
Urban Guide
เรื่องราวกิจการที่น่าสนใจและปักหมุดสถานที่น่าไปประจำย่าน
ชวนเดินลัดตรอกเลาะซอยกับสถานที่ใหม่น่าตามไปเช็กอิน ในย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ ฉบับอัปเดต
สุดสัปดาห์นี้ลองชวนคนที่รักไปเดินเล่นที่ย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ กัน เจริญกรุง-บางรัก ในความทรงจำของหลายคนคงจะมีสถานที่หรือร้านรวงเก่าแก่ ไอคอนิกประจำย่านที่ไม่ว่าใครมีโอกาสไปเยือนแถวนั้นก็ต้องแวะเช็กอินกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC’ พื้นที่แห่งงานสร้างสรรค์และคลังความรู้คู่เจริญกรุง, ‘โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา’ โรงฉายหนังเก่าแก่ที่ผลัดเปลี่ยนเป็นโรงแรมใจกลางย่าน, ‘ประจักษ์เป็ดย่าง’ ร้านบะหมี่เป็ดเก่าแก่กว่า 100 ปี หรือร้าน ‘น้ำขม โหมงหวอ’ ที่จำหน่ายน้ำสมุนไพรโบราณในบางรักร่วม 80 ปี แต่หลังจากที่เราได้ลองกลับไปเดินเล่นในย่านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าปัจจุบันย่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในอดีต หรือที่ตั้งของเหล่าร้านรวงเก่าแก่ที่เป็นตำนานอีกต่อไป แต่เริ่มมีธุรกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของย่าน และกระจายตัวกันอยู่ตามตรอกซอกซอยมากขึ้น ครั้งนี้คอลัมน์ Urban Guide ขอแวะมาอัปเดตสถานที่ใหม่น่าแวะในย่านเจริญกรุง-บางรัก ที่จะทำให้การเดินเที่ยวเล่นในย่านนี้สนุกและแตกต่างไปจากเดิม เตรียมจดพิกัดและไปเดินด้วยกันได้เลย! 01 | Central Department Store Bangrak เริ่มต้นเดินกันจาก BTS สถานีสะพานตากสิน จะพบกับสถานที่แรกที่พลิกโฉมด้วยการอาบน้ำแต่งตัวใหม่ เปลี่ยนจาก ‘โรบินสัน บางรัก’ เป็น ‘เซ็นทรัล บางรัก’ ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเดียวบนถนนเจริญกรุง ด้วยเหตุผลที่ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและสดใสขึ้นตามยุคปัจจุบัน รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ภายในห้างฯ […]
Flowerrarium ร้านจัดดอกไม้และสวนขวดย่านเมืองเก่าของอดีตผู้แทนยาที่อยากให้ทุกคนมอบดอกไม้แก่กันได้โดยไม่ต้องรอโอกาสพิเศษ
จำได้ไหมว่าได้รับดอกไม้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาเห็นใครสักคนถือช่อดอกไม้ หรือเดินผ่านร้านดอกไม้ ก็มักจะชวนให้นึกถึงโอกาสพิเศษอย่างวันเกิด วาเลนไทน์ คริสต์มาส หรือวันครบรอบ แถมยังต้องเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษพอจะมอบดอกไม้ให้กันอีกด้วย แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วโอกาสในการให้ดอกไม้ไม่จำเป็นต้องจำกัดไว้เพียงแค่วันบางวันหรือบางช่วงเวลา แต่เราให้ดอกไม้กันได้ทุกวัน เพราะมันเป็นของที่เพียงได้รับก็รู้สึกดีแล้ว หรือการให้ดอกไม้ขอบคุณตัวเองที่ผ่านวันทั้งดีและแย่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร พอพูดถึงเรื่องดอกไม้ คอลัมน์ Urban Guide เลยขอพาไปรู้จักกับ ‘เยีย-อารยา ภู่ผึ้ง’ เจ้าของ Flowerrarium ร้านต้นไม้-ดอกไม้ใจกลางย่านเมืองเก่าอย่างชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เขตการค้าเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่เพิ่งรีโนเวตใหม่ให้กลายเป็นตึกสีขาวเหลืองตัดสีเขียวสวยเด่น เราเดินเข้าไปในชุมชนเลื่อนฤทธิ์จนสุดซอย