‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

EDeaf : Education for the Deaf โครงการที่อยากเห็นเมืองเป็นมิตรกับคนหูหนวก

กลับมาอีกครั้งกับ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ’ หรือ ‘Bangkok Design Week’ ที่จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และชวนเหล่านักสร้างสรรค์ไปร่วมกิจกรรมมากมายใน 9 ย่านกันตั้งแต่วันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 โดย Bangkok Design Week 2023 ในปีนี้มาพร้อมกับธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ เพื่อสร้างความน่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยวใน 6 มิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การเดินทาง วัฒนธรรม ชุมชน ธุรกิจสร้างสรรค์ และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ออกแบบผ่านกิจกรรม 4 รูปแบบคือ Showcase & Exhibition, Talk & Workshop, Creative Market & Promotion และ Event & Program หนึ่งในกิจกรรม Showcase & Exhibition […]

JUST READ นักอ่านที่ไม่ได้แค่อ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนการอ่านผ่านอีเวนต์

ความชอบหนังสือและนิสัยรักการอ่าน พาให้เราไปทำอะไรได้บ้าง บางคนเดบิวต์เป็นนักเขียน บางคนเป็นนักสะสมหนังสือ บางคนลงทุนเปิดร้านขายหนังสือ แต่ความชอบหนังสือของ ‘เวฟ-สหัสวรรษ ธนสุขสวัสดิ์’ เจ้าของเพจ ‘JUST READ’ นั้นพาให้เขาเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวงการการอ่านผ่านการจัดอีเวนต์ต่างๆ โดยเริ่มจาก Book Club วงเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย จนมาถึงงานหนังสือสเกลใหญ่ระดับเมือง อย่างงาน ‘หนังสือในสวน’ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนหลายร้อยคน คอลัมน์ Art Attack ขอชวนทั้งนักอ่านและนักอยากอ่านไปพูดคุยกับผู้ก่อตั้งเพจ JUST READ ถึงจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนเรื่องหนังสือและการอ่าน มุมมองการจัดงานหนังสือจากภาคประชาชน และความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการอ่านในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มต้นด้วยกลุ่มคนผู้รักการอ่าน แรกเริ่มเดิมที JUST READ เป็นเพียงคอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เวฟก่อตั้งขึ้น สำหรับกลุ่มคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี 2563 และได้จัด Book Club เป็นครั้งแรกกับกลุ่มคนเล็กๆ เพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะคำว่า Book Club ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย “ขนาดเรายังเพิ่งเคยได้ลองทำอะไรแบบนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ก็เลยไม่แปลกใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยรู้จัก คุ้นชิน […]

THE POWER BAND 2022 Season 2 เวทีประกวดดนตรีที่อยากให้ทุกคนกล้าฝัน กล้าทำ

กลับมาอีกครั้งและต้องบอกว่ายิ่งใหญ่กว่าเดิม สำหรับ ‘THE POWER BAND 2022 Season 2’ เวทีประกวดดนตรีสากลที่เปิดโอกาสให้เหล่านักดนตรีที่มีความสามารถได้มีพื้นที่แสดงพลังอย่างไร้ขีดจำกัด  ในการประกวดซีซันสองนี้ได้มีการกระจายเวทีประกวดออกไปยัง 5 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ ขอนแก่น, ชลบุรี, เชียงใหม่, สงขลา, กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับความหลากหลายและขยายพื้นที่รองรับเหล่าคนดนตรีมากฝีมือจากทั่วทุกสารทิศ และในที่สุด จากระยะเวลากว่าหลายเดือนกับการคัดเลือกวงดนตรีจากพื้นที่ต่างๆ จนมาถึงเวทีประกวดรอบตัดสินที่โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ (รางน้ำ) ก็ได้ผู้ชนะเลิศทั้ง 3 Class ดังนี้  Class A ประเภทรุ่นมัธยมศึกษา ได้แก่ วง ‘มอซอ’ จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดภูเก็ต  Class B ประเภทรุ่นบุคคลทั่วไป ได้แก่ วง ‘Jazz Passion’ จากกรุงเทพฯ Class C ประเภทดนตรีสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด ได้แก่ วง ‘Solar System Band’ จากจังหวัดเชียงใหม่  คอลัมน์ […]

