‘ฟรีแลนซ์’ เทรนด์การทำงานยุคใหม่ของคนเมือง กับ Fastwork | Unlock the City EP.19

ค่านิยมการทำงานสมัยนี้ไม่ได้ผูกติดกับการทำงานในบริษัทใหญ่หรือทำราชการ มีสวัสดิการดีๆ เงินเดือนสูงๆ หรือการทำงานที่ใดที่หนึ่งเป็นสิบๆ ปีอีกต่อไปแล้ว  เห็นได้จากเทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ลาออกจากงานประจำแล้วผันตัวไปเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เผลอๆ บางคนยังไม่เคยเข้าระบบงานประจำในบริษัทตั้งแต่เรียนจบเลยด้วยซ้ำ อะไรที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ แล้วผู้เกี่ยวข้องอย่างผู้ประกอบการและเมืองควรปรับตัวอย่างไรถ้าในอนาคตคนเลือกที่จะเดินสายทำงานอิสระกันมากขึ้น ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองชวน ‘ซีเค เจิง’ ผู้บริหารแพลตฟอร์มรวมฟรีแลนซ์ Fastwork ที่ศึกษาเทรนด์การทำงานนี้อย่างยาวนาน มาพูดคุยกันถึงพัฒนาการของวิถีการทำงานในปัจจุบัน ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/PpxEzTroSvo Spotify : http://bit.ly/3Hr15eP Apple Podcasts : http://bit.ly/3Jsfk61 Podbean : http://bit.ly/3XXoSKK

สิ่งพิมพ์กับการอ่าน ความสร้างสรรค์ที่ทำให้เมืองมีชีวิต กับ PUBAT | Unlock the City EP.18

หนึ่งในตัวชี้วัดความน่าอยู่ของเมืองที่นิตยสารระดับโลก Monocle เคยนำมาใช้คือ ‘จำนวนร้านหนังสืออิสระในเมือง’ เนื่องจากตัวเลขเหล่านี้เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการอ่าน การเขียน และการพิมพ์ของชาติ  ยิ่งเมืองไหนเป็นเมืองหนังสือ มีนโยบายที่โอบอุ้มและซัปพอร์ตนักเขียน คนทำหนังสือ และนักอ่าน เมืองนั้นยิ่งมีเสน่ห์และอบอวลไปด้วยกลิ่นอายความคิดสร้างสรรค์ แถมวัฒนธรรมเหล่านี้ยังล้วนส่งผลดีทางอ้อมให้อุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างการท่องเที่ยว การศึกษา เศรษฐกิจ เป็นต้น  คำถามที่สำคัญคือ แล้วเมืองไทยอยู่ตรงไหนของพื้นที่สร้างสรรค์ส่วนนี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง กับ ‘อนรรฆ พิทักษ์ธานิน’ กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ชวนกันมาสนทนาถึงความเชื่อมโยงของการอ่านและการพัฒนาเมือง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/pDGfAHAY8d8 Spotify : http://bit.ly/3GNWIu8 Apple Podcasts : https://bit.ly/3WjvUHZ Podbean : https://bit.ly/3iKpPqb #UrbanCreature #UrbanCreaturePodcast #UnlocktheCity

คุยกับรองผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ถึงอนาคตเมืองปี 2566 กับ ศานนท์ หวังสร้างบุญ | Unlock the City EP.17

ปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีอะไรเปลี่ยนไปบ้างแล้ว และในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป  ปีใหม่คือช่วงเวลาที่หลายคนใช้ตั้งต้นในการทำอะไรใหม่ๆ รวมถึงใช้เป็นหลักไมล์สุดท้ายในการสรุปการเติบโตของตัวเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา รายการ Unlock the City จึงขอใช้โอกาสนี้ชวน ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ มาบอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองหลวงแห่งนี้ นับตั้งแต่วันที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ นำทีมคว้าชัยชนะแบบถล่มทลายในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว และจากประสบการณ์การทำงาน ลงพื้นที่ พูดคุยกับชาวเมืองในหลายภาคส่วน เขาในฐานะผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงเห็นอุปสรรคและโอกาสใดของเมืองนี้บ้าง แล้วแผนการในปี 2566 ที่อยากพากรุงเทพฯ ไปให้ถึงมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ติดตามฟังได้ที่เอพิโสดแรกของปีนี้เลย ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/JhQx6OVfqXM Spotify : https://bit.ly/3Zci64A Apple Podcasts : https://bit.ly/3vzO25B Podbean : https://bit.ly/3X0m0vA