ก่อนเจอเข้ากับเหล่าต้นไม้ ดอกไม้ วางประดับสวยงามอยู่หน้าร้าน พร้อมป้ายสีเขียวเข้มของร้านดูสบายตา สดชื่น ต้อนรับวันใหม่ จากผู้แทนยาสู่เจ้าของร้านดอกไม้ “เยียทำงานเป็นผู้แทนยามาสิบกว่าปี จนรู้สึกว่าถึงจุดอิ่มตัว เลยเริ่มมองหาแพสชันใหม่ๆ ลองเวิร์กช็อปไปเรื่อยๆ จนได้มาเจอว่าเราชอบดอกไม้กับสวนขวด รวมถึงตัวเราที่ชื่อเยียก็มาจากดอกเยียบีรา พี่สาวเป็นคนตั้งให้ ก็เลยเริ่มศึกษาเรื่องดอกไม้มาเรื่อยๆ” หลังส่งตัวเองศึกษาการจัดต้นไม้-ดอกไม้มาสักพัก ก็ถึงเวลาเปิดร้านที่เยียใช้คำว่า เปิดขึ้นได้ด้วย ‘จังหวะ’ จังหวะที่อยากจัดดอกไม้ จังหวะที่บังเอิญมาเจอชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จังหวะที่ชอบตึกเก่าในย่านสงบ และจังหวะที่อยากให้คนได้รับดอกไม้ที่ตรงใจ ตลอดช่วงเวลา 6 เดือนที่เยียเปิดร้านนี้ขึ้นมา เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในความสนใจเรื่องดอกไม้ของคนไทย […]
รวมธุรกิจแบบจีนๆ ในย่านตลาดน้อยที่รวมอายุได้กว่า 500 ปี ส่วนผสมไทย-จีน ที่จะทำให้เข้าใจธุรกิจของครอบครัวจีนมากขึ้น
แม้จะมาช้าไปสักหน่อย แต่ช่วงตรุษจีนแบบนี้ นอกจากจะร้อง ‘ต้าชั่วเท่อชั่ว ปู๋ย่าวหลาย อู๋หลู่หว่อเตอเหม่ย’ กันแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คน โดยเฉพาะลูกหลานเชื้อสายจีนก็คงนึกถึงโปรดักต์ อาหาร หรือสิ่งละอันพันละน้อยที่บ่งบอกถึงความเป็นจีนขึ้นมา ในฐานะที่เราก็เป็นลูกหลานคนจีนคนหนึ่ง จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 4 ธุรกิจของชาวจีนในย่านตลาดน้อยที่อยู่กันมากว่าศตวรรษ รวมถึง 1 พิพิธภัณฑ์ และ 1 ธุรกิจบ้านใกล้เรือนเคียงที่กำลังจัดนิทรรศการอยู่ใกล้ๆ เพื่อฉายภาพให้เห็นว่าในวันที่ย่านนี้กลายเป็นย่านสุดฮิตที่นักท่องเที่ยวแวะมาเที่ยว มาถ่ายรูป ภายในย่านเองยังมีธุรกิจที่พยายามปรับตัวและดำเนินมาอย่างยาวนานรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งด้วย ร้านขายยาเอี๊ยะแซ | อนามัยประจำย่าน ต้นตำรับยาดมกระปุกพกมือ ถ้าตั้งต้นจาก MRT สถานีหัวลำโพง ‘ร้านขายยาเอี๊ยะแซ’ คือร้านแรกในย่านตลาดน้อยที่เราจะพาไปเยี่ยมเยียนวันนี้ บอกเลยว่าแค่เดินเข้าไปใกล้ๆ ก็ได้กลิ่นสมุนไพรจีนชวนให้รู้สึกผ่อนคลายแล้ว “สมัยก่อนตรงนี้เป็นชุมชนจีน ร้านสมุนไพรจีนเลยเป็นเหมือนอนามัยของชุมชน เป็นที่พึ่งของชุมชน มีอะไรเขาจะวิ่งหา” ‘แตงโม-นพรัตน์ เฉลิมชัยกิจ’ ทายาทรุ่นที่ 4 ของตระกูลเฉลิมชัยกิจ และรุ่นที่ 3 ของร้านขายยาเอี๊ยะแซบอกกับเรา ที่ตัวเลขไม่ตรงกันแบบนี้ นพรัตน์บอกกับเราว่า เพราะในความเป็นจริงก่อนจะมาเป็นร้านขายยาเอี๊ยะแซในย่านตลาดน้อยแบบปัจจุบัน ร้านยาแรกของเหล่ากงตั้งอยู่ที่ชลบุรี ชื่อว่า ‘เอี๊ยะซิ่ว’ ส่วนเอี๊ยะแซตั้งต้นจากอากงเห็นทำเลตรงนี้ […]
พาเหล่านักอ่านเช็กอิน 12 ห้องสมุดในกรุงเทพฯ บรรยากาศดี เดินทางง่าย ฟังก์ชันครบ ตั้งอยู่ในย่านที่ไปเดินเล่นต่อได้
