รู้หรือไม่? ‘เจริญกรุง’ เป็นถนนสายแรกในไทย เริ่มสร้างเมื่อปี 2404 เพื่อรองรับชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก และเสร็จในปี 2407 ตอนนั้นคนทั่วไปเรียกว่า ‘ถนนใหม่’ ต่อมา ร.4 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนแห่งนี้ว่า ‘เจริญกรุง’ เพื่อสื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง
ถนนสายนี้ทอดยาวตั้งแต่เขตพระนครไปจนถึงบางคอแหลม ด้วยระยะทางกว่า 8,575 เมตร เราจึงได้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และฝรั่ง ผ่านตึกรามบ้านช่อง ร้านค้า ร้านอาหาร ไปจนถึงคาเฟ่ฮิปๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเส้นทาง จนทำให้ตอนนี้เจริญกรุงกลายเป็นย่านนัดพบยอดฮิตของพวกเราไปแล้ว
ดังนั้น วันที่ 17 มีนาคมนี้ Google จึงจัดแคมเปญฉลองครบรอบ 157 ปีถนนเจริญกรุง โดยทำ Doodle เป็นรูปถนนเจริญกรุง เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของถนนเส้นนี้ แถมยังได้ เพียว โลกุตรา นักวาดภาพที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาลงมือวาดแผนที่ถนนเจริญกรุงและทำเป็นโปสต์การ์ด นอกจากนี้ยังแจกส่วนลดพิเศษจาก 18 ร้านค้า SMEs ที่เข้าร่วมแคมเปญตลอดแนวถนนเจริญกรุง เพียงแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับ Doodle หรือถนนเจริญกรุง พร้อม #GoogleDoodle และโชว์โพสต์นั้นเพื่อรับส่วนลดไปเลย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.google.co.th
RELATED POSTS
ชาว Neighbourmart และย่านเจริญกรุง รวมสถานที่โปรดใกล้ร้านซัพสินค้ากรุงเทพฯ ที่อยากให้ทุกคนแวะไปซัพพอร์ต
เรื่อง
Urban Creature
หลังจากแนะนำสถานที่โปรดของชาว Urban Creature ในถิ่นที่อยู่ไปแล้ว คอลัมน์ Add to My List คราวนี้ก็ถึงทีแวะเวียนขอให้เพื่อนบ้านน่ารักๆ อย่างชาว ILI.U ที่ตั้งแต่ช่วงต้นปีไปประจำการอยู่ห้างซัพสินค้า Neighbourmart ในตึก TCDC กรุงเทพฯ มาแนะนำสถานที่โปรดของแต่ละคนในย่านเจริญกรุง บางรัก ตลาดน้อยกันบ้าง ขอบอกว่าร้านรวงและสถานที่แต่ละแห่งที่ชาวเนเบอร์มาร์ทเลือกมา นอกจากจะเด็ดดวงสมกับเป็นคนลงพื้นที่ไปเสาะหาของดีในกรุงเทพฯ มาให้ทุกคนเลือกอุดหนุนแล้ว ยังมีสตอรีที่น่ารัก อบอุ่น ชวนให้อมยิ้ม แล้วอยากไปตามรอยความผูกพันของพวกเธอที่แอบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบอดีตของเหล่าสถานที่ที่เลือกกันมา ใครที่อยากรู้ว่าพื้นที่ชุบชูใจของชาวห้างซัพสินค้าสีเหลืองสดใสแห่งนี้เป็นที่ไหนกันบ้าง หรือถ้าถึงขนาดอยากแวะไปตามรอยตอนหลังจากซื้อของที่เนเบอร์มาร์ทเรียบร้อยแล้ว ก็ไปตามอ่านกันได้เลย ชื่อ : จิราภรณ์ วิหวาตำแหน่ง : Co-Founder & Content Designerสถานที่โปรด : หว่าโถ่ว น้ำขมหยั่นหว่อหยุ่น บางรัก 2474ตำแหน่งที่ตั้ง : maps.app.goo.gl/GKEy8xQTBGJnxqfs8 สมัยยังเป็นวัยรุ่นหัดเดินเล่นย่านกรุงเทพฯ ใหม่ๆ ป้ายรถเมล์บางรักตรงข้ามโรบินสันคือจุดสตาร์ทที่ดี มีซอกซอยเต็มไปด้วยของอร่อย แถมมีรถสองแถววิ่งวนตรอกจันทน์ให้เลือกสุ่มขึ้นหลายสาย ซึ่งก่อนขึ้นรถต้องแกล้งทำเป็นคุณน้าเก๋าๆ สั่งน้ำขมที่เคาน์เตอร์หินลายภาษาจีนตัวเป้งๆ กิน และพบว่ามันขมมาก […]