Sustainable City เมื่อเทคโนโลยีล้ำๆ ไม่ได้ทำให้เมืองยั่งยืนเสมอไป กับ ภาคภูมิ โกเมศโสภา | Unlock the City EP.16

ต้องยั่งยืนขนาดไหน ถึงเรียกว่าเมืองยั่งยืน แล้วจำเป็นแค่ไหนกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อทำให้เกิด ‘ความยั่งยืน’ ท่ามกลางเทรนด์ความยั่งยืนที่ภาคธุรกิจยกขึ้นมาอวดอ้างสรรพคุณตัวเองกันอย่างกว้างขวาง ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีความกรีน การประหยัดพลังงาน การรักษ์โลกต่างๆ แท้จริงแล้วความยั่งยืนที่ว่านั้นคือความยั่งยืนจริงหรือไม่ แล้วถ้าเมืองจะมุ่งไปทิศทางเมืองยั่งยืน ต้องมีการวางแผน ออกแบบ และจัดการอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ความยั่งยืนกลายเป็นความฉาบฉวย ในช่วงส่งท้ายปี 2565 ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์แห่งรายการ Unlock the City ชวน ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน และผู้ร่วมก่อตั้งบริการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า Reviv มาสนทนาถึงความยั่งยืนในแง่การพัฒนาเมือง ความย้อนแย้งของประเด็นนี้ในโลกธุรกิจ และแนวทางการกลับไปสู่ความเรียบง่าย ที่ทำให้เมืองยั่งยืนได้จริง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงแต่ความล้ำของนวัตกรรมกับเทคโนโลยีอย่างเดียว ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/Y5_vjtXPpSg Spotify : https://bit.ly/3uP7sTr Apple Podcasts : https://bit.ly/3Wex3B1 Podbean : https://bit.ly/3FqUq3l

มองอนาคตเมืองด้วย Foresight ศาสตร์การคาดการณ์อนาคต กับ FutureTales LAB by MQDC | Unlock the City EP.15

อนาคตของเมืองไม่ใช่แค่การคาดเดา แต่คาดการณ์ได้จริงจากข้อมูลและเทรนด์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน Foresight หรือ การคาดการณ์อนาคต คือเครื่องมือที่ใช้ในการคาดการณ์และสร้างภาพอนาคตที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระยะกลางและระยะยาวในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และในประเด็นสำคัญ เช่น อนาคตสังคมผู้สูงอายุ อนาคตของการทำงาน อนาคตของวิกฤตสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบนโยบาย ผังเมือง และแผนการพัฒนาประเทศให้รองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำความรู้จักกับเจ้าเครื่องมือทำนายอนาคตเมืองให้มากขึ้น โฮสต์รายการ Unlock the City ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวนมาแอบส่องความเป็นไปได้ของเมืองที่เราอยู่อาศัยในเวลาอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้กับ ‘เนย-วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ’ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคตอาวุโส จาก FutureTales LAB by MQDC ในเอพิโสดนี้ ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/XV-3KQV2zZw Spotify : http://bit.ly/3GTUviw Apple Podcasts : http://bit.ly/3Fbl3dI Podbean : http://bit.ly/3FdARNf #UrbanCreature #UrbanCreaturePodcast #UnlocktheCity