ใครที่กำลังหากิจกรรมสักอย่างทำเพื่อพักผ่อนกายคลายความเครียดในวันที่ยังมีบรรยากาศดีๆ แบบนี้อยู่ การได้อ่านหนังสือในสักมุมหนึ่งของเมืองก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะทุกวันนี้ห้องสมุดหลายแห่งในกรุงเทพฯ เป็น ‘ห้องสมุดที่มากกว่าห้องสมุด’ เพราะห้องสมุดในยุคนี้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การใช้งานห้องสมุดง่ายขึ้น มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้ใช้ ตอบโจทย์คนทำงาน Work from Anywhere ในยุคนี้อย่างมาก และในหลายๆ ห้องสมุดก็มีพื้นที่น่าสนใจที่ไม่ใช่แค่มุมหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เล่นบอร์ดเกม พื้นที่ฉายภาพยนตร์ หรือพื้นที่สำหรับเด็ก เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย และพาตัวเองเดินเข้าไปในพื้นที่สงบๆ และอบอุ่นสักแห่งเพื่อเติมพลัง วันนี้คอลัมน์ Urban Guide เลยขอมาปักหมุดพิกัด 12 ห้องสมุด พาทุกคนไปเปิดประตูเช็กอินห้องสมุดในกรุงเทพฯ ฉบับอัปเดตล่าสุด ให้ทุกคนได้เจอมุมอ่านที่ชอบ หนังสือเล่มที่ใช่กัน 01 | ห้องสมุดมารวย ‘ห้องสมุดมารวย’ ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านการตลาดและการลงทุนแบบครบวงจร และได้ชื่อว่าเป็นห้องสมุดตลาดทุนที่ครบวงจรที่แรกในประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีการเพิ่มหนังสือประเภทต่างๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับนักอ่านทุกเพศทุกวัย ภายใต้คอนเซปต์ ‘ห้องสมุดมีชีวิต’ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่หนังสือเล่มให้อ่านเท่านั้น แต่ยังมีสื่อดิจิทัลต่างๆ สำหรับข้อมูลด้านการลงทุน เพื่อบริการให้ผู้ใช้งานเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย พื้นที่ห้องสมุดแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับนั่งอ่านหนังสือ นั่งทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถใช้เสียงได้ ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่อ่านหนังสือสำหรับผู้ที่ต้องการความเงียบสงบและความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีบริการอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ […]
จากบ้านเก่าอายุกว่า 150 ปี สู่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่มีหุ้นส่วนกว่า 500 ชีวิต
โรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นการตกแต่งและการบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีก แต่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่จังหวัดจันทบุรี ขอเลือกคิดต่างออกไป เพราะนอกจากทำเลจะโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศดีๆ อยู่ติดริมแม่น้ำ มีห้องพักที่สะดวกสบายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เข้าพักได้ศึกษาและทำความรู้จักจันทบุรี รวมถึงพื้นที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรให้มากขึ้นอีกด้วย มากไปกว่านั้น ลูกค้าเองยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาชุมชนผ่านการเข้าพักได้อีก ที่พักในจันทบุรีแห่งนี้แตกต่างจากที่พักอื่นๆ อย่างไร คอลัมน์ Urban Guide จะขอพาไปสำรวจกันถึงเมืองจันท์ บ้านพักประวัติศาสตร์ที่เก็บเรื่องราวของเมืองเอาไว้ที่ล็อบบี้โรงแรม หากมองผ่านๆ โรงแรมแห่งนี้อาจดูเหมือนบ้านเก่าทั่วไปในชุมชน แค่อาจจะดูใหญ่โตกว่าบ้านหลังอื่นเล็กน้อย แต่หากสังเกตให้ดี ล็อบบี้โรงแรมแห่งนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมๆ ที่เชิญชวนให้เราก้าวเท้าเข้าไปดูว่าสิ่งที่จัดแสดงอยู่นั้นมีอะไรบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เราได้เห็นผ่านสิ่งของต่างๆ ล้วนแล้วแต่บรรจุความเป็นมาของจังหวัด