เรียนดำน้ำกับครูหุย Dive Potato ชวนคนเมืองสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเล

การได้ดำลงไปในน้ำทะเลลึกเพื่อชมสภาพแวดล้อมที่หาดูไม่ได้บนพื้นดิน เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์มหัศจรรย์ นอกจากได้พักผ่อนแล้วยังถือว่าเป็นกีฬาที่สร้างความท้าทาย เพราะต้องใช้ความสามารถทั้งระบบหายใจและระบบกล้ามเนื้อที่ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน “ในฐานะที่เป็นครูสอนดำน้ำ ทะเลเป็นออฟฟิศ ฉะนั้นเราต้องรักษาออฟฟิศของเราให้สวยงามอยู่เสมอ” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘เนตรนภา ยิ่งกิจภิญโญ’ หรือ ‘ครูหุย’ PADI Course Director หญิงเพียงไม่กี่คนในประเทศไทย ที่จะมาเล่าถึงแรงบันดาลใจสู่การเป็นครูสอนดำน้ำที่ Dive Potato เพื่อส่งต่อความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป

จากภูเขาถึงทะเล บันทึกความทรงจำผ่านธรรมชาติเมื่อครั้งยังเด็ก

เมื่อครั้งยังเด็ก บ้านของฉันโอบล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และหมอกจางๆ ในฤดูหนาว อีกทั้งยังห่างไกลจากตัวเมืองมากพอสมควร แต่ที่นั่นฉันก็มีความสุขดี และในขณะเดียวกัน ทะเลก็คือโลกอีกฟากหนึ่งที่หัวใจและความไร้เดียงสาในวันนั้นถวิลหาทุกค่ำเช้า ภาพถ่ายชุดนี้เปรียบเสมือนการเดินทางย้อนเวลากลับไปปะติดปะต่อร่องรอย เพื่อรื้อฟื้นเรื่องราวและซ่อมแซมความทรงจำเหล่านั้นที่ถูกทิ้งไว้ในกาลเวลาจนชำรุดทรุดโทรมให้กลับมามีสีสันสดใส มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง สะท้อนถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังเด็กที่แสนอบอุ่นและมีความสุขอย่างเรียบง่าย ไร้ซึ่งความซับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

อย่าปล่อยให้ปลาทูไทยหายไปจากท้องทะเล ร่วมแชร์ปัญหาปลาทูไทยที่ลดลงไปจนอาจสูญพันธุ์ ในแคมเปญ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’

ปลาทูไทยหายไปไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน เพราะมันอาจจะกลายเป็นเรื่องจริงในอนาคต ขนาดทุกวันนี้ ปลาทูที่เรากินกันก็ยังไม่ใช่ปลาทูไทย แต่อาจเป็นปลาทูจากอินโดนีเซีย! ช่วงระยะหลายปีที่ผ่านมา จำนวนปลาทูในท้องทะเลไทยลดฮวบอย่างน่าตกใจกว่า 10 เท่า แถมปลาทูยังมีขนาดตัวเล็กลงเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งต้นตอของปัญหามีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงเกินขนาด กฎหมายการประมงที่ไม่เข้มงวด หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ท้องทะเลร้อนระอุขึ้น แม้จำนวนปลาจะลดลง แต่ความต้องการของตลาดอาหารทะเลไม่ได้ลดตาม จนประเทศไทยต้องนำเข้าปลาทูจากอินโดนีเซียมารองรับ ถ้าหากวงจรชีวิตปลาทูไทยยังถูกคุกคามโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในอีก 20 – 30 ปีข้างหน้า ก็ถึงเวลาที่ปลาทูไทยจะสาบสูญไปจากท้องทะเล เพื่อไม่ให้ฝันร้ายกลายเป็นจริง Pulitzer Center เลยชวนทุกคนมาร่วมส่งเสียงเล่าปัญหาปลาทูไทย ด้วยการแชร์ภาพเมนูปลาทูของตัวเอง ติดแฮชแท็ก #imissyouplatuthai และแนบลิงก์ Infographic จาก Pulitzer Center ที่บอกเล่าปัญหาอันน่าตกใจ พร้อมแท็ก ‘@pulitzercenter’ หรือใครอยากแชร์รายงานข่าว ปัญหาปลาทูไทย ของ Pulitzer Center ติดไปด้วยก็ได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการจัดนิทรรศการศิลปะ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’ ที่ได้ พงษ์พันธ์ สุริยภัทร […]

