‘แท่นบูชาแดง’ ความเชื่อสุดขลังของชาวไทย-จีนฮกเกี้ยน พังงา

บ้านทุกหลังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับคนหลาดเก่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนนั้น คือการไหว้ ‘เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้’ (玉皇) ผ่าน ‘เที่ยนกวนซือฮก’ (天官賜福) แท่นบูชาสีแดงที่มักติดบริเวณหน้าบ้าน เพื่อระลึกถึงเทพฟ้าดิน ระหว่างเดินเล่นที่หลาดเก่า ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เราเห็นว่าทุกบ้านจะมีเที่ยนกวนซือฮกติดอยู่ ต่างกันที่ลักษณะและจุดสำหรับติดตั้งแท่น จึงอดไม่ได้ที่จะยกกล้องเก็บภาพความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนไว้  ชาวไทยจีนฮกเกี้ยนนับถือเทพเจ้า ‘หยกหองซ่งเต้’ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘เง็กเซียนฮ่องเต้’ ประมุขแห่งทวยเทพตามความเชื่อ ซึ่งจะพบเห็นวัฒนธรรมนี้ได้ที่จังหวัดภูเก็ตและพังงา ซึ่งทุกคนต่างเชื่อว่าท่านคือ ‘เทพแห่งฟ้าประทานพร’ ส่วนใหญ่การตั้งเที่ยนกวนซือฮก จะถูกติดตั้งที่เสาซ้ายมือหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า ‘หงอคาขี่’ หากบ้านที่ไม่มีหงอคาขี่ ก็จะถูกติดไว้ที่ด้านซ้ายของหน้าบ้านแทน ตามความเชื่อคนจีนที่ถือฝั่งซ้ายเป็นใหญ่ ธรรมเนียมการไหว้เที่ยนกวนซือฮกจะนิยมทำทุกวันตอนเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ตามด้วยไหว้เทพประจำบ้านและบรรพบุรุษ บางบ้านจะไหว้ในวันพระของไทย​หรือในวันพระของจีน โดยของที่ใช้ไหว้มีผลไม้ น้ำชา และขนม ตามขนาดความกว้างของเที่ยนกวนซือฮก แต่หลักๆ จะนิยมไหว้แค่น้ำชา 3 จอก จากนั้นจุดเทียน และธูปไหว้ 3 ดอก แม้รูปแบบของเที่ยนกวนซือฮกจะแตกต่างกัน แต่ความศรัทธาของชาวหลาดเก่านั้นมีหนึ่งเดียวคือ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ และยังคงเป็นความเชื่อที่ต้องอยู่เสาด้านซ้ายของบ้านเสมอ

เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”

“หลาดเก่า” ตะกั่วป่า เงียบงันแต่ไม่เงียบเหงา

“หลาดเก่า” (ตลาดเก่า) หรือเมืองเก่าตะกั่วป่า คือชุมชนเก่าแก่ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดิมที่นั่นคึกคักด้วยผู้คน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือนกลับเหงาลงถนัดตา แม้หลายสิ่งที่เคยเคลื่อนไหวค่อยๆ หยุดลง หากแต่การดำเนินชีวิตของชาวตะกั่วป่าก็ยังคงดำเนินไปอยู่ทุกวัน  เด็กตะกั่วป่าอย่างเราจึงขอชวนทุกคนมาสัมผัสหลาดเก่าผ่านภาพถ่าย ที่แม้จะเงียบงันไปเสียหน่อย แต่ก็ไม่เงียบเหงาซะทีเดียว ด้วยความตื่นเต้นที่จะไปเดินหลาดเก่า เราเลยตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาดเจอผู้คนที่ออกมาหาอะไรกินตอนเช้า เราฝากท้องที่ ‘ร้านโกปี๊’ ในตรอกเล็กๆ มีเพียงคุณลุงท่านหนึ่งนั่งดื่มโกปี๊อยู่เพียงลำพัง กับคุณป้าเจ้าของร้านที่กำลังเตรียมของอยู่ในร้าน มองแล้วชวนนึกถึงวันวาน ในทุกๆ เช้าจะมีแต่ความคึกคัก เสียงทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและเสียงพูดคุยของเหล่าคอกาแฟวัยเก๋า เมื่อเสร็จจากมื้อเช้า ถึงเวลาออกเดินเก็บภาพ ซึ่งตรงข้ามร้านโกปี๊เป็นที่ตั้งของ ‘ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซิ่นใช่ตึ๋ง’ หรือที่คนในชุมชนเรียกกันว่า “อ๊ามใต้” ส่วนใหญ่คนหลาดเก่านั้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่นี่เลยเป็นอีกสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในละแวกนี้ ซึ่งจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลกินเจ ก่อนจะไปต่อ บังเอิญหันไปเห็นน้องๆ นักเรียนกำลังเดินเรียงแถวหิ้วดอกไม้และปิ่นโตไปทำบุญที่วัด ทำให้นึกถึงสมัยประถมฯ ที่เราต้องเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เดินไปเรื่อยๆ บนถนนศรีตะกั่วป่า ถนนสายหลักที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก่อนนี้คึกคักไปด้วยผู้คน แต่ตอนนี้กลับเบาบางลงถนัดตา จากที่เคยเห็นผู้คนนั่งอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับทักทายคนไปมาหาสู่กันได้ง่าย แต่วันนี้หน้าบ้านส่วนใหญ่เหลือเพียงม้านั่งที่ว่างเปล่า มีแต่ภาพวาด เด็กจริงๆ กลับไม่เห็น ท่ามกลางความเงียบเหงาที่ไม่ค่อยจะชินตาสักเท่าไร คงมีแต่บรรดาร้านรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเปิดรอคอยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยสินค้ากันตามปกติ […]

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.