และการดำเนินชีวิตของผู้คนสมัยก่อนในแถบนี้ ด้วยความที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นย่านเก่าแก่ของจังหวัด รวมถึงเคยเป็นเมืองท่าค้าขายในสมัยก่อน จึงมีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และสามารถรวบรวมมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชม “หลวงราชไมตรีเป็นคนแรกที่บุกเบิกเรื่องของการทำสวนยางพารา เนื่องจากท่านเคยไปเรียนหนังสืออยู่ที่ปีนัง แล้วพอกลับมาอยู่ที่บ้าน ท่านเห็นว่าสภาพอากาศของที่จันทบุรีไม่ได้ต่างอะไรกับมาเลเซียเลย ท่านก็เลยสั่งพันธุ์ยางเข้ามาทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ และกลายเป็นอาชีพเสริมของคนจันท์ เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก แล้วนอกจากทำสวนยาง ท่านก็เป็นพ่อค้าพลอยด้วย” ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เล่าให้เราฟังถึง ‘หลวงราชไมตรี’ ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ และสร้างคุณูปการให้กับชาวจันทบุรีเป็นอย่างมาก ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้มีเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนในชุมชนตั้งใจเก็บรักษาความสวยงามนี้เอาไว้ จนกลายมาเป็น […]
‘ร้านหนังสือริมขอบฟ้า’ กับบ้านหลังใหม่ในย่านบางพลัด ที่พร้อมเปิดรับคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจเรื่องเมืองไทยมากขึ้น
“กำลังหาหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยเหรอ ไปร้านหนังสือริมขอบฟ้าสิ” คำบอกเล่าแบบปากต่อปากของเหล่าหนอนหนังสือ ทำให้ร้านหนังสือเล็กๆ ชั้นเดียวบนหัวมุมถนนดินสอ วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลายเป็นร้านหนังสืออิสระชื่อแรกที่ปรากฏขึ้นมาเสมอเมื่อมีคีย์เวิร์ดคำว่า ‘หนังสือ’ และ ‘ประเทศไทย’ แม้ปัจจุบันร้านหนังสือริมขอบฟ้าจะย้ายตัวเองเข้าสู่บ้านหลังใหม่ในย่านบางพลัด ก็ไม่ได้ทำให้ร้านหนังสืออิสระแห่งนี้ซบเซาลงแต่อย่างใด กลับเนืองแน่นไปด้วยผู้คน ทั้งที่สนใจเรื่องประเทศไทย และกลุ่มคนใหม่ๆ ที่ถูกดึงดูดด้วยความน่าสนใจของตัวร้าน ว่าแต่ร้านหนังสืออิสระที่ขายหนังสือเฉพาะทางที่มีลูกค้าเฉพาะกลุ่มแบบนี้สามารถดำรงอยู่มาจนถึงปีที่ 21 ได้อย่างไร วันนี้คอลัมน์ Urban Guide พามาบุกบ้านหลังใหม่ พร้อมพูดคุยกับ ‘จำนงค์ ศรีนวล’ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด ที่ควบตำแหน่งผู้ดูแลร้านหนังสือริมขอบฟ้า สำนักพิมพ์เมืองโบราณ และนิตยสารสารคดี ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น “ริมขอบฟ้าที่ซึ่งฟ้าบรรจบดินเส้นที่ไม่มีอยู่จริงแต่มองเห็นได้พ่อบอกลูกให้มองออกไปไกลไกลมองไปที่ริมขอบฟ้าสู่ความฝันและจินตนาการของมนุษย์” คำกล่าวจาก บันทึกความคิด ของ ‘เล็ก วิริยะพันธุ์’ ผู้ก่อตั้งเมืองโบราณและเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษางานด้านปรัชญา ที่ควบตำแหน่งคุณตาอันเป็นที่รักของหลานผู้ก่อตั้งร้านหนังสือ ‘กันธร วิริยะพันธุ์’ คือที่มาของชื่อ ‘ร้านหนังสือริมขอบฟ้า’ จุดหมายปลายทางของคนรักหนังสือ ปัจจุบันร้านได้โยกย้ายมาอยู่บ้านหลังใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมบนถนนจรัญสนิทวงศ์ ย่านบางพลัด ซึ่งห่างจาก MRT สถานีสิรินธร ทางออก 3 มาไม่ไกล “แต่เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นอาคารที่ทำการเก่าของบริษัท […]
