เปิดข้อมูลสำรวจลานกีฬาทั่วกรุงเทพฯ อยากให้คนเมืองแข็งแรง แต่กลับไม่มีพื้นที่ให้ออกกำลังกาย

‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ’ หลายคนคงเผลอร้อง ‘ฮ้าไฮ้ ฮ้าไฮ้’ ตามหลังเสมือนกำลังอยู่ในช่วงกีฬาสีวัยเด็ก โดยเพลง ‘กราวกีฬา’ ได้แต่งขึ้นมากว่า 100 ปี เป็นหลักฐานที่ว่าประเทศไทยมีการส่งเสริมชาวสยามให้เล่นกีฬาออกกำลังกายมาอย่างยาวนาน สอดคล้องกับสำนวนโบราณแสนเชยที่เราฟังจนเอียนหู ‘การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ’ ฟังดูแล้วเหมือนจุดเริ่มของการลดโรคคือ ‘การออกกำลังกาย’ แต่การตามหาพื้นที่เล่นกีฬาในเมืองหลวงที่มีขอบเขตแสนจำกัดย่อมเป็นเรื่องที่ต้องพยายาม อย่างไรก็ตาม เรายังมี ‘ลานกีฬา’ พื้นที่สำหรับออกกำลังกายเพื่อสนับสนุนชาวเมืองให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยกระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ กว่า 1,126 แห่ง จุดประสงค์ของลานกีฬาคือ การอำนวยพื้นที่ในการออกกำลังกายให้ผู้รักสุขภาพ แต่ชาวกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งกลับส่ายหัว ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพื้นที่เหล่านี้อยู่ตรงไหน และเลือกที่จะยอมเสียเงินรายชั่วโมงเช่าสนามหรือคอร์ตแทน อีกทั้งในบางลานกีฬาคนทั่วไปกลับไม่สามารถเข้าถึงได้หรือมีเงื่อนไขเฉพาะตัว โดยใน ‘เมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ กลับมีลานกีฬาสาธารณะเพียง 107 แห่งเท่านั้น สถานที่ตั้งลานกีฬาที่บางคนหาไม่เจอ เริ่มจากเรามาดูกันว่าลานกีฬาในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในสถานที่ไหนบ้าง สิริรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,126 แห่ง แบ่งเป็น 1) สถานศึกษา 419 แห่ง (37.21%)2) ลานกีฬาชุมชน 324 แห่ง […]

‘ทุก 4 ชั่วโมง มีคน 1 คนกำลังหายออกจากบ้าน’ สถิติคนหายกำลังบอกอะไรกับเรา

“ทุกสี่ชั่วโมง มีคนหนึ่งคนกำลังหายออกจากบ้าน” คำพูดสั้นๆ นี้คือสิ่งที่ ‘เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข’ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา หนึ่งในสปีกเกอร์ของงาน dataCon 2024 บอกกับเราระหว่างช่วง Talk ในหัวข้อ ‘ข้อมูลคนหาย อะไรอีกที่หายนอกจากคน’ เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มูลนิธิกระจกเงามีบทบาทสำคัญในการตามหาคนหาย ที่นอกจากจะพบคนหาย ยังทำให้พบ ‘ความจริง’ บางอย่างที่สะท้อนเบื้องหลังสังคมไทย เมื่อพูดถึงคนหาย สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นกระบวนการค้ามนุษย์หรือการลักพาตัว แต่หลังจากเอกลักษณ์ก่อตั้งโครงการนี้และย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำให้พบว่าการหายตัวของบุคคลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย โดยระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างปี 2563 – 2567 พบว่า 5 อันดับสาเหตุการหายของคนไทยนั้น อันดับหนึ่งคือ การสมัครใจหนีออกจากบ้านด้วยตนเอง จำนวน 2,458 ราย และอันดับสองคือ จิตเวช จำนวน 1,933 ราย ตามมาด้วยสาเหตุ ขาดการติดต่อ 1,802 ราย, โรคสมองเสื่อม 634 […]