Citizen Activist การพัฒนาเมืองด้วยประชากร กับอุ้ม Mayday | Unlock the City EP.14

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่คนรุ่นใหม่ตื่นตัวทางการเมืองและสนใจประเด็นทางสังคมกันอย่างเข้มข้น เกิดเป็นปรากฏการณ์ Citizen Activist ที่ผู้คนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนและทำงานในแนวทางที่ตนเชื่อ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เมือง จากกระแสสังคมนี้ก่อให้เกิด Advocacy Planner ผู้ทำหน้าที่ตรงกลาง เชื่อมต่อระหว่างภาครัฐกับเอกชนและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นสนับสนุนประชาชนในมิติต่างๆ เพื่อให้พวกเขามีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมือง คนทำงานส่วนนี้ถือว่าเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเมืองไม่น้อย เพราะหากรัฐมีหน้าที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การมีคนที่ช่วยเป็นปากเสียง ให้ความรู้ และลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อส่วนรวม เมืองก็จะไปต่อได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ต่อให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ล้วนแล้วแต่มีกลุ่มคนที่ทำงานด้านนี้กันทั้งนั้น เพื่อไขข้อสงสัยต่อบทบาทหน้าที่ของ Advocacy Planner ว่าพวกเขาทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เอารายได้มาจากไหน และการที่ประชาชนลุกขึ้นมาพัฒนาเมืองเอง ถือว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐหรือไม่ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จึงชวนสมาชิกกลุ่ม Mayday ที่ทำงานเรื่องขนส่งสาธารณะอย่าง ‘อุ้ม-วิภาวี กิตติเธียร’ มาให้คำตอบในเอพิโสดนี้

สื่อยังจำเป็นต่อชีวิตคนเมืองหรือไม่ กับนิ้วกลม | Unlock the City EP.13

มีคำกล่าวว่าใครๆ ก็เป็นสื่อได้แค่มีสมาร์ตโฟนอยู่ในมือ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราจะยังมีสื่อไปทำไม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สื่อได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเรื่อยๆ ตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ มาสู่เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ที่มีให้อ่าน ฟัง ดู ทั้งยังนำไปแชร์ต่อ รวมถึงแสดงความคิดเห็นได้ทันที ประชาชนไม่ได้มีบทบาทแค่รับสื่ออย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ถึงอย่างนั้น ต่อให้รูปแบบสื่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร ใจความหลักของมันคือการสื่อสารอยู่ดี ทว่าในสายธารแห่งสื่อนี้ ก็มีทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสมัยใหม่ที่หยิบยกเรื่องที่ตัวเองสนใจมานำเสนอได้ มิหนำซ้ำยังมีอิทธิพลต่อความคิดความเข้าใจของคนในสังคม ขณะเดียวกัน ทุกสื่อก็แข่งขันกันว่าใครจะนำเสนอข่าวได้รวดเร็วที่สุด จนหลายครั้งก็มีการบิดเบือนข้อมูล หรือสื่อสารผิดพลาด จนทำให้เกิดผลกระทบตามมา Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ จึงชวน ‘นิ้วกลม’ หรือ ‘เอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์’ มาสนทนาถึงการปรับตัวและความสำคัญของสื่อต่อจากอีพีที่แล้ว เพื่อทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมของการใช้สื่อนำความคิดเมืองมากขึ้น ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/xcaf823MCgU Spotify : https://tinyurl.com/4n8ksea3 Apple Podcasts : […]

