนุรักษ์ชายหาด

ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวที่เคยไป กระบี่ ประเทศไทย น่าจะติดอันดับต้นๆ บนลิสต์แหล่งท่องเที่ยวในดวงใจของฉัน ธรรมชาติอันรุ่มรวยของทะเลอันดามัน ชีวิตกลางคืนซึ่งไม่เคยหลับใหล และกิจกรรมผจญภัยที่หลากหลาย น่าจะเป็นเหตุผลที่ฉันหาโอกาสไปเยือนกระบี่แทบทุกปี บางครั้งก็ไม่ได้ไปเที่ยวเกาะ แค่ไปเช่าที่พักแถวอ่าวนาง นั่งเปื่อยๆ อยู่ริมหาด แล้วปล่อยให้ลมทะเลตีหน้าก็รู้สึกเหมือนได้ชาร์จแบตฯ แล้ว กระบี่ยังเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์ฉันได้อยู่เสมอ อย่างปีก่อนฉันกับเพื่อนเคยนั่งเรือไปเที่ยวหาดไร่เลย์ กะจะตามรอยหนังเรื่องเฟรนด์โซนฉากที่ตัวละครนั่งริมหาดโดยมีวิวภูเขากลางน้ำอยู่ข้างหน้า ก็เพิ่งมารู้ตอนนั้นว่าต้องเดินลุยน้ำทะเล (ที่ขึ้นมาถึงเอว!) ไปจุดนั้น อีกสิ่งที่เพิ่งรู้เช่นกันคือมันเป็นชายหาดที่อยู่ติดรีสอร์ตแห่งหนึ่ง “ถ้ามารอบหน้า ไม่อยากเดินลุยน้ำมาแล้วอะแก” ฉันบอกเพื่อน กึ่งบ่นกึ่งสัญญา  ตัดภาพมาอีกที ปีนี้ฉันกับเพื่อนได้กลับมาไร่เลย์อีกรอบ ในฐานะแขกของ ‘รีสอร์ตแห่งหนึ่ง’ ที่เล่าให้ฟัง รีสอร์ตนั้นชื่อ รายาวดี ประสบการณ์ระหว่างเข้าพักที่นี่ตอกย้ำว่าฉันคิดถูกเกี่ยวกับกระบี่ คือมันเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์ฉันได้เสมอ เพราะรายาวดีไม่ใช่แค่รีสอร์ตติดหาดที่เปิดโอกาสให้ฉันเชยชมไร่เลย์ได้เต็มตา (แถมไม่ต้องเปียกไปครึ่งตัว) ทว่าที่นี่คืออาณาจักรสีเขียวที่ชวนให้แขกได้รู้จัก รัก และทะนุถนอมกระบี่อย่างแท้จริง ผ่านธรรมชาติ ดีไซน์ที่พัก การบริการ และการทำงานกับชุมชนของพวกเขา อาณาจักรสีเขียวกลางทะเล (ย์) ฉันเพิ่งรู้จากปากของคุณชุมพล จันทะลุน General Manager ของรายาวดีว่าชื่อของหาดไร่เลย์ มาจาก ‘ไร่ที่อยู่กลางทะเล’ ทำไมถึงมี ย์ […]

คืนชีวิตให้ ‘โรงหนังมหาราช’ กลางเมืองกระบี่ให้เป็นศูนย์การประชุม ที่จุคนได้ 1,000 คน

กระบี่เป็นเมืองที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่โควิด-19 ทำให้เมืองท่องเที่ยวนี้เงียบเหงาลงในชั่วพริบตา จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กระบี่จึงมีแผนฟื้นฟูย่านกลางเมือง เพื่อมารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ โดยการเปลี่ยนโรงหนังมหาราชเป็นศูนย์การประชุมที่จุคนได้ประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นโรงละครเมืองกระบี่ และศูนย์การเรียนรู้กระบี่ หรือ Krabi Learning Center ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2567 – 2568 แม้ว่าการลงทุนในครั้งนี้จะขาดทุน แต่ในระยะยาว มันอาจมาช่วยเสริมการท่องเที่ยวในช่วง Low Season ได้ นอกจากนี้ยังมีแผนฟื้นฟูถนนมหาราช ระยะทาง 300 เมตร ให้กลายเป็นถนนคนเดิน แบ่งทางเท้าชั้นในประมาณ 2.5 เมตร เป็น Street Food และที่เหลืออีก 3.5 เมตร เป็นทางเท้าและที่นั่งริมทาง  โควิด-19 คงไม่มีทางหายไปในเร็ววัน แต่สิ่งที่เราทำได้คือการตั้งรับและปรับตัวไปพร้อมๆ กับมัน แล้ววันหนึ่งเราจะอยู่ร่วมกับมันได้อย่างแน่นอน Source : https://bit.ly/3c8XZMZ 

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.