เปิดตัวเลขการถ่ายหนัง ปี 2566 ในไทย จุดหมายของกองถ่ายทั่วโลก

จะว่าไปประเทศไทยของเรานั้นเนื้อหอมไม่เบา เพราะแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนติดโผเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยียนมากที่สุดอยู่ตลอด ต้องขอบคุณอาหารแสนอร่อยและสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลากหลายที่มัดใจนักท่องเที่ยวรอบโลกไว้อยู่หมัด แต่ใช่ว่าประเทศไทยจะดึงดูดแต่นักท่องเที่ยว เพราะกองถ่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ มิวสิกวิดีโอจากนานาประเทศก็เลือกประเทศไทยเป็นหมุดหมายของการถ่ายทำ ยกตัวอย่าง ซีรีส์ King the Land จากเกาหลีใต้ที่พาเที่ยวกรุงเทพฯ แบบจัดเต็ม ซีรีส์สายลับ The Sympathizer ที่เนรมิตเมืองหาดใหญ่เป็นไซ่ง่อนยุคสงครามเย็น หรือที่ผ่านไปไม่นานกับมิวสิกวิดีโอ Supernova สุดปั่นจากสี่สาว aespa ที่ยกกองมาขายขำกันถึงเมืองไทย คอลัมน์ City by Numbers วันนี้เลยชวนมาดูสถิติกันหน่อยว่า ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยดึงดูดกองถ่ายจากต่างประเทศได้มากแค่ไหน โดยอ้างอิงจากสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2566 จากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ (TFO Thailand Film Office) งบลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยทุบสถิติ จากสถิติปีที่ผ่านมา มีกองถ่ายภาพยนตร์เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยจำนวนกว่า 466 เรื่อง มีงบประมาณลงทุนสูงกว่า 6,602 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย โดย 5 ประเทศที่ลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยสูงที่สุดคือ 1) สหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนถ่ายทำกว่า 3,184 ล้านบาท2) […]

กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

3 เมืองในไทยครองแชมป์ หมุดหมายที่นักท่องเที่ยวหนาแน่นที่สุดในโลก

ปัจจุบันการที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนจำนวนมาก อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป  เพราะถ้าเลือกได้ หลายคนก็คงอยากไปสถานที่สวยๆ ที่มีความเป็นส่วนตัวขึ้นมาหน่อย จะได้ไม่ต้องไปเบียดกับฝูงชนจำนวนมาก และมีมุมถ่ายรูปสุดเอ็กซ์คลูซีฟไว้ลงโซเชียลมีเดียของตัวเอง แม้ว่าในเชิงเศรษฐกิจ การมีจำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมหาศาล อาจเท่ากับว่าพวกเขากำลังนำเม็ดเงินจำนวนมากมาสู่ประเทศเราด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเรามองดูในมิติอื่นๆ การเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปจนล้นเมืองหรือที่เรียกว่า ‘Overtourism’ อาจทำให้จุดหมายปลายทางยอดนิยมเหล่านั้นได้ไม่คุ้มเสีย ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘ประเทศไทย’ ของเราเอง นักท่องเที่ยวมากอาจไม่ใช่เรื่องดี ในอดีตการที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมาก อาจเป็นการการันตีว่าประเทศเหล่านั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม อันนำมาซึ่งรายได้ที่เติบโตตาม แต่การที่นักท่องเที่ยวเหล่านั้นมีมากจนเกินกว่าจะควบคุม ก็อาจตามมาซึ่งผลกระทบจำนวนมากได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพสูงขึ้น สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ระบบสาธารณูปโภคเกิดปัญหา เนื่องจากไม่เพียงพอในการรองรับนักท่องเที่ยว จนทำให้ความประทับใจของบรรดานักเดินทางลดลง อีกทั้งการมีอยู่ของนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปอาจสร้างความรบกวนให้กับคนท้องถิ่น จนความเป็นอยู่ของพวกเขาต้องเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเหล่านี้ทำให้รัฐบาลหลายประเทศต้องกุมขมับ จนต้องสร้างมาตรการต่างๆ ที่จะมาควบคุมให้จำนวนนักท่องเที่ยวสมดุลกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เพื่อปกป้องแหล่งท่องเที่ยวไปพร้อมกับดูแลคนท้องถิ่นของตัวเอง อาทิ การปิดอ่าว ‘มาหยา’ ที่หมู่เกาะพีพีของประเทศไทย หลังจากภาพยนตร์ชื่อดัง The Beach จุดกระแสให้ชาวต่างชาติแห่มาเที่ยวจนทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลถูกทำลาย และมาตรการลดจำนวนนักท่องเที่ยวในเวนิส ด้วยการจำกัดจำนวนเรือสำราญที่เข้ามาเทียบท่า และคิดค่าปรับกับนักท่องเที่ยวที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไปจนถึงการเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว (Tourist Tax) ในหลายประเทศรวมถึงไทยเอง นโยบายต่างๆ เกิดขึ้นหลังจากหลายเมืองทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมือง จนทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศที่ใครหลายคนเคยอยากไปเยือน กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่คนจำนวนไม่น้อยอยากหลีกเลี่ยงมากที่สุด เมืองที่นักท่องเที่ยวหนาแน่นที่สุดในโลก […]