อินฟลูเอนเซอร์ ต้นแบบชีวิตคนเมือง กับนิ้วกลม | Unlock the City EP.12

อินฟลูเอนเซอร์ นอกจากเป็นอาชีพใหม่ของยุคสมัยแล้ว ยังเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อคนในสังคม หลายๆ ครั้งจึงมักเกิดปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนเหล่านี้ส่งต่อแนวคิด ความเชื่อ หรือความเข้าใจ จนกลายเป็นเทรนด์ที่คนอื่นนำไปพูดคุยหรือทำตามต่อๆ กันเป็นวงกว้าง และในขณะเดียวกัน อินฟลูเอนเซอร์ที่มีความรู้เฉพาะทาง เป็นกูรูในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเมืองมากขึ้น อย่างเวลาจะซื้ออะไรก็ต้องเปิดเพจอินฟลูฯ คนนั้นเช็กก่อน หรือติดตามดูว่าอินฟลูฯ คนนั้นเขาใช้ของชิ้นไหน กินอะไร ใช้ชีวิตยังไง เพื่อนำไปทำตาม หวังมีชีวิตดีๆ เหมือนไอดอลผู้เป็นต้นแบบ ทว่าแท้จริงแล้วการมาของอินฟลูฯ มันเกี่ยวข้องหรือส่งผลต่อเมืองในภาพรวมอย่างไรบ้าง แล้วชีวิตของคนที่ยึดอาชีพนี้ต้องปรับหรือเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ ได้ชวนนักคิดนักเขียน ผู้เป็นอินฟลูฯ ด้านความคิดความเชื่อ ‘นิ้วกลม’ หรือ ‘เอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์’ มาพูดคุยถึงแง่มุมนี้ รวมถึงอนาคตและทิศทางของเมืองที่คนทั่วไปอาจเป็นอินฟลูฯ ได้อย่างไม่ยากเย็นอีกต่อไป. ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/yYAhSg_3i-E Spotify : https://spoti.fi/3MJPcTJ Apple Podcasts : https://apple.co/3VIeea2 […]

ดูแลต้นไม้ในเมืองให้ไม่เป็นปัญหาเมือง กับอาจารย์ฉัตรทิพย์ | Unlock the City EP.11

ใครๆ ก็ชอบพื้นที่สีเขียว เพราะทำให้สภาพแวดล้อมน่ามอง ผ่อนคลาย แถมยังช่วยให้อากาศดี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะปลูกต้นไม้ที่ไหนก็ได้ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ต้นไม้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเมือง แต่ไม่ใช่ว่าต้นไม้ทุกต้นจะมีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะถ้าคัดเลือกต้นไม้มาปลูกอย่างไม่เหมาะสม พื้นที่และคนเมืองอาจได้รับผลกระทบด้านลบมากกว่าด้านบวก อย่างต้นไม้ที่กิ่งมีลักษณะเปราะ หรือต้นไม้ที่มีผลเป็นฝัก มีโอกาสร่วงหล่นใส่รถยนต์หรือคนที่สัญจรไป-มา  Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวน ‘ฉัตรทิพย์ รอดทัศนา’ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องต้นไม้ในเมืองที่ต้องการการดูแลจัดการแตกต่างจากต้นไม้ในป่า อีกทั้งยังส่งผลต่อเมืองในหลายมิติชนิดที่หลายคนคาดไม่ถึง ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/R3JU3NXlUYU Spotify : https://spoti.fi/3EfVJDt Apple Podcasts : https://apple.co/3RwixBO Podbean : https://bit.ly/3EfmAiP #UrbanCreature #UrbanPodcast #UnlocktheCity #ต้นไม้ในเมือง

การจัดการขยะในเมือง กับ ก้อง Konggreengreen | Unlock the City EP.10

ขยะคือหนึ่งสาเหตุของน้ำท่วมเมือง  หลายคนน่าจะเห็นภาพฟูกที่นอน โซฟา และขยะชิ้นใหญ่เบิ้มที่ทางเจ้าหน้าที่เก็บกู้มาจากแหล่งน้ำ นอกจากความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ขยะพวกนี้ยังสร้างปัญหาอุดตัน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง แม้จะมีความพยายามในการผลักดันการจัดการขยะมาหลายยุคสมัย แต่ในเมืองที่มีปัญหาขยะเรื้อรังมาอย่างเนิ่นนาน ถึงขนาดมีรายงานว่าคนกรุงเทพฯ ทิ้งขยะเฉลี่ยแล้ว คนละ 2.2 กิโลกรัม/วัน ภาพรวมเรื่องนี้ก็ยังไม่ดีขึ้นนัก นั่นเพราะเรายังมีนโยบายการจัดเก็บและจัดการขยะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อยากลดการสร้างขยะก็ทำได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ชวน ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ก้องแห่ง Konggreengreen อินฟลูเอนเซอร์สายเขียว มาสนทนาถึงสถานการณ์การจัดการขยะในกรุงเทพฯ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้บ้านเราไม่สามารถจัดการขยะได้ดีแบบญี่ปุ่นหรือเยอรมนี วิธีการจัดการขยะแบบปัจเจกและสเกลเมืองควรเป็นแบบไหน ไปจนถึงการตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเหมาะกับการจัดการขยะแบบไหนกันแน่ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/3U2dBYQLeAU Spotify : https://spoti.fi/3qUXgXz Apple Podcasts : https://apple.co/3ShtnfO Podbean : https://bit.ly/3BXGhu4 #UrbanCreature#UrbanPodcast#UnlocktheCity