DEMO EXPO เทศกาลดนตรีและศิลปะเพื่อประชาชน โดยผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ‘ลานคนเมือง’ พื้นที่สาธารณะของเขตพระนคร ใกล้กับเสาชิงช้าวัดสุทัศน์ฯ ถูกใช้เป็นพื้นที่จัดงาน ‘DEMO EXPO’ เทศกาลดนตรีที่กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองร่วมกันจัดขึ้น  ชื่อของเทศกาลดนตรีครั้งนี้มาจากคำว่า Democracy (ประชาธิปไตย) และในอีกทางหนึ่ง คำว่า Demo เองก็หมายถึงการแสดงตัวอย่าง ดังนั้น DEMO EXPO จึงเป็นดั่งงานดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ และทำหน้าที่เป็นเวทีให้ศิลปินหลายแขนงได้ใช้นำเสนอผลงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน  แม้ทีมผู้จัดงานจะเป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ทว่าเทศกาลดังกล่าวหาใช่ม็อบการเมืองหรือการชุมนุมใดๆ เป็นเพียงงานเทศกาลดนตรีที่ถ่ายทอดผ่านพลังสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของงานคือ ‘Music Arts Peoples’  งาน DEMO EXPO มีวงดนตรีแห่งยุคสมัยกว่า 20 รายชื่อบรรเลงกันตั้งแต่เที่ยงวันยันเกือบเที่ยงคืน ภายในงานประดับประดาไปด้วยงานศิลปะจากศิลปินหลายสไตล์ อัดแน่นด้วยกิจกรรมให้ความรู้ทางการเมือง รวมถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองหลายประเด็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหลายช่วงวัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นความบันเทิงที่ได้ทั้งความสุนทรีย์และเสรี ผ่านความชอบที่แตกต่างหลากหลาย  คอลัมน์ ‘Art Attack’ พาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจเบื้องหลังของ ‘DEMO EXPO’ อีกหนึ่งงานตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ดนตรีและศิลปะเป็นสิ่งที่รับใช้ประชาชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างแท้จริง เทศกาลดนตรีฟรีที่ไม่กำหนดอายุ DEMO EXPO จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 […]

KULTX พื้นที่ศิลปะแห่งใหม่โดยคนทำงานหน้าเก่า ที่อยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเมืองขอนแก่น

แม้จะไม่ได้ใหญ่และมีมากเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การกระจายตัวของพื้นที่แสดงศิลปะในต่างจังหวัดนั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและน่าจับตามอง ดังจะเห็นได้จากทางภาคใต้ที่มี ปัตตานี อาร์ตสเปซ และ หอศิลป์เดอลาแปร์ นราธิวาส ส่วนภาคเหนือมีพื้นที่ศิลปะกระจายตัวทั่วสารทิศทั้งเชียงใหม่และเชียงราย หรือจังหวัดเล็กๆ อย่างพะเยาก็มี ARTCADE  ฝั่งอีสานก็เป็นที่เลื่องชื่อในด้านการผลักดันศิลปะไม่แพ้กัน อย่างที่โคราชมีเทศกาลศิลปะนานาชาติ Thailand Biennale ขณะเดียวกัน ขอนแก่นก็มีนิทรรศการศิลปะโด่งดังชื่อ มานิเฟสโต้ (KhonKaen Manifesto) ยังไม่นับรวมพื้นที่แสดงศิลปะ ทั้งหอศิลป์มหาวิทยาลัย แกลเลอรีอย่าง ใหม่อีหลี และ YMD Art Space อันเกิดจากการผลักดันของกลุ่มเพื่อนศิลปินที่ช่วยกันสร้างพื้นที่ศิลปะ จนแตกกิ่งก้านเป็นเทศกาลศิลปะ S.O.E Our City Old Town แก่น เก่า เก๋า ที่เลือกใช้พื้นที่ในเมืองและชุมชนเก่าแก่ฝั่งทิศตะวันตกของบึงแก่นนคร ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดงาน ในวันเวลาที่เมืองขอนแก่นกำลังเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง เราขอชวนไปฟังเสียงของสองศิลปินตัวแทนกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ที่ร่วมด้วยช่วยกันผลักดัน และขับเคลื่อนให้ขอนแก่นได้มีพื้นที่ทางศิลปะ นั่นคือ ‘ต้อง-อุกฤษฏ์ จอมยิ้ม’ อาจารย์ประจำสาขาศิลปะภาพถ่าย จากวิทยาลัยการออกแบบ ม.รังสิต และ ‘ตั้ม-มนพร รอบรู้’ ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวขอนแก่น ที่ยังคงนำทัพทำงานสร้างสรรค์ […]

