“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน”
เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสาร
แม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย
จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว
พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไป
พบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่
พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอด
พบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
…นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่
RELATED POSTS
เสพงานศิลป์ อินงานอาร์ตยามค่ำคืน กับงาน ‘Galleries’ Nights ครั้งที่ 11’ 22 – 23 พ.ย. ที่ 80 แกลเลอรีทั่วกรุงเทพฯ
เรื่อง
Urban Creature
เปลี่ยนคืนวันศุกร์และเสาร์ที่เงียบเหงาให้สนุกและตื่นเต้นไปกับประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยการไป Gallery Hopping กับงาน ‘Galleries’ Nights’ กัน ในปีนี้ Galleries’ Nights ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 แล้ว และเป็นงานที่ไม่ใช่แค่การเชิญชวนให้คนรักงานศิลปะออกมาชื่นชมความสวยงามของงานศิลปะเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจแต่อาจมีเวลาไม่เพียงพอกับการไปยังแกลเลอรีต่างๆ ในช่วงเวลาปกติ เพราะงานนี้ขยายเวลาเปิดในช่วงกลางคืน เป็นหนึ่งในโอกาสให้เราชมงานศิลปะได้ยาวนานขึ้น เพื่อชวนให้ผู้คนได้ลองออกมาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ให้สนุกมากขึ้นกว่าเดิม ผ่านการเดินทางชมงานศิลปะกับช่วงเวลาใหม่ๆ Galleries’ Nights ปีนี้เปิดให้ชมสองคืนกับอีกกว่า 80 แกลเลอรีที่เข้าร่วมในสองเส้นทางหลัก คือ – 22 พฤศจิกายน 2567 : สีลม/สาทร/ริมแม่น้ำเจ้าพระยา – 23 พฤศจิกายน 2567 : อารีย์/ปทุมวัน/สุขุมวิท การเดินทางไปชมงานแต่ละสถานที่ก็ยังง่ายแสนง่ายเหมือนเดิม เพราะมีรถไฟฟ้า MuvMi คอยรับส่งกันแบบฟรีๆ ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. และไม่ต้องกลัวว่าจะงงหรือหลงทาง เพราะทุกแกลเลอรีที่เข้าร่วมมีแผนที่งานให้หยิบได้ฟรี หรือจะดาวน์โหลดแผนที่แบบ PDF จากเว็บไซต์ galleriesnights.com […]
กาดหลวง มนตร์เสน่ห์จากวันวาน
เรื่อง
วราลักษณ์ ใจเป็ง
“ยิ่งเก่า ยิ่งขลัง” เป็นคำพูดที่หลายคนคงได้ยินติดหูกันมานาน ช่วงเวลาผ่านเรื่องราวในอดีต หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำที่ยังคงฝังมาจนถึงปัจจุบัน เวลานำพาเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ เข้ามาจนไม่หลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังคงหลงรักมนตร์เสน่ห์ของยุคเก่า ทั้งคอยเก็บสะสมและแลกเปลี่ยน ยิ่งของที่เก่ามาก ราคายิ่งสูงตาม โดยส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบของเก่า ถึงแม้จะเกิดไม่ทันในยุคสมัยนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวการแต่งตัว หนัง และความชอบในการท่องเที่ยวดูสถานที่ที่ยังเหลือกลิ่นอายของยุคเก่า ทั้งที่มีมาตั้งแต่อดีตหรือที่เขาจัดแต่งขึ้นมาทีหลัง ‘กาดหลวง’ หรือ ‘ตลาดวโรรส’ คือตลาดที่ยามว่างเราชอบมาเดินเล่นกับกล้องหนึ่งตัว ถึงแม้จะไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านเลย แต่สิ่งที่ได้สัมผัสคือบรรยากาศที่เหมือนเคยได้สัมผัสมาก่อน จากการเดินสังเกตเรื่องราวของผู้คนราวกับหนังจอใหญ่ 4D เราพบว่าคนขายของมีหลากหลายเชื้อชาติ คนอินเดียบางคนที่เขาอยู่มานานพูดภาษาเหนือได้คล่อง ผู้คนพูดคุยทักทายกันเหมือนเคยรู้จักกันมาก่อน ระหว่างเดินและมองไปรอบๆ ภาพในอดีตสมัยเด็กๆ ล่องลอยขึ้นมาในหัวร่วมกับความรู้สึกที่ผสมปนเปกันไปหมด ทั้งความคิดถึง เหงา ตื้นตันใจ ความสุข และความรู้สึกอบอุ่น จนน้ำตาไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว ได้แต่หวังว่าในอนาคตที่ปัจจุบันกำลังดำเนินไปจะยังคงหลงเหลือมนตร์เสน่ห์จากวันวานนี้อยู่ ติดตามผลงานของ วราลักษณ์ ใจเป็ง ต่อได้ที่ Instagram : laa_WJ และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