โรงแรมรักษ์โลกใกล้กรุงเทพฯ ‘neera retreat hotel’ ที่อยากให้คนปลีกวิเวกจากความวุ่นวายมาพักกายพักใจริมแม่น้ำท่าจีน
คนทำงานในเมืองมักมีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา บางทีความเหนื่อยล้าจากการทำงานก็ทำให้คนอยากหาเวลาอยู่กับตัวเอง และเริ่มมองหาที่พักผ่อนบรรยากาศดีๆ ที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก โรงแรมรีทรีต ‘neera retreat hotel’ ดูจะตอบโจทย์คนทำงานที่กำลังหาเวลามาพักผ่อนเงียบๆ คนเดียว เพราะดีไซน์ของโรงแรมแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน จากบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวสุดร่มรื่น มองเห็นกระแสน้ำของแม่น้ำท่าจีน มีสายลมเย็นๆ พัดผ่าน ชวนคนให้หยุดตัวเองจากความเร่งรีบและหันหน้าเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น และนอกจากจะเป็นโรงแรมที่ชวนพักผ่อนแล้ว ที่นี่ยังเป็นโรงแรมรักษ์โลกที่สร้างประโยชน์ให้สิ่งแวดล้อมด้วย คอลัมน์ Urban Guide ขอพาไปทำความรู้จักกับ neera retreat hotel พร้อมพูดคุยกับเหล่าผู้ก่อตั้ง ‘ซอย-วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์’, ‘ซาน-วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์’ และ ‘ซาว-ศิษฎ์ศิริ วิทยฐานกรณ์’ สามพี่น้องครอบครัว ‘วิทยฐานกรณ์’ ถึงแนวคิดการสร้างโรงแรมรีทรีตสีเขียว ที่จะทำให้ผู้มาเยือนรักษ์โลกและเข้าใจตัวเองมากขึ้น แนวคิดที่อยากริเริ่มโรงแรมรักษ์โลก ด้วยความที่โรงแรมตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐมที่อยู่ติดกับเมืองกรุงเทพฯ ใช้เวลาขับรถเพียงชั่วโมงนิดๆ ก็ถึงที่หมาย ทำให้ที่นี่เหมาะกับการเป็นพื้นที่พักใจในวันหยุดสุดสัปดาห์ของคนเมืองที่มีเวลาพักน้อยนิดและไม่อยากเดินทางไกล และเมื่อเดินเข้ามาเรื่อยๆ ในโรงแรม พบกับจุดนำสายตาที่มองเห็นวิวแม่น้ำท่าจีนและธรรมชาติที่อยู่รอบๆ โรงแรม ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายราวกับได้ถอดปลั๊กออกจากความวุ่นวาย ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้เพราะความตั้งใจของสามผู้ก่อตั้งที่อยากให้ผู้เข้าพักทุกคนได้รับสิ่งนี้เป็นสิ่งแรกจากที่นี่ เพราะพวกเขา ได้แก่ ซอย พี่สาวคนโตที่มีประสบการณ์ด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซาน พี่ชายคนกลาง […]
Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่
ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]
Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน
ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]
ชวนมาอยู่ด้วยกัน ที่ “Noble Neighbor” กรุงเทพกรีฑา คอมมูนิตี้ใหม่ครบทั้ง work – life – nature
กรุงเทพฯ มีการขยายตัวของเมืองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่การพัฒนาฝั่งตะวันออก ทำให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีส้ม รวมไปถึงธุรกิจต่างๆ ที่เริ่มขยับขยายมาเปิดตัวในโซนนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยการเดินทางที่สะดวกสบาย เข้าสู่ใจกลางเมืองได้หลากหลายวิธี ทำให้ในอนาคตอันใกล้นี้ ย่านกรุงเทพกรีฑาอาจเป็นพื้นที่ในการใช้ชีวิตแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ก็เป็นได้ เตรียมมาเป็นชาว