ความเสี่ยงและโรคภัย ที่มาพร้อมวิถีชีวิตคนเมือง กับหมอภัทรภณ | Unlock the City EP.09

ไทยคือหนึ่งในประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตในช่วงวัย 30 – 60 ปี หรือที่เรียกว่า ‘ตายก่อนวัยอันควร’ ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น เราสามารถออกแบบนโยบายสุขภาพหรือแม้กระทั่งออกแบบผังเมือง เพื่อป้องกันการเกิดโรคในคนกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อแก่ตัวไป พวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่เจ็บป่วย ช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและเมือง Unlock the City เอพิโสดนี้ ชวนฟังบทสนทนาของ ‘ภัทรภณ อติเมธิน’ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ที่มาแลกเปลี่ยนถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเมือง ที่นับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และทวีความรุนแรง เนื่องจากวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้แข่งขัน ภายใต้ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทุ่นแรง ซึ่งอีกแง่หนึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ ‘เนือยนิ่ง’ ในหมู่คนรุ่นใหม่ ยังไม่นับเปอร์เซ็นต์ของโรคติดต่อ-โรคไม่ติดต่อ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามกลุ่มการพัฒนาของประเทศทั่วโลก เพราะหากลงลึกถึงปัญหาจริงๆ แล้ว โครงสร้างพื้นฐาน อาหารการกิน การคมนาคมขนส่ง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ ไม่มากก็น้อย ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/zXOicJq9-5Q Spotify : https://spoti.fi/3qg5kSi Apple Podcasts : […]

สัตว์เลี้ยงกับนโยบายเมืองที่ต้องปรับตัว กับ จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ | Unlock the City EP.08

หมาแมวไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหมาแมวจรจัดที่เป็นปัญหาเรื้อรังของเมือง เรื่องสัตว์ในเมืองไม่ใช่หัวข้อใหม่ในสังคม แต่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้น ยิ่งในยุคที่คนฮิตเลี้ยงสัตว์เสมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงสัตว์ตามกระแสนิยมแล้วปล่อยสัตว์ที่เลี้ยงให้เร่ร่อน เพิ่มปริมาณสัตว์จรจนกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มพูน  แต่เมื่อรัฐได้พยายามกำหนดนโยบาย และออกกฎการควบคุมสัตว์เลี้ยงกับสัตว์จรขึ้นมา ก็มักตามมาด้วยดราม่าใหญ่โตทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยง หรือกระทั่งวิธีการควบคุมปริมาณสัตว์จรด้วยการฉีดยาให้หลับ ยังไม่นับรวมความเข้มข้นของกฎหมายคุ้มครองสัตว์ และการนำสัตว์มาใช้ประโยชน์ ที่ประชาชนมักหยิบมาถกเถียงกันให้เห็นเนืองๆ ชวนทำความเข้าใจกับ ‘จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์’ อาจารย์สัตวแพทย์ประจำคลินิกพฤติกรรมสุนัขและแมว โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเป็นไปของปัญหานี้ที่ไม่เคยแก้ไขได้ในบ้านเรา ไปจนถึงการออกแบบเมืองกับนโยบายเกี่ยวกับการจัดการควบคุมสัตว์ที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเมือง ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://bit.ly/3PN7rHQ Spotify : https://spoti.fi/3R2EcCp Apple Podcasts : https://apple.co/3KiDXR5 Podbean : https://bit.ly/3PJQ6PN

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.