นิทรรศการศิลปะ ‘เมืองลับแล’ บอกเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ที่มองไม่เห็น วันนี้ – 23 มี.ค. 67 ที่ SAC Gallery
เรื่อง
Urban Creature
‘กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย’ คำขวัญกรุงเทพฯ ที่พูดถึงความเจริญของเมืองผ่านแง่มุมที่สวยหรู แต่ด้วยการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้กรุงเทพฯ ในจินตนาการนั้นแตกต่างกับความเป็นจริง ‘เมืองลับแล’ (Invisible Town) คือนิทรรศการที่สะท้อนถึงผู้คนและกรุงเทพฯ เมืองที่กำลังพัฒนาผ่านผลงานศิลปะของ ‘มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ’ ศิลปินหญิงชาวมุสลิม ที่มองเห็นถึงปัญหาทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ความบกพร่องในการวางผังเมือง และการคอร์รัปชัน รวมไปถึงบางพื้นที่ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับแหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม ที่หลายคนอาจมองข้ามผลกระทบที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไป ผลงานในนิทรรศการนี้มีแนวความคิดการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับสิ่งของเหลือใช้ เช่น กระป๋องบุบ มุ้งลวดกันยุง กระดาษลังใช้แล้ว กล่องนม เหล็กดัด และใช้ผ้ามัดย้อมหรือผ้าพิมพ์ลายภาพสถานที่สื่อถึงการตระหนักรู้เรื่องหมอกควัน แสดงให้เห็นถึงมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาแก่ผู้คนในประเทศไทยและกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอในลักษณะเหมือนช่องหน้าต่างและฉากกั้นห้อง ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งภายในบ้านแบบไทยและบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมีการนำเอาผนังรีไซเคิลมาสร้างเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่อีกด้วย เปิดประสบการณ์เมืองลับแล (Invisible Town) ที่ SAC Gallery ตั้งแต่วันนี้ – 23 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 11.00 – 18.00 น.
Colors of Everyday Life in Bangkok สีสันรายวันของกรุงเทพฯ
เรื่อง
ปฏิกรณ์ พึ่งสมวงศ์
เราชอบดูงานศิลปะมาก ไม่ว่าจะเป็นงานภาพถ่าย ภาพวาด งานจิตรกรรม หรืองานแขนงอื่นๆ แต่ในทุกครั้งจะมีองค์ประกอบหนึ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องของ ‘สี’ เพราะสีเป็นสิ่งหนึ่งที่ให้อารมณ์ที่หลากหลาย เช่น สนุก เศร้า ผ่อนคลาย มีความหวัง ทั้งยังสื่อสารกับความรู้สึกของผู้คนได้ ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านผมจะพกกล้องคอมแพคตัวเล็กๆ ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ที่เจอในชีวิตประจำวัน โดยจะนำเสนอผ่านสไตล์ที่ผสมผสานกัน นั่นคือ Minimal, Abstract, Art และให้ ‘สี’ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ภาพดูน่าสนใจและสนุกมากขึ้น ด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองแห่งสีสัน ไม่ว่าเดินไปทางไหนเราจะพบเจอตึกรามบ้านช่อง พาหนะ การแต่งกายของผู้คน ที่ล้วนแล้วแต่น่าสนใจและมีความงามซ่อนอยู่ในทุกๆ ที่ จากมุมมองนี้ทำให้ผมคิดว่า ไม่ว่าเราจะเจอเรื่องดีหรือไม่ดี สุขหรือเศร้า อย่างน้อยก็เป็นสีสันของชีวิต หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]