Nobler ด้วยกันในย่านกรุงเทพกรีฑา กับสองโครงการแรก อย่าง ‘Noble Norse’ และ ‘Nue Verse’ โครงการที่ออกแบบที่อยู่อาศัยตอบโจทย์กับกลุ่ม ‘Affordable Millennials’ ผู้มีไลฟ์สไตล์ชัดเจน และกำลังมองหาการลงทุนระยะยาวอย่างบ้านหลังแรกที่สามารถรองรับการใช้ชีวิตได้ตามที่ต้องการ กรุงเทพกรีฑา ย่านที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต เมื่อการขยายตัวของเมืองเริ่มเข้าสู่โซนตะวันออก การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยในย่านที่กำลังจะเติบโตอย่างกรุงเทพกรีฑาจึงเป็นการวางแผนอนาคตอย่างหนึ่ง ด้วยทำเลที่อยู่ติดกับถนนกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ จุดเด่นที่สังเกตได้ชัดเจนคือ โครงการหมู่บ้านระดับ Luxury จากผู้ประกอบการรายใหญ่มากมาย ถนนใหญ่ 8 เลน และทางด่วนที่พาเข้าเมืองได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงการมาของ Community ที่ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว และโรงเรียนนานาชาติชื่อดังที่ฮิตในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คอมมูนิตี้ใหม่อย่าง Noble Neighbor นั้นตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยในย่านนี้เป็นอย่างมาก มากไปกว่านั้น คอมมูนิตี้ Noble Neighbor ยังรายล้อมไปด้วยสถานที่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนนานาชาติ […]
‘One Bangkok’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ใจกลางเมืองที่พร้อมจะเป็นเมืองกลางใจของทุกคน
พื้นที่ใจกลางเมืองถือได้ว่าเป็นทำเลที่มีความหมายสำหรับคนเมือง ทั้งเป็นแหล่งทำงาน พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การเป็นจุดเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ถึงกัน และหากพูดถึงบริเวณใจกลางเมืองในกรุงเทพฯ คำตอบที่ได้จากหลากหลายคนก็คงแตกต่างกันไป แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราเชื่อว่าคำตอบเรื่องใจกลางเมืองที่อยู่ในใจของทุกคนจะเป็น ‘One Bangkok’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แน่นอน เพราะ One Bangkok นั้นนอกจากจะตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านพระราม 4 แล้ว แนวคิดหลักของโครงการไม่ได้มองถึงแค่การสร้างเมืองอย่างเดียว แต่โครงการนี้ตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยและการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างจนไม่อาจหาที่ไหนได้ นอกจากที่ One Bangkok เท่านั้น คอลัมน์ Urban Guide พาไปรู้จักและสำรวจกันว่า ทำไม One Bangkok ถึงจะเป็นใจกลางเมืองแห่งใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ จนกลายเป็นคำตอบที่อยู่กลางใจของชาวเมืองทุกคน One Bangkok แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ‘One Bangkok’ คือโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 4 และ ถนนวิทยุซึ่งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มีการเดินทางสะดวกสบาย ง่ายทั้งขนส่งสาธารณะหรือแม้แต่การขับรถส่วนตัว คอนเซปต์ของ One Bangkok คือการสร้างเมืองสำหรับทุกคน เพื่อให้เมืองแห่งนี้เป็น ‘The Heart […]
Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง
ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]