Seashore Sadness ขยะริมทะเลหาดลับ พัทยา

พัทยาคือหนึ่งในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล และเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เท่าไรนัก ใช้เวลาแค่สองชั่วโมงก็มาพักผ่อนพักใจที่ริมทะเลได้แล้ว ภาพความทรงจำของเรากับพัทยาคือ การได้มานั่งเล่นริมชายหาด ใช้เวลานั่งมองท้องฟ้า หาดทราย และน้ำทะเลกับเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งกับครอบครัว ซึ่งก็ผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสกลับไปที่พัทยาอีกครั้งเพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหน้าร้อนกับเพื่อนๆ และก็อดไม่ได้ที่อยากจะสำรวจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ว่าแตกต่างจากครั้งสุดท้ายที่เราได้มีโอกาสมาไหม เราเลือกไปเดินสำรวจ ‘หาดลับ’ หนึ่งในหาดที่มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ภาพของชายหาดสีขาวกับโขดหินเล็กใหญ่รูปทรงแปลกตามักจะปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นแบ็กกราวนด์ให้เหล่าหนุ่มสาวมาถ่ายรูป อวดความงามของตนเองและภูมิทัศน์รอบข้างอยู่เสมอ แต่ความจริงแล้วริมหาดไม่ได้งดงามอย่างที่รู้กัน ความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยแค่ภาพถ่าย แต่เหล่าผู้มาเยือนยังคงทิ้งร่องรอยไว้ ด้วย ภาพขยะจากถุงพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวถูกทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่ธรรมชาติไม่ต้องการ ภาพถ่ายชุดนี้เป็นการบอกเล่าถึงความจริงที่ถูกมองข้ามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ธรรมชาติหรือสิ่งสวยงามสูญสลายไปในอนาคตอันใกล้ เราหวังเพียงแค่ให้มนุษย์ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดและระเบียบวินัย เพื่อที่ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ออกแบบเรือ ‘Going Merry’ ให้พร้อมออกเดินทางตามหา One Piece

“ฉันจะเป็นราชาแห่งโจรสลัดให้ได้เลย!” ประโยคปลุกใจที่ไม่ใช่ว่าใครได้ยินแล้วจะแบกเป้ออกเรือเพื่อพาตัวเองไปสู่การเป็นโจรสลัดเบอร์ต้นได้ เพราะการเป็นราชาแห่งโจรสลัดจะคำนึงถึงแค่สมบัติที่ปลายทางอย่างเดียวไม่ได้ แต่กว่าจะไปถึงปลายทางนั้น ประสบการณ์ระหว่างการเดินทาง ผู้ร่วมทาง และแน่นอนว่าเรือโจรสลัดที่จะพาเราออกเดินทางก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพาเราให้ไปถึงยังฝั่งฝัน ก่อนจะออกเดินทางไปยัง ‘Grand Line’ เพื่อตามรอยลูฟี่และโจรสลัดกลุ่มหมวกฟางในภารกิจตามหาสมบัติที่จะเข้าฉายใน Netflix สิ้นเดือนนี้ เราขออาสาเป็นช่างซ่อมบำรุงแห่งโรงงานอุซปเพื่อเปลี่ยนเรือ ‘Going Merry’ ให้เป็นเวอร์ชันใหม่ที่พร้อมใช้งาน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตกลางทะเล และพากลุ่มโจรสลัดของเราไปตามหา One Piece กันให้ได้ เอาล่ะ พวกรุกกี้ทะเลสีฟ้าหน้าใหม่ จัดกระเป๋า ตั้งล็อกโพสให้ดี แล้วออกไปผจญภัยกันเลย! ความปลอดภัยคือหัวใจของการเดินเรือ ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินเรือสู่มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ โดย Going Merry ในเวอร์ชันอัปเกรดนี้จะมีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเข้ามา เช่น ถังดับเพลิงในกรณีที่เกิดไฟไหม้จากกิจกรรมต่างๆ บนเรือ เรือบดหรือเรือลำเล็กเพื่อใช้สำหรับการอพยพหาก Going Merry โดนโจรสลัดกลุ่มอื่นโจมตี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามจุดต่างๆ บนเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเรือพลัดตกลงน้ำหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเจอพายุจนเรือโคลงเคลงทรงตัวไม่ได้ หรือแล่นเรือฝ่าน้ำตกรีเวิร์สเมาน์เทนเพื่อมุ่งสู่แกรนไลน์ เข็มขัดเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดให้ทุกคนติดอยู่กับเรือ และถ้าเกิดอุบัติเหตุตกทะเล ใครที่กินผลปีศาจเข้าไปก็ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดแรงแล้วจมสู่ก้นทะเล เพราะเราได้เตรียมห่วงยางหรือชูชีพสำหรับช่วยเหลือเอาไว้ให้แล้ว ออกแบบเรือใหญ่ให้ครอบคลุมทุกการใช้งาน ผู้ร่วมทางในการออกตามหาสมบัตินั้นไม่ได้มีแต่คนทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่มีทั้งส่วนสูงใหญ่เกินคนทั่วไป และเล็กจิ๋วจนแทบมองไม่เห็น การออกแบบสิ่งต่างๆ […]

‘Pata ini ภูมิทัศน์ปราศจากเสียง’ วิกฤตธรรมชาติของอ่าวปัตตานีที่ตื้นเขิน

ภูมิทัศน์ปราศจากเสียง (Pata ini) คือผลงานศิลปะภาพถ่ายจากการลงพื้นที่สำรวจภูมิทัศน์บริเวณอ่าวปัตตานี นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี

บันทึกหาด (แม่) รำพึง เมื่อน้ำมันรั่วกลางทะเล

เย็นวันที่ 29 มกราคม 2565  “เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพิ่งจะฟื้นตัวจากโควิด นี่มาน้ำมันรั่วอีก ทำไมอะไรๆ มันก็เข้ามาที่ระยอง” ป้าเจ้าของร้านอาหารทะเลเอ่ยเบาๆ ขณะยืนมองกลุ่มคนใส่ชุด PPE สีขาวกำลังทำความสะอาดคราบน้ำมันบริเวณชายหาดแม่รำพึง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ออกจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เวลาประมาณสามทุ่มเศษๆ เกิดเหตุการณ์ ‘น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบเดี่ยวกลางทะเล’ หรือเรียกง่ายๆ ว่า จุดขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน (SPRC) และจากการคาดการณ์ทิศทางเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ด้วยวิธีการ Oilmap ว่าคราบน้ำมันจะเข้ามาถึงฝั่งในวันที่ 28 มกราคม ที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง เมื่อข่าวการรั่วของน้ำมันเป็นที่รับรู้ของชาวบ้าน และชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณใกล้เคียงในวันรุ่งขึ้น แม่ค้าขายส่งหมึกในพื้นที่เล่าว่า “ลูกค้าประจำโทรมาถามแล้วว่าหมึกเอามาจากไหน ถ้าเป็นหมึกจากระยองต้องขอยกเลิกก่อน มันจะเหมือนน้ำมันรั่วคราวก่อนปี 56 ไหม ที่ชาวประมงออกไปหาปู หาปลา ไม่ได้ ถึงหามาได้ก็ไม่มีคนกล้าซื้อหรือกล้ากิน […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

KAANI ครีมกันแดด Reef-safe ไทยกับมาตรฐานสารเคมีเข้มงวดสูงสุดเท่าประเทศปาเลา

ภาพหาดทรายสีขาวนวลทอดยาวตลอดแนวชายหาด เหล่าเกลียวคลื่นที่ม้วนตัวซัดเข้าฝั่งเป็นระยะ หรือผืนน้ำสีฟ้าครามที่เปล่งแสงระยิบระยับ พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเส้นผมให้ปลิวไสว ตามด้วยไออุ่นจากแสงแดด ล้วนชวนให้หลงเสน่ห์ของทะเล จนอยากฉุดร่างกายให้ลุกขึ้นไปเติมความสดชื่นอย่างเต็มที่  เชื่อว่าความงามเหนือผิวน้ำที่เรามองเห็น คงเทียบไม่ได้กับการเห็นหมู่มวลปลาเล็ก-ใหญ่ และสีสันอันสดใสของปะการังที่ขึ้นเรียงรายตามโขดหินในโลกใต้ท้องทะเลอย่างใกล้ชิด แต่ความจริงแล้ว สีสันเหล่านั้นถูกกลืนหายจนกลายเป็น ‘สีขาว’ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ความเค็มของน้ำทะเล ตะกอนจากน้ำจืด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก ‘ครีมกันแดด’ บนร่างกายมนุษย์ #Saveปะการัง ด้วยพลังของเพื่อนซี้ ในวันที่การบีบครีมกันแดดเพียง 1 ข้อนิ้ว สะเทือนถึงโลกใต้ท้องทะเล เพราะมีส่วนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว สามเพื่อนซี้ที่รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จึงผุดไอเดียแบรนด์ ‘KAANI (คานิ)’ ครีมกันแดดรักษ์ปะการัง หรือที่เรียกว่า ‘Reef-safe’ คือ ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ด้วยความตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลท้องทะเล “ตัวผมดำน้ำมาตั้งแต่ยังเล็กที่หินแดงหินม่วงในจังหวัดภูเก็ต ตอนนั้นผมเห็นสีแดงและสีม่วงบนปะการังละลานตาเต็มไปหมด แต่เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ผมกลับไปดำน้ำอีกครั้ง ผมเห็นแค่โขดหินเท่านั้นเอง” จีน-พชร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAANI (คานิ) เล่าถึงความทรงจำวัยเด็กที่เขาได้ชื่นชมความสวยงามของปะการังที่ปัจจุบันคล้ายกับตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์สีขาวโพลน ซึ่งก่อนหน้านั้นตัวเขาเองใช้ครีมกันแดดสูตร Reef-safe จากต่างประเทศ แต่กลับพบว่าไม่ตอบโจทย์ ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เหมือนกัน […]

ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.