ต๊ะ วสกร กับของอาถรรพ์ที่กำลังจะหายไป

“คำว่า ‘อาถรรพ์’ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ถ้าเรามองมันเป็นของอาถรรพ์ เราก็จะไม่กล้าไม่ยุ่งกับมัน แต่ถ้ามองว่ามันคือของสะสมมันก็จะเป็นแค่ของชิ้นหนึ่ง” Urban Creature พาไปคุยกับ ‘ต๊ะ-วสกร เชาวน์พีระพงศ์’ หรือ ‘ต๊ะของอาถรรพ์’ นักสะสมของอาถรรพ์ หนึ่งในนักเล่าเรื่องผีจาก The Ghost Radio ว่านอกจากเรื่องราวหลอนๆ ของของสะสมที่ไม่เหมือนใครอย่าง สมุดข่อย หุ่นกระบอกโบราณ และผ้ายันต์ต่างๆ แล้ว ของสะสมเหล่านี้ยังมีมุมมองอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง

เต้นสวิง เพลงแจ๊ส และการพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

หากพูดถึงการเต้นสวิง อาจจะดูเป็นเรื่องเก่าและไกลตัว แต่หลังจากช่วงโควิด-19 เบาลง หลายคนก็มองหากิจกรรมใหม่ๆ นอกบ้าน ทำให้แสงไฟที่สาดส่องฟลอร์เต้นก็ขยับขยายมากขึ้น พร้อมกับจำนวนนักเต้นมากหน้าหลายตาที่เพิ่มมาจากความสนุกของการได้เต้นและเพลงแจ๊สที่บรรเลงกลมกลืนไปกับจังหวะการขยับร่างกาย จากที่เคยเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ในสตูดิโอ การเต้นสวิงก็กระจายตัวออกมาสู่การเป็นอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้สังคมให้ความสนใจกับอีเวนต์นี้มากขึ้น และยังส่งต่อไปถึงการเห็นภาพความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นได้อีกด้วย คุยกับ The Stumbling Swingout และ Jelly Roll Jazz Club สองทีมงานเบื้องหลังอีเวนต์ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong ที่อยากให้การเต้นสวิงเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงและเติบโตต่อไปในอนาคต

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

พัฒนาย่านอารีย์กับกลุ่มคนขับเคลื่อนเมือง | AriAround

‘อารีย์’ ย่านชิกที่หลายคนอาจจะมีภาพจำของการไปเที่ยวคาเฟ่และถ่ายรูปกันเป็นประจำ ทั้งที่จริงแล้วภายในย่านนี้กลับไม่ได้มีแค่ร้านกาแฟอยู่มากมาย แต่ยังมีธรรมชาติภายใต้เมืองให้เราได้สัมผัส รวมถึงคอมมูนิตี้ที่แข็งแรงที่พร้อมเปิดรับให้ทุกคนเข้ามา และสถานที่ Hidden Gems ที่หลายคนอาจไม่ได้รู้ ซึ่งอารีย์อาจไม่ได้เป็นอย่างนี้เลยหากว่าที่ย่านนี้ไม่ได้มีกลุ่มคนที่คอยซัพพอร์ตการพัฒนาย่านอย่าง ‘AriAround’ อยู่ “เมื่อก่อนเราคิดว่างานพัฒนาเมืองเป็นงานของรัฐ แต่มันลำบากจนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว สุดท้ายพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ได้คอนเนกต์กับรัฐ เราถึงเห็นว่ารัฐก็อยากทำงาน แต่บางทีเขาก็ไม่รู้ว่าจะคอนเนกต์กับคนอย่างไร “การที่มี AriAround มันพาคนในพื้นที่มาคอนเนกต์กับคนจำนวนมากในพื้นที่อีกทีหนึ่ง” AriAround คือแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมคนในย่านอารีย์ให้เข้าหากันและกัน ทั้งยังสร้างเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังว่าทุกคนในย่านจะมีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในย่านได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการพัฒนาเมืองไม่ได้มีเพียงแค่รัฐที่ทำได้ฝ่ายเดียว Urban Creature เลยไปคุยกับ ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง AriAround ถึงพื้นที่อารีย์ในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงของย่านอารีย์หลังจากที่กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองนี้ได้สร้างพื้นที่ให้มีมากกว่าแค่ร้านกาแฟถ่ายรูปชิกๆ เก๋ๆ