ชวนเดินลัดตรอกเลาะซอยกับสถานที่ใหม่น่าตามไปเช็กอิน ในย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ ฉบับอัปเดต
เรื่อง
นภัสสร ศรีโภคา
สุดสัปดาห์นี้ลองชวนคนที่รักไปเดินเล่นที่ย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ กัน เจริญกรุง-บางรัก ในความทรงจำของหลายคนคงจะมีสถานที่หรือร้านรวงเก่าแก่ ไอคอนิกประจำย่านที่ไม่ว่าใครมีโอกาสไปเยือนแถวนั้นก็ต้องแวะเช็กอินกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC’ พื้นที่แห่งงานสร้างสรรค์และคลังความรู้คู่เจริญกรุง, ‘โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา’ โรงฉายหนังเก่าแก่ที่ผลัดเปลี่ยนเป็นโรงแรมใจกลางย่าน, ‘ประจักษ์เป็ดย่าง’ ร้านบะหมี่เป็ดเก่าแก่กว่า 100 ปี หรือร้าน ‘น้ำขม โหมงหวอ’ ที่จำหน่ายน้ำสมุนไพรโบราณในบางรักร่วม 80 ปี แต่หลังจากที่เราได้ลองกลับไปเดินเล่นในย่านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าปัจจุบันย่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในอดีต หรือที่ตั้งของเหล่าร้านรวงเก่าแก่ที่เป็นตำนานอีกต่อไป แต่เริ่มมีธุรกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของย่าน และกระจายตัวกันอยู่ตามตรอกซอกซอยมากขึ้น ครั้งนี้คอลัมน์ Urban Guide ขอแวะมาอัปเดตสถานที่ใหม่น่าแวะในย่านเจริญกรุง-บางรัก ที่จะทำให้การเดินเที่ยวเล่นในย่านนี้สนุกและแตกต่างไปจากเดิม เตรียมจดพิกัดและไปเดินด้วยกันได้เลย! 01 | Central Department Store Bangrak เริ่มต้นเดินกันจาก BTS สถานีสะพานตากสิน จะพบกับสถานที่แรกที่พลิกโฉมด้วยการอาบน้ำแต่งตัวใหม่ เปลี่ยนจาก ‘โรบินสัน บางรัก’ เป็น ‘เซ็นทรัล บางรัก’ ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเดียวบนถนนเจริญกรุง ด้วยเหตุผลที่ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและสดใสขึ้นตามยุคปัจจุบัน รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ภายในห้างฯ […]
‘เจริญกรุง’ จากถนนดินอัดแห่งแรก สู่ย่านสร้างสรรค์ต้นแบบ เส้นทางความเจริญของกรุงเทพฯ ตามชื่อที่ตั้ง
เรื่อง
นภัสสร ศรีโภคา
รู้ไหมว่า กว่า ‘เจริญกรุง’ จะกลายมาเป็นย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างในปัจจุบันนี้ต้องเจอสถานการณ์อะไรบ้าง ภาพจำของเจริญกรุงที่เราคุ้นตาคงเป็นแหล่งรวมร้านถ่ายรูปที่เรียงรายอยู่ตลอดแนวถนน ทั้งยังเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการและอาร์ตแกลเลอรีที่หมุนเวียนมาไม่ซ้ำเป็นประจำทุกเดือน จนได้เป็นย่านแรกของไทยที่ก้าวสู่การเป็น ‘ย่านสร้างสรรค์’ จากการรวมตัวของคนหลายกลุ่มที่ช่วยกันฟื้นฟูและขับเคลื่อนย่านให้กลับมาคึกคักกันอีกครั้งเช่นในปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการผ่านโปรเจกต์ Bangkok Design Week ที่เราคุ้นเคย แต่ก่อนที่เจริญกรุงจะเดบิวต์ใหม่เป็นย่านสร้างสรรค์ที่เหมาะกับการมาเดินเล่นในวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น ย่านนี้เคยเป็นที่รู้จักในด้านการเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของการเดินทางบนคอนกรีตที่สะดวกสบายในปัจจุบัน เพราะเจริญกรุงนับว่าเป็น ‘ถนนสายแรก’ ของกรุงเทพฯ ที่สร้างด้วยเทคนิคตะวันตก ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางสังคม สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองและความเจริญที่เริ่มคืบคลานทยอยเข้ามาในเมืองทีละนิดๆ ส่งผลให้เกิดเป็นการคมนาคมที่เข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน คอลัมน์ Urban Tales ขอพาทุกคนย้อนดูไทม์ไลน์การเดินทางกว่า 160 ปีของเจริญกรุง ตั้งแต่เริ่มมีถนนใช้เป็นครั้งแรก พากรุงเทพฯ ก้าวเข้าสู่เมืองแห่งความทันสมัย ก่อนผลัดเปลี่ยนสู่ยุคตกทุกข์ได้ยากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และผงาดขึ้นอีกครั้งในฐานะย่านสร้างสรรค์แรกของไทย กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ จากเส้นทางสายน้ำสู่พื้นคอนกรีตแบบตะวันตก ไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนในกรุงเทพฯ สังเกตได้ว่าแทบทุกพื้นที่จะมีคลองเล็กใหญ่ให้เห็นอยู่เสมอ และส่วนใหญ่คลองเหล่านี้มักบรรจบหรือมีจุดที่เชื่อมโยงเป็นสายเดียวกัน ถือเป็นร่องรอยจากอดีตที่แสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ มีความใกล้ชิดกับสายน้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งบ้านเรือนติดแม่น้ำลำคลอง การประกอบอาชีพประมง รวมถึงการใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางหลักสำหรับสัญจรไปมาในอดีต จึงไม่แปลกที่เขตหรือแขวงในกรุงเทพฯ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘บาง’ ที่หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล เพื่อใช้เรียกสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสายน้ำ […]
เปิดกล่องความทรงจำกรุงเทพฯ กับนิทรรศการ ‘บางกอกรำลึก’ โดยช่างภาพชาวเดนมาร์ก วันนี้ – 19 มี.ค. 67 ที่ Charoen 43 Art & Eatery
เรื่อง
Urban Creature
ความทรงจำของเรามักถูกเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เพลง ภาพยนตร์ ผู้คน หรือแม้แต่สถานที่ที่เมื่อเรากลับไปตรงนั้น ภาพความทรงจำต่างๆ ก็จะปรากฏชัดขึ้นมา เช่นเดียวกับในนิทรรศการ ‘บางกอกรำลึก’ (Bangkok Archive) โดย ‘อุล์ฟ สเวน’ ช่างภาพชาวเดนมาร์ก ที่จะชวนให้ทุกคนได้มาเปิดกล่องภาพแห่งความทรงจำกับเรื่องราวของผู้คนและย่านต่างๆ ในกรุงเทพมหานครกัน นิทรรศการนี้เป็นการสานต่อมาจากนิทรรศการ ‘Copenhagen Archive’ ประเทศเดนมาร์ก โปรเจกต์ที่ได้รับความร่วมมือกับ ‘UNESCO and the World Congress of Architecture’ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการบันทึกเรื่องราวความทรงจำของผู้คนและสถานที่ที่มักถูกมองข้ามในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม ภาพไฮไลต์ในบางกอกรำลึกครั้งนี้มาจากสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นสวนสัตว์พาต้า สถานตากอากาศบางปู ย่านตลาดน้อย และยังมีอีกมากมายที่ครั้งหนึ่งอาจเคยเป็นความทรงจำของเรา ร่วมเปิดกล่องภาพความทรงจำของกรุงเทพฯ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 19 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 12.00 – 19.00 น. ที่ Charoen 43 Art & […]