MT. BROMO ภูเขาไฟแห่งชีวิต

ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของพื้นที่ที่มีความสูง 2,329 เมตรเหนือน้ำทะเล ‘โบรโม’ ภูเขาไฟหนึ่งในกลุ่มวงแหวนแห่งไฟที่ยังคงปะทุ กลับถูกโอบรัดไว้อย่างอบอุ่นด้วยทะเลทรายแห่งความเชื่อ การมาเยี่ยมของนักท่องเที่ยว และการสนับสนุนจากรัฐบาล โบรโม เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยทะเลทรายสีดำและหมอกหนาตลอดทั้งวัน โดยโบรโมมีชื่อมาจากการออกเสียงเรียกพระพรหมของชาวชวา ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นผู้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายบนโลก โดยช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้าน Cemoro Lawang จะเดินทางนำของไปสักการบูชาภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ หรือขนมหวาน ซึ่งจะนำไปวางไว้บริเวณองค์พระพิฆเนศที่ตั้งอยู่ตรงปากปล่องภูเขาไฟ เพื่อขอพรแก่ตนเองและขอให้เทพแห่งภูเขาไฟช่วยปกปักรักษาหมู่บ้าน นอกจากนี้ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บริเวณต่างๆ ในทะเลทรายที่มีการตั้งแท่นบูชาจะมีการนำเศษไก่ไปวางไว้เพื่อเป็นการเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยรอบด้วย นอกจากการอนุรักษ์ดูแลของชาวบ้านแล้ว รัฐบาลยังมีโครงการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมพื้นที่ผ่านการจัดกิจกรรม Karisma Event Nusantara (KEN) โดยจะนำศิลปะ วัฒนธรรม และอาหารในแต่ละพื้นที่ มาจัดแสดงเป็นอีเวนต์ที่ช่วยดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวและขยับเขยื้อนเศรษฐกิจให้เติบโต และในปีนี้ก็มีการจัดกิจกรรมที่ภูเขาไฟโบรโมด้วย กิจกรรมนี้นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับประเทศแล้ว ยังช่วยส่งเสริมศิลปินตัวเล็กตัวน้อยในภูมิภาคต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินและกำลังใจว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำนั้นได้รับการมองเห็น มีคนอีกมากที่เห็นคุณค่า และยังสร้างความหวังว่า ความสวยงามเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีสำหรับผู้คนในภายภาคหน้า หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

กรุงเทพฯ เมืองซับซ้อน

ผมพกกล้อง Compact ตัวเล็กติดตัวออกจากบ้านเสมอไม่ว่าจะไปที่ไหน เพราะระหว่างทางอาจเจอสิ่งที่น่าสนใจ จะได้มีเครื่องเอาไว้บันทึกเรื่องราวได้ หลังจากที่ได้เดินทางไปในหลายพื้นที่ ผมว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในแง่อาคารสิ่งก่อสร้าง สีสัน ชีวิต ผู้คน และเรื่องราว ผมจึงรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพฯ ที่มีการซ้อนทับสลับซับซ้อน ผสมผสานกับองค์ประกอบที่มีความเป็นไทย เพื่อนำเสนอเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านมุมมองของผม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

จากภูเขาถึงทะเล บันทึกความทรงจำผ่านธรรมชาติเมื่อครั้งยังเด็ก

เมื่อครั้งยังเด็ก บ้านของฉันโอบล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และหมอกจางๆ ในฤดูหนาว อีกทั้งยังห่างไกลจากตัวเมืองมากพอสมควร แต่ที่นั่นฉันก็มีความสุขดี และในขณะเดียวกัน ทะเลก็คือโลกอีกฟากหนึ่งที่หัวใจและความไร้เดียงสาในวันนั้นถวิลหาทุกค่ำเช้า ภาพถ่ายชุดนี้เปรียบเสมือนการเดินทางย้อนเวลากลับไปปะติดปะต่อร่องรอย เพื่อรื้อฟื้นเรื่องราวและซ่อมแซมความทรงจำเหล่านั้นที่ถูกทิ้งไว้ในกาลเวลาจนชำรุดทรุดโทรมให้กลับมามีสีสันสดใส มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง สะท้อนถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังเด็กที่แสนอบอุ่นและมีความสุขอย่างเรียบง่าย ไร้ซึ่งความซับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567

“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]

Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน

หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]

Neon People วัฒนธรรมการทำงานหนักที่สะท้อนความโดดเดี่ยวของผู้คน

เซตภาพนี้เป็นเซตภาพที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตใต้แสงนีออนในยามค่ำคืนของเมืองใหญ่ มวลบรรยากาศของความโดดเดี่ยวสะท้อนภาพที่ตรงไปตรงมา แต่มากไปด้วยความยากลำบากของผู้คนที่ต้องทำงานในช่วงเวลาที่เรามักมองข้ามไป ผลลัพธ์คือพวกเขาบางคนดูเหมือนเป็นเหยื่อ ถูกทรมานโบยตีโดยภาระในชีวิตที่มากเกินไป จะด้วยความเหนื่อยล้าหรือความสับสนในสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อความสำเร็จ คำตอบเหล่านั้นคงมีเพียงคนในภาพที่ตอบได้ถึงเหตุผลที่ต้องลืมตาตื่นในยามที่คนอื่นนอนหลับ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Rainy Day Mood ติดฝน