กรุงเทพฯ ติดจังหวัดรั้งท้ายที่ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้น้อยที่สุด

จากรายงานข้อมูลสถิติสุขภาพจิตของ ‘องค์การอนามัยโลก (WHO)’ พบว่า ทุกๆ 8 คนของประชากรบนโลกนี้จะมี 1 คนที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ขณะเดียวกันกลับมีผู้ป่วยสุขภาพจิตกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรายังพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โรคทางระบบประสาท การใช้สารเสพติด และการทำร้ายร่างกายติด 1 ใน 3 อันดับแรกเสมอ จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ City by Numbers ขอหยิบข้อมูลสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) มาให้ดูกัน กรุงเทพฯ รั้งท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลของ ‘ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ’ Health Data Center (HDC) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง พบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

ชวนดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ดีไซน์เด่น ฟังก์ชันครบครัน แถมประหยัดพลังงาน

ด้วยเหตุผลเรื่องประหยัดพลังงาน ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ค่าดูแลรักษาต่ำ ไร้มลภาวะทางเสียงและกลิ่นควัน ทำให้ ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่ป็อปปูลาร์ในยุคนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT ระบุว่า ยอดจดทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสะสมถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 อยู่ที่ 1.8 หมื่นคัน ซึ่งก้าวกระโดดไกลกว่าปี 2564 ที่มียอดจดทะเบียนราว 7,302 คัน ถือได้ว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่อีกยุคของยานพาหนะยอดฮิตในไทย ในช่วงที่ตลาดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าถูกพูดถึงมากขึ้น คอลัมน์ City by Numbers พาไปดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นยอดฮิต ที่เราคัดเลือกมาให้ตามความหลากหลายของดีไซน์ ราคา ขนาด และสมรรถนะการทำงาน เพื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่กำลังมองหารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่ AJ – C-LION จากแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง ‘AJ’ สู่การเป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ราคาจับต้องได้และเน้นฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ AJ รุ่น C-LION มีมอเตอร์ 2,000 วัตต์ วิ่งได้ด้วยความเร็ว 50 – 60 กม./ชม. ชาร์จไฟราว […]

การปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย เพิ่มขึ้นเท่าไรในช่วงระยะเวลา 10 ปี