มองหนังฮ่องกงผ่านเลนส์ผู้กำกับร่วมสมัย

เมื่อพูดถึงภาพจำที่มีต่อหนังฮ่องกงแนวกังฟูอย่าง ‘Ip Man’ หรือหนังโจรกรรมแอ็กชันอย่าง ‘Police Story’ ภาพจำในอดีตเหล่านี้หลายๆ ครั้งก็เป็นกับดักที่ทำให้ผู้ชมทั่วโลกมองไม่เห็นถึงความหลากหลายของหนังฮ่องกงเช่นกัน “ในช่วงยุค 80 – 90 ผู้สร้างหนังในฮ่องกงเปรียบเสมือนศิษย์พี่ศิษย์น้อง การสร้างผลงานจะออกมาคล้ายๆ กัน แต่ในสมัยใหม่ คนรุ่นใหม่มักสนใจการสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องรอบตัว ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่” Urban Creature คุยกับ ‘HO Miu-ki’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Love Lies และ ‘Nick CHEUK’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Time Still Turns the Pages สองผู้กำกับหนังฮ่องกงร่วมสมัยจากเทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 ถึงอุตสาหกรรมหนังฮ่องกงในยุคปัจจุบันว่ามีปัญหาอะไร การหาทุนทำหนังในประเทศมีมากพอหรือไม่ หรือมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างจากสมัยก่อน เทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์ ‘House Samyan’ (ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์) ติดตามข่าว […]

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

ยินดีต้อนรับสู่ดินแดน PiXXiE เมืองในฝันของเหล่า PiXXeL

คุยกับสามสาว @PiXXiE จาก @LIT Entertainment ถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงยุคสมัยของวงที่เดินทางควบคู่ไปกับอุตสาหกรรม T-Pop ในเมืองไทย จนมาบรรจบที่หมุดหมายสำคัญกับคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของพวกเธอ ‘PiXXiE Tales Concert : Welcome to PiXXiE Land’

คุยกับป๊าและม้าของน้อนปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูแห่งแม่กลอง

ถ้าพูดถึงมาสคอตประจำเมือง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเจ้าคุมะมง มาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม “คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปลื้มใจอยู่แล้ว เวลามีคนพูดถึงลูกเรา หรือเห็นบรรยากาศที่มีเด็กๆ คุณลุง คุณป้า อยากถ่ายรูปกับน้องปาป้า-ทูทู่ เราก็รู้สึกดีใจ” Urban Creature คุยกับ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อ-คุณแม่ของน้องปาป้า-ทูทู่ ที่ออกแบบจากการดึงเอาเอกลักษณ์ของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักน่าเอ็นดูเข้าไป จนกลายเป็นเอเลียนตัวสีฟ้าหน้ามู่ทู่ ใครที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสมุทรสงคราม แล้วได้เจอกับน้องปาป้า-ทูทู่ ก็สามารถแวะถ่ายรูปกับน้องปลาทูตัวนี้ได้นะ

ความเ-ี่ยนไม่เคยหายไป เสวนากับสองผู้กำกับ จาก ‘Doctor Climax ปุจฉาพาเสียว’

เรื่องเซ็กซ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป และการเข้าถึงเรื่องเพศก็ทำได้ง่ายขึ้น ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงสื่อ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการปรึกษาปัญหาเรื่องเพศ ที่เราสามารถหาคำตอบและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน “เซ็กซ์เป็นเรื่องส่วนตัวระดับปัจเจกบุคคลไปถึงครัวเรือน แต่ก็สามารถสะท้อนภาพของสังคมได้ด้วย” Urban Creature ชวนคุยประเด็น ‘เสว’ กับ ‘คงเดช จาตุรันต์รัศมี’ และ ‘ไพรัช คุ้มวัน’ สองผู้กำกับจากซีรีส์ ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการหยิบประเด็นเรื่องเพศอันแสนจัดจ้านที่ถกเถียงในสังคมไทยยุค 70 ที่แม้ว่าเรื่องราวในซีรีส์จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีบางอย่างที่ยังร่วมสมัยในสังคมยุคปัจจุบัน

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

ให้หนังสือทำมือมีซีนที่ SPACEBAR ZINE

การจะทำหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้รู้จักกับซีน (Zine) หนังสือทำมือที่เราสามารถ สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ตั้งแต่การคิดเนื้อหาจนถึงการออกแบบรูปเล่ม โดยไม่ยึดอยู่กับกรอบของการบรรณาธิกรหรือสำนักพิมพ์ใดๆ สำหรับใครที่อยากสะสมซีนหรือเรียนรู้การทำซีน Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักกับ Spacebar Zine ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระจาก Spacebar Design Studio โดย ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ พื้นที่ให้ทุกคนที่สนใจทำสิ่งพิมพ์ ของตัวเองเข้ามาพูดคุยหรือเลือกหาซีนที่ชอบได้อย่างอิสระ

แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit

จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.