ภาพเซตนี้ได้แรงบันดาลใจจากการที่เราติดฝนหลังเลิกงานบ่อยๆ ด้วยนิสัยที่เราเป็นคนพกกล้องตลอดเวลาและชอบสังเกต ทำให้เห็นว่าซีนรอบๆ ตัวมีหลายอารมณ์ ทั้งเหงา โรแมนติก ชุลมุน และวุ่นวาย แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมันไปอีกแบบ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

24 Hours Journey in Bangkok ขนส่งของคนกรุงฯ

“รถติดอีกละ”“โห…ทำไมคนเยอะจัง”“คนเยอะจัง เดี๋ยวดึกๆ เราค่อยกลับดีกว่า” ประโยคเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนแอบคิดขึ้นมาในหัว ขณะที่เราต้องเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ซึ่งเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน  ตั้งแต่เข้ามาเรียนต่อที่นี่ เราตั้งคำถามเกี่ยวกับจำนวนคนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นภาพจำของหลายๆ คนเวลามองเข้ามาเห็นชีวิตของคนเมืองกรุง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างผลงานภาพถ่ายชุด Journey in Bangkok ที่ต้องการจะเล่าถึงการเดินทางในแต่ละวันของคนเมืองกรุง เพื่อสะท้อนภาพการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ : 24 Hours Journey in Bangkok หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

รัฐทมิฬนาฑู ชีวิตในดินแดนใต้สุดของอินเดีย

คลื่นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เกินจะทน ถนนหนทางที่อัดแน่นไปด้วยผู้คนและสิงสาราสัตว์ที่เดินกันอย่างไม่เกรงกลัวใคร เสียงจ้อกแจ้กจอแจที่คลอเคลียตลอดสายผสมผสานกับแตรรถที่อึกทึกครึกโครม ภาพเหล่านี้คงเป็นบรรยากาศแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดของใครหลายคนเมื่อกล่าวถึงประเทศ ‘อินเดีย’ แต่หาใช่กับ ‘รัฐทมิฬนาฑู’ ทมิฬนาฑู คือรัฐทางตอนใต้สุดของอนุทวีปอินเดีย เมืองติดทะเลแสนสงบที่มีชายหาดยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งยังมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ทำให้ผู้คนส่วนมากในพื้นที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก เริ่มตั้งแต่กิจการเล็กๆ อย่างการขายดอกไม้ เครื่องประดับ ผ้าทอมือ อาหารคาวหวาน ของตกแต่งบ้าน ไปจนถึงของขึ้นชื่อประจำเมืองอย่างรถจักรยานยนต์ Royal Enfield ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้เศรษฐกิจของรัฐทมิฬนาฑูเฟื่องฟูเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย และผู้คนในพื้นที่ล้วนมีน้ำใจไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส และช่างพูดคุยอยู่เสมอ เนื่องจากต้องใช้การเจรจาประกอบอาชีพนั่นเอง นอกจากความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจแล้ว ทมิฬนาฑูยังเป็นพื้นที่แห่งอารยธรรม โดยในรัฐแห่งนี้ประกอบไปด้วยวัดทั้งหมด 38,165 วัด อีกทั้งยังมีศาสนสถานสำคัญที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกถึง 8 แห่ง ทำให้ตลอดการเดินทาง เราจะเห็นตึกรามบ้านช่องและร้านอาหารที่ทันสมัยสลับสับเปลี่ยนร่วมไปกับสถาปัตยกรรมโบราณที่ถูกทำนุบำรุงรักษาไว้ นอกจากนี้ ผู้คนในพื้นที่ยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เครื่องแต่งกายประจำชาติและภาษาทมิฬที่ถูกสืบทอดต่อกันมานานกว่า 2,500 ปีอีกด้วย หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Ordinary and Extraordinary ความ (ไม่) ธรรมดา

ในเมืองที่แสนวุ่นวาย ผู้คนมากมายอย่างกรุงเทพมหานคร ผมเลือกที่จะมองหาความธรรมดาที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายผ่านการตีความด้วยภาพถ่าย ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่มันอยู่ด้วยกันอย่างถูกที่ถูกเวลา ทั้งหมดจะส่งเสริมกันและกัน กลายเป็นเสน่ห์ที่มองได้ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Gateway to Isaan ประตูสู่อีสาน

10 ปีกับการอยู่โคราชตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย จนเรียนจบเข้ากรุงเทพฯ มาทำงานเก็บประสบการณ์ แล้วย้ายกลับมาทำงานที่โคราชอีกครั้ง เวลาเลิกงานหรือว่างๆ ผมจะเดินออกสำรวจไปบริเวณรอบๆ ตัวเมืองกับกล้องหนึ่งตัว บางสถานที่เป็นสถานที่ธรรมดาๆ ที่ผมชินตามากๆ เพราะเห็นมาตลอด จนวันหนึ่งผมลองเปิดใจหามุมมองจากสิ่งที่ชินตาเหล่านี้ และมันทำให้ผมหลงรักความธรรมดาที่แสนพิเศษตรงหน้าผมไปแล้ว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.