ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก

ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี

‘บ้านหมากม่วง’ จากร้านขายมะม่วงข้างทางปากช่องสู่ Destination ของคนรักมะม่วง

“เรียนจบมาทำอะไรเหรอ กลับมาเป็นแม่ค้าข้างทางนี่นะ” คือประโยคคำถามเชิงเสียดสีที่ วราภรณ์ มงคลแพทย์ หรือแนน ถูกถามอยู่เสมอเมื่อคนแถวบ้านรู้ว่าหลังเรียนจบเธอจะกลับมาเปิดร้านขายมะม่วง แต่ความฝันของเธอมีน้ำหนักมากกว่าคำดูถูก เธอค่อยๆ เปิดร้านมะม่วงเล็กๆ ด้วยผลผลิตจากฟาร์มของคุณพ่อที่เธอมั่นใจในรสชาติและคุณภาพ เพราะคุณพ่อตั้งใจผลิตให้คนอื่นได้กินมะม่วงรสชาติดี ด้วยการวิธีดูแลเสมือนมะม่วงทุกลูกเป็นคนในครอบครัว จากร้านขายมะม่วงข้างทางในวันนั้น เธอได้ค่อยๆ เปลี่ยนมันเป็นสถานที่เพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้มะม่วงของคุณพ่อ เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจขายส่งมะม่วงสู่ธุรกิจค้าปลีก จนกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่า Mango Lover ประจำปากช่องที่ต้องแวะมากินสักครั้งในชีวิต ภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อว่า ‘บ้านหมากม่วง’ จุดเริ่มต้นแห่งรสชาติหอมหวาน ตั้งแต่เด็กๆ แนนเห็นคุณพ่อคุณแม่ลำบากบนเส้นทางอาชีพชาวสวนมะม่วง เธอเห็นตั้งแต่ครอบครัวไม่มีอะไร ตอนเธออายุประมาณ 5 ขวบ ที่บ้านขายมะม่วงอยู่ข้างทาง หลังจากนั้นครอบครัวเล็กก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นด้วยอาชีพนี้ คุณพ่อจึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และเธอก็เริ่มคิดว่า คำว่า ‘เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง’ นี้แหละเป็นสิ่งที่เธอหลงรัก แม้ว่าคุณพ่อจะประสบความสำเร็จมากพอสมควร แต่เธอก็คิดคำนึงว่า ไม่รู้ว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร ต่อไปอีก 10 20 ปีข้างหน้าเราจะยังมีมะม่วงของพ่อให้กินอยู่หรือเปล่า เธอจึงตัดสินใจรักษาสวนมะม่วงของคุณพ่อด้วยวิธีของเธอเอง กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตัดสินใจไปเรียนสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร เพื่อที่จะกลับบ้านมาพัฒนาสวนของคุณพ่อต่อ “ช่วยเล่าเรื่องความผูกพันระหว่างแนนกับมะม่วงให้เราฟังหน่อย” เราย่างเท้าก้าวแรกเข้าสวนมะม่วงด้วยคำถามถึงเด็กหญิงที่โตเพราะมะม่วง และโตมากับมะม่วง “ถ้าพูดถึงความผูกพันไม่รู้จะต้องพูดยังไง แต่คงต้องเริ่มจากการบอกว่า แนนมีวันนี้ได้เพราะมีคุณพ่อ คุณแม่ […]

Supha Bee Farm ฟาร์มผึ้งแห่งแรกๆ ของไทยจากงานอดิเรกขำๆ ของคู่สามีภรรยาในเชียงใหม่

เคยคิดกันบ้างไหมว่างานอดิเรกที่เราลองทำเล่นๆ ในวันเสาร์-อาทิตย์จะกลายเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัว เลี้ยงปากท้องของคนในชุมชน และยังช่วยกระตุ้นให้ระบบนิเวศดียิ่งขึ้น

‘ภูโคลน’ สปาสแตนด์อโลน จากแม่ฮ่องสอน ที่ใช้ ‘โคลน’ สร้างชื่อจนมีผลิตภัณฑ์วางขายทั่วโลก

สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อ ใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศ ผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการ ที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย คอลัมน์ประจำจังหวัดครั้งนี้ขอพาขึ้นเหนือไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรงดิ่งไปยัง ภูโคลน คันทรีคลับ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีทั้งน้ำพุร้อน และโคลนที่มีแร่ธาตุติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ทัดเทียมกับโคลนจากทะเลเดดซี หากจะต่างกันก็ตรงที่ว่ารอบข้างไม่ได้เวิ้งว้างเป็นทะเลสุดเค็ม แต่เป็นสปาที่โอบล้อมด้วยป่าเขา มีสีเขียวเป็นวิวแทบจะตลอดปี  แม้จะเชื่อในความพิเศษของวัตถุดิบที่ยากจะหาใครเหมือนแต่ก็อยากเพิ่มเอกลักษณ์ลงไปให้มากขึ้น คุณใหญ่-วัชรพงศ์ กลิ่นปราณีต ผู้บริหารภูโคลน จึงประยุกต์เอาสมุนไพรท้องถิ่นใส่ลงไปเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและเราถือเองว่าพิเศษกว่าโคลนที่ไหนในโลก สำหรับใครที่ไม่ว่างเดินทางมาถึงที่นี่ ภูโคลนก็ยัง แตกไลน์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุดธรรมชาติ ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าและมีวางจำหน่ายที่พีทีที สเตชั่น บนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดอีกด้วย เชื่อไหมว่าก่อนจะมาถึงจุดนี้ ชื่อของภูโคลนแทบจะไม่มีใครรู้จัก […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.