วันวันหนึ่งคุณหมดเงินไปกับค่าครองชีพเท่าไหร่ ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ที่พอรวมกันก็หลายร้อยบาท จากนั้นลองหันมาดูจำนวนเงิน 300 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ที่แค่ใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบไม่เพียงพอแล้ว ไหนจะค่านู่นค่านี่ที่ต่อแถวปรับราคาขึ้นแทบทุกปี แต่ในขณะเดียวกัน ค่าแรงของคนทำงานในประเทศนี้กลับยังแช่แข็งที่เรตเดิม จริงอยู่ว่ามีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เพิ่มขึ้นในจำนวนแค่หลักหน่วยถึงหลักสิบเท่านั้น ซึ่งเอาเข้าจริงจำนวนเงินที่ว่านี้ก็ไม่ได้ช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เท่าไหร่เลย ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่เริ่มต้น 300 บาทมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีการปรับขึ้นไปกี่ครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละวันหรือไม่ คอลัมน์ City by Numbers หาคำตอบมาให้แล้ว ไทยกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แม้ว่าเราจะเคยชินกับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่ 300 บาท/วัน แต่ความจริงแล้วอัตราค่าแรงถูกปรับจากปี 2554 ให้เป็นมาตรฐานเท่ากันทั่วประเทศทุกจังหวัดเมื่อปี 2556 และคงอัตรานี้มานานกว่า 4 ปี จนมีการปรับอีกครั้งในปี 2560 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำในไทยมีการปรับขึ้นทั้งสิ้น 5 ครั้ง ดังนี้ ปี 2556 ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นที่ 300 บาท/วัน (ทั่วประเทศ) […]

‘ใน 1 วันมีหญิงไทยถูกทำร้ายหรือละเมิดทางเพศมากกว่า 7 คน’ สถิติความความรุนแรงต่อผู้หญิง

ย่ำค่ำกลางเดือนเมษายน ร้านอาหารแน่นขนัดไปด้วยหนุ่มสาวออฟฟิศที่เพิ่งเลิกงาน พนักงานเสิร์ฟเดินกันขวักไขว่ให้บริการ แว่วเสียงหญิงสาวโต๊ะข้างๆ เธอคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงจากข่าวทีวีเหนือศีรษะ ข่าวแรก มีหนุ่มโรคจิตหลอกผู้หญิงมากักขังทรมานจนตาย ยังมีเหยื่อสาวรายใหม่ที่ถูกทุบตีจนจมูกพังและซี่โครงหักเก้าซี่ โชคดีที่ตำรวจเข้าช่วยได้ทัน ข่าวเล่าต่อไปว่า โดยปกติผู้ต้องหาเป็นคนร่าเริง เขามีรสนิยมแบบรักร่วมเพศ แต่ไม่น่าเชื่อว่าจะชอบทำร้ายผู้หญิง ข่าวต่อไปบอกเล่าเรื่องเด็กอายุสิบแปดปีโดนแฟนเก่าที่เลิกรากันไปแล้วตามราวีไม่หยุด ถูกบุกถึงบ้าน แถมใช้อาวุธปืนยิงข่มขู่ และทำร้ายร่างกายจนฟันหัก หน้าบวมปูด อีกหนึ่งข่าวเป็นหญิงสาววัยเบญจเพสซึ่งตั้งท้องได้หกเดือน ถูกแฟนเก่าไม่พอใจตามมาทำร้ายร่างกาย ถัดมาอีกวัน หนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งพาดหัวข่าว สาวนักฆ่าต่อเนื่องชวนเหยื่อไปกินข้าว จากนั้นวางยาฆ่าและปล้นชิงทรัพย์ หลังจากคนร้ายถูกจับกุมพบว่ามีเหยื่อที่เป็นผู้หญิงอีกกว่าสิบราย และช่วงที่ผ่านมาในหน้ากระดานออนไลน์ สื่อหลายสำนักลงข่าวใหญ่ พบร่างไร้ลมหายใจของหญิงสาวเน็ตไอดอลชื่อดัง ที่บริเวณศีรษะมีรอยกระสุน และข้างกันเป็นร่างของแฟนหนุ่มนักเรียนเตรียมทหารที่ยิงตัวตายตามหลังจากสังหารแฟนสาว ข่าวบอกว่า ที่ผ่านมาหญิงสาวเธอถูกกระทำความรุนแรงทั้งทางกายและใจจากแฟนหนุ่มเป็นประจำ สถานการณ์ความรุนแรงในสังคมไทยยังเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน เรามักได้เห็น ได้ฟัง หรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงมากมาย โดยเฉพาะความรุนแรงซึ่งมักมีเหยื่อเป็น ‘ผู้หญิง’ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปสำรวจดูสถิติที่ผ่านมาว่า ในสังคมไทยมีผู้หญิงมากน้อยแค่ไหนที่ต้องตกเป็นเหยื่อจากความรุนแรง ความรุนแรงจากคนใกล้ตัว ความรุนแรงจากคนใกล้ตัวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นสถิติในปี 2564 ที่มีรายงานการฆาตกรรมผู้หญิงจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) บอกว่า ทั่วโลกมีเด็กและผู้หญิงจำนวน […]