‘สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ จิตแพทย์ผู้ใช้ ‘เลโก้จิ๋ว’ ผลักดันศิลปวัฒนธรรมไทย

ถ้าให้ย้อนถึงความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็ก เชื่อว่าหลายคนคงหวนนึกถึงกิจกรรมที่เคยเล่นสนุกจนลืมเวลา รวมไปถึงงานอดิเรกที่เคยหลงใหลและมีสมาธิกับมันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา ไปจนถึงการเล่นเกมสารพัดรูปแบบ สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้ยังกลายเป็นแพสชันที่ติดตัวพวกเขาไปจนโต หรือไปไกลถึงขั้นทำเป็นอาชีพก็มี  ‘อิกคิว-สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ ชายหนุ่มท่าทางอารมณ์ดีคนนี้ คือหนึ่งในนั้น  เรารู้จักอิกคิวผ่านโพสต์ประชาสัมพันธ์เวิร์กช็อป ‘ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ ที่มิวเซียมสยาม เวิร์กช็อปนี้สะดุดตาเราเป็นพิเศษ เพราะเป็นการสอนต่อ ‘เลโก้จิ๋ว (Miniblock)’ จากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม เช่น สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีรถไฟกรุงเทพ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการย่อไซซ์อาคารไทยให้กลายเป็นโมเดลจิ๋วสีสันน่ารักที่สาวกตัวต่อกับของกุ๊กกิ๊กต้องตาเป็นประกายวิบวับแน่นอน เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พบว่าอิกคิวคือจิตแพทย์ที่มาเป็นวิทยากรเฉพาะกิจให้เวิร์กช็อปนี้ เนื่องจากความหลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของการต่อเลโก้มาตั้งแต่เด็ก จนได้พัฒนางานอดิเรกให้มีความออริจินัลและจริงจังมากขึ้นผ่านการออกแบบเลโก้จิ๋วจากสถาปัตยกรรมไทยและต่างประเทศ โดยเขาได้รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในเพจ Qbrick Design  เรานัดหมายกับอิกคิวเพื่อพูดคุยทำความรู้จักเจ้ามินิบล็อกเหล่านี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอันซับซ้อน ไปจนถึงการต่อประกอบให้สำเร็จ คุณค่าของตัวต่อจิ๋วในมุมมองของเขาเป็นแบบไหน อะไรที่ทำให้เขามีแพสชันและมิชชันต่อตัวประกอบจิ๋วขนาดนี้ เราขอชวนทุกคนไปฟังคำตอบพร้อมกัน ปัดฝุ่นเลโก้วัยเด็ก อิกคิวเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาหลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้กลับไปทำงานเป็นจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส บ้านเกิดของตัวเอง  ในเวลาว่างจากงานประจำช่วงนั้น […]

A Katanyu Comedy Club คลับของคนรักเสียงหัวเราะ ที่ต้องการให้ Comedian รุ่นใหม่ได้มีที่ซ้อมมือ

