Day/DM Cafe คาเฟ่ย่านเยาวราช โดยคู่รักนักