เกม ‘Night Drive : คืนหลอน ซ่อนทาง’ ช่วยเป็นเสียงสู่ความหวังของการรอคอย ผ่านการติดป้ายตามหาคนหายของมูลนิธิกระจกเงาในเกม

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตัวเลขสถิติคนสูญหายยังคงมีอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี มีหลายครอบครัวที่กำลังรอใครสักคนกลับบ้าน และอีกหลายหน่วยงานที่ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยพาคนกลุ่มนั้นกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย นอกจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการติดตามคนหายแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของภาคประชาชนในการช่วยกันสอดส่องเพื่อนร่วมสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายแสงแห่งความหวังนี้ได้ ‘Night Drive : คืนหลอน ซ่อนทาง’ เกมขับรถยามค่ำคืนที่มาพร้อมภารกิจอันท้าทาย ได้ขอเป็นหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ติดตามคนหายเช่นกัน โดยทาง ‘Zebraman555’ ผู้สร้างเกมนี้ชี้แจงว่า หนึ่งในป้ายริมทางที่ผู้เล่นเห็นระหว่างขับรถนั้นคือป้ายตามหาคนหายจริงจากมูลนิธิกระจกเงา ไม่ใช่ป้ายที่ออกแบบจำลองสำหรับเกมเพียงเท่านั้น Zebraman555 เห็นว่าเกมนี้เป็นเกมที่เข้าถึงกลุ่มคนได้มาก และมูลนิธิกระจกเงาเองก็มีเคสคนหายจำนวนมากเช่นกัน เขาจึงใช้ช่องทางนี้เป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และหวังว่าจะมีคนพบเห็นผู้สูญหายในป้ายแล้วแจ้งเบาะแสสำคัญแก่ครอบครัวผู้สูญหายได้  ระหว่างที่กำลังหาทางออกให้ตัวเอง คุณอาจเป็นคนช่วยพาใครกลับบ้านและกลับถูกทางได้ในเวลาเดียวกัน สัมผัสประสบการณ์ขับรถตอนกลางคืนสุดลุ้นระทึกใน Night Drive : คืนหลอน ซ่อนทาง ได้ที่เว็บไซต์ Steam tinyurl.com/an4pz7 Source : Facebook : Zebraman555 | tinyurl.com/2zc3yfp2

‘ทุก 4 ชั่วโมง มีคน 1 คนกำลังหายออกจากบ้าน’ สถิติคนหายกำลังบอกอะไรกับเรา

“ทุกสี่ชั่วโมง มีคนหนึ่งคนกำลังหายออกจากบ้าน” คำพูดสั้นๆ นี้คือสิ่งที่ ‘เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข’ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา หนึ่งในสปีกเกอร์ของงาน dataCon 2024 บอกกับเราระหว่างช่วง Talk ในหัวข้อ ‘ข้อมูลคนหาย อะไรอีกที่หายนอกจากคน’ เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มูลนิธิกระจกเงามีบทบาทสำคัญในการตามหาคนหาย ที่นอกจากจะพบคนหาย ยังทำให้พบ ‘ความจริง’ บางอย่างที่สะท้อนเบื้องหลังสังคมไทย เมื่อพูดถึงคนหาย สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นกระบวนการค้ามนุษย์หรือการลักพาตัว แต่หลังจากเอกลักษณ์ก่อตั้งโครงการนี้และย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำให้พบว่าการหายตัวของบุคคลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย โดยระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างปี 2563 – 2567 พบว่า 5 อันดับสาเหตุการหายของคนไทยนั้น อันดับหนึ่งคือ การสมัครใจหนีออกจากบ้านด้วยตนเอง จำนวน 2,458 ราย และอันดับสองคือ จิตเวช จำนวน 1,933 ราย ตามมาด้วยสาเหตุ ขาดการติดต่อ 1,802 ราย, โรคสมองเสื่อม 634 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.