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

5 เมืองเที่ยวพักผ่อนที่โรแมนติกที่สุดในโลก

เมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ ‘วันวาเลนไทน์’ คือเทศกาลแห่งความรักที่ผู้คนทั่วโลกรอคอย เพราะเป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้แสดงความห่วงใยแก่คนที่ปรารถนาดี ส่วนบรรดาคู่รักก็มักชวนกันทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่แลกเปลี่ยนของขวัญ ดูหนังแบบมาราธอน กลับไปสถานที่เดตแห่งแรก รวมถึงไปดินเนอร์สุดพิเศษที่ร้านอาหารหรือคาเฟ่น่ารักๆ แต่ถ้าจะให้ดูคลั่งรักและเซอร์ไพรส์หน่อยก็ต้องวางแผนไปเที่ยวในสถานที่ที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศสุดโรแมนติก คอลัมน์ City by Numbers วันนี้ขอพาทุกคนขึ้นเครื่องบินไปสำรวจ 5 เมืองแสนโรแมนติกที่สุดของโลก อ้างอิงข้อมูลเมื่อปี 2022 จากเว็บไซต์บริการฝากกระเป๋าระดับโลกอย่าง Bounce ที่ให้คะแนนเมืองต่างๆ จากปัจจัยรอบด้าน เช่น จำนวนสถานที่ทำกิจกรรมโรแมนติก จำนวนสถานที่พักโรแมนติก จำนวนร้านอาหารโรแมนติก และจำนวนการค้นหาเกี่ยวกับสิ่งโรแมนติกที่ต้องทำในเมืองนั้นๆ เป็นต้น โดยคะแนนเต็มอยู่ที่ 10 คะแนน เมืองไหนจะเป็นตัวท็อปเรื่องความโรแมนติกสำหรับคู่รัก ไปติดตามพร้อมกันเลย 1) ปารีส ประเทศฝรั่งเศสคะแนนความโรแมนติก : 8.87 เมื่อพูดถึงเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนที่โรแมนติกที่สุดในโลก คนส่วนใหญ่มักนึกถึง ‘ปารีส’ เป็นเมืองแรกเสมอ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองหลวงของฝรั่งเศสจะติดอันดับ 1 ด้วยคะแนนมากถึง 8.87 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปารีสดึงดูดคู่รักจากทั่วโลกได้ไม่ยากคือศิลปะตั้งแต่ยุคเรเนซองส์และสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงความงามและความน่าค้นหาทางประวัติศาสตร์ มากไปกว่านั้น ปารีสยังมีโรงแรมโรแมนติก 706 แห่ง มีร้านอาหารโรแมนติก 1,511 […]

เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด

ลองมองไปรอบตัว เราจะพบกับผู้คนหลากหลายช่วงวัยอยู่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในช่วงวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘ผู้สูงอายุ’ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้  1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.