ทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ ‘ฝัน’ ที่ไกลเกินเอื้อม คุยเรื่องนโยบาย Public Housing กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’

ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อ ‘บ้าน’ ได้หนึ่งหลัง เมื่อพูดถึงคำว่า ‘บ้าน’ นิยามของแต่ละคนอาจต่างกันออกไป บ้างมองเป็นเพียงพื้นที่หลับนอน โครงสร้างหนึ่งที่มีหลังคาคลุม ขณะที่บางคนยกให้บ้านเป็นมากกว่านั้น เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนต่อยอดได้ในอนาคต คำว่าบ้านจึงไม่ใช่เพียงแค่สิ่งปลูกสร้าง แต่ยังสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของใครหลายคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยไต่ระดับสูงขึ้นจนเกินกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรส่วนใหญ่ การมีบ้านอาจกลายเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนไทยยุคนี้ เพราะต่อให้ทำงานเก็บเงินทั้งชีวิตก็ยากที่จะคว้าบ้านในฝันมาได้ และมีไม่น้อยที่จำเป็นต้องอาศัยในบ้านที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือบางคนอาจไม่มีบ้านให้กลับในวันที่เหนื่อยล้าด้วยซ้ำไป วันนี้คอลัมน์ Think Thought Thought จะพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบว่า ‘เราจะทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม’ กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’ อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการทำความเข้าใจนโยบายที่อยู่อาศัยผ่านแนวคิด ‘ที่อยู่อาศัยที่รัฐอุดหนุน’ (Public Housing) หรือการที่ภาครัฐออกแบบนโยบายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย : ปัจจัยพื้นฐานที่สะท้อนคุณภาพชีวิต  “ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในพื้นฐานปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตมนุษย์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง เพราะหลายคนเกิดมามีบ้านอยู่แล้ว ทว่าอย่าลืมว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง หรือมีแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย” บุษราอธิบายถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัย สิ่งที่บุษราทำคือการชวนให้เราหันกลับมาทบทวนบทบาทของ ‘บ้าน’ ในฐานะหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ เพราะบ้านไม่ได้เป็นเพียงที่พักพิงทางกาย […]

FYI

เทรนด์ลงทุนของคนรุ่นใหม่ใช้ digital platform อย่างไร ในชีวิตที่เสี่ยงกับความไม่แน่นอน

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคดิจิทัลเต็มตัว ช่วงที่ทุกคนสามารถทำกิจกรรมทุกอย่างผ่านเทคโนโลยีใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊กไว้ดูหนังฟังเพลง ประชุมงาน ซื้อขายสินค้า หรือแม้กระทั่งการลงทุนได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจนแทบไม่ต้องลุกเดินทางไปไหน ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เติบโตพุ่งกระฉูด สร้างความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมเพียงแค่ปลายนิ้ว ความรวดเร็วในการติดต่อที่ไม่ต้องเสียเวลานาน และการเข้าถึงข้อมูลแสนง่ายดายต่อคนทุกกลุ่ม เจน Y เก่งเทคโนโลยีการลงทุน โดยเฉพาะคนมิลเลนเนียล หรือเจเนอเรชันวาย เกิดในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 ที่ได้รับประโยชน์ทางการเงินมากกว่าวัยอื่น จากรายงานของ Broadridge ปี 2021 พบว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลมีสินทรัพย์มากขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในยุคดิจิทัล และจะเพิ่มอีกสามเท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จากการใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลในการลงทุนทางการเงิน สาเหตุที่เจเนอเรชันวายสนใจใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการลงทุน ต้องขอย้อนความไปตั้งแต่อดีต พวกเขาเกิดมาท่ามกลางในยุคที่มีอินเทอร์เน็ตเข้ากูเกิล พิมพ์เอกสาร ส่งข้อความหากันได้สบายๆ และล้อมรอบด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมเสิร์ฟ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ทีวี หรือมือถือที่ต้องคลุกคลีทุกวัน ทำให้รู้สึกคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์กับตนเองง่ายดาย ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีที่ใช้เก่ง เรื่องความรู้ก็แน่นไม่แพ้ใคร พวกเขาเติบโตในช่วงที่ได้เห็นบทเรียนต่างๆ จากรุ่นก่อน ตั้งแต่ช่วงวิกฤตทางการเงินล่มสลายไปจนถึงกลับมาฟื้นฟูสุดรุ่งเรือง สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันในการลงทุนครั้งต่อไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น เช่น เดิมคนมักจะพุ่งเป้าลงทุนในสิ่งที่คนอื่นว่าดี เราก็เออออตามไปด้วย […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.