‘อยากดู Stand-up Comedy ต้องไปที่ไหน’ สำหรับคำถามนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงหยุดคิดไปหลายนาที เพราะ ‘Stand-up Comedy Club’ ในไทยที่พอจะรู้จักหรือหาข้อมูลได้ส่วนใหญ่เป็นคลับที่แสดงโดยชาวต่างชาติอย่าง ‘The Comedy Club Bangkok’ หรือ ‘Khaosan Comedy Club’ นั่นแปลว่าถ้าคุณจะชมการแสดงประเภทนี้ ต้องฟังภาษาอังกฤษออก และเข้าใจมุกตลกของพวกเขา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา คงเป็นวันที่เราพูดได้เต็มปากว่าหากต้องการดูโชว์ตลกในรูปแบบ ‘Stand-up Comedy’ โดยนักแสดง Stand-up Comedian ชาวไทย ให้คุณเดินทางไปที่โครงการ Space & Co หลังห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ แล้วคุณจะพบกับ ‘A Katanyu Comedy Club’ คลับเล็กๆ ของคนรักเสียงหัวเราะที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 2 โดยมี ‘ยู-กตัญญู สว่างศรี’ เป็นหัวหอกสำคัญในการเนรมิตขึ้นมา จากความตั้งใจเดิมที่แค่ต้องการย้ายทำเลร้านกาแฟ Katanyu Coffee กลับกลายเป็นการปรับคอนเซปต์ครั้งใหญ่สู่ A Katanyu […]

ชีวิตที่ไม่ง่ายของคนทำละครไทยในอเมริกา สู่ Thai Theatre Showcase โชว์เคสที่เปิดให้พวกเขาได้โชว์ของ

บิ๊ก-รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง คือคนทำละครเวทีไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกามาตั้งแต่ปี 2557 รักษ์ศักดิ์เป็นคนนครศรีธรรมราช ชอบเล่นละครเวทีมาตั้งแต่มัธยมฯ หลังเรียนจบปริญญาตรีสาขาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอบินลัดฟ้าไปปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความฝันที่อเมริกาเพราะเห็นโอกาสเติบโตที่มากกว่า  ที่นั่น รักษ์ศักดิ์ได้พบรัก แต่งงาน และได้เรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารจัดการศิลปะ ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในเมืองที่รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์ของบรอดเวย์และละครเวทีอย่างนิวยอร์ก เริ่มทำงานจากตำแหน่ง Arts Administrator อย่างที่เรียนมา จนตอนนี้กลายเป็น Asistant Director of Grantmaking Programs หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายโปรแกรมทุนของ Theatre Communications Group องค์กรที่ตามหาและแจกจ่ายทุนให้คนละครเวทีในดินแดนแห่งเสรีภาพได้สานฝันในการทำละครของตัวเอง ช่วงปี 2561 รักษ์ศักดิ์และเพื่อนในแวดวงได้ก่อตั้ง Thai Theatre Foundation หรือ TTF เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย และในวันที่ 23 – 24 กรกฎาคมนี้ TTF จะจัดโชว์เคสครั้งแรกของพวกเขา ความพิเศษของงานนี้คือการรวบรวมศิลปินละครเวทีไทยในสหรัฐอเมริกามาโชว์ของ ซึ่งมีทั้งตัวท็อปและหน้าใหม่ในวงการที่คนไทยอาจไม่คุ้นชื่อ แต่คนดูชาวอเมริกันคุ้นชินกับพวกเขาเป็นอย่างดี และนี่เป็นครั้งแรกที่ศิลปินไทยเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการเปล่งเสียง โชว์ความเป็นไทยของตัวเอง แบบที่ไม่เคยได้แสดงที่ไหน เช้าวันแดดร่มวันหนึ่งที่ไทย เราต่อสายหารักษ์ศักดิ์ในอีกซีกโลกหนึ่งที่ท้องฟ้ากำลังระบายสีครึ้ม เพื่อพูดคุยกันถึงโชว์เคสครั้งสำคัญ […]

“ดนตรีอยู่ที่ไหนก็ได้” – ‘ลภ เวลาเย็น’ ผู้จัดงานดนตรีที่อยากชวนทุกคนไปฟังเพลงกันซักแดด

ดนตรีมีหลากหลายแนวเพลง รูปแบบการเล่นดนตรีก็แตกต่าง การแสดงดนตรีย่อมไม่เหมือนกัน ในร้านเหล้า ผับ บาร์ คาเฟ่เป็นแบบหนึ่ง บนเวทีคอนเสิร์ต ในพื้นที่สาธารณะเป็นอีกแบบหนึ่ง ในงานตลาดนัดหรือเทศกาลดนตรีก็อีกแบบหนึ่ง ต่างรสนิยมและความสุนทรีย์ เป็นปัจเจก ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกแบบไหน ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ในประเทศไทยมีทางเลือกในการฟังเพลง ดูดนตรีกันสักกี่รูปแบบ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้สองสามปีที่ผ่านมารูปแบบการจัดงานดนตรีต้องปรับเปลี่ยน ลดขนาด เว้นระยะห่าง ไม่แออัด ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้นึกถึง ‘ซักแดด’  ซักแดดคืองานดนตรีที่ใช้พื้นที่ในจังหวัดราชบุรีเป็นที่จัดงาน บริหารโดยทีมผู้จัดงานชื่อ ‘เวลาเย็น (Velayen)’ โดยมี ลภ-วัลลภ แก้วพ่วง เป็นหัวหน้าแก๊ง เขาเล่าว่า ซักแดดเกิดขึ้นมาพร้อมการปรับตัวในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่หลังโรคระบาดมาเยือน เวลาเย็นกับการชวนไปซักแดด ก่อนจะไปฟังเรื่องของซักแดด เราอยากพาไปรู้จักกับหัวหน้าแก๊งเวลาเย็นกันก่อนสักนิด ลภเป็นคนบางแพ จังหวัดราชบุรี เรียนประถมฯ ต่อมัธยมฯ แถวบ้านได้ปีเดียว ก็เปลี่ยนมาต่อเทคนิคฯ ช่างไฟ ที่โพธาราม กระทั่งปี 2546 เขาก็เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่เทคนิคกรุงเทพฯ จนเรียนจบออกมาใช้วิชาช่างไฟสร้างตัวอยู่ในเมืองหลวงราว 15 ปี ก่อนเปิดบริษัทรับเหมาเป็นของตัวเอง และตัดสินใจวางแผนกลับไปอยู่บ้านอีกครั้ง ปี […]

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง Yala Stories ที่อยากขับเคลื่อนยะลาด้วยงานสร้างสรรค์

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับ Yala Stories ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กที่มิตรสหายคนทำงานสร้างสรรค์แชร์กัน ซึ่งโพสต์นั้นว่าด้วยการนำภาพของตัวอักษรบนป้ายร้านรวง ย่านสายกลาง จังหวัดยะลา มาเรียงกันเป็นคำว่า ‘ยะลา สตอรี่’  แน่นอนว่าความสวยเก๋ต้องไม่รองใคร เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่ยังมีการวาดโปสเตอร์ภาพยนตร์ด้วยมืออยู่ ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าสุนทรียะในศิลปะการออกแบบป้ายต้องหรอยแรงอยู่แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ตัวอักษรหรือฟอนต์ (Font) เหล่านี้ล้วนมีประวัติศาสตร์ของเมืองซุกซ่อนอยู่ ซึ่ง ‘Yala Stories’ ก็ได้พาเราไปทัวร์ชมฟอนต์เหล่านี้ผ่านหน้าจอไปด้วย หลังจากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองยะลาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ย่านสายกลาง ซึ่ง ‘Yala Stories’ เป็นชื่อของนิทรรศการนี้นั่นเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาที่มีการจัดงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีครบหมดตั้งแต่นิทรรศการบอกเล่าเมืองยะลา งานศิลปะ วงเสวนา ฉายหนังสั้น การแสดงสด คอนเสิร์ต งานคราฟต์ แฟชั่น ไปจนถึงอาหารกับกาแฟ  ด้วยความชอบใจและดีใจที่เห็นจังหวัดอื่นๆ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวในแวดวงงานสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากขึ้น ทำให้เราติดต่อขอพูดคุยกับกลุ่มคนผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Yala Stories’ และได้พบกับ ‘บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์’ หัวหอกของโปรเจกต์นี้ […]

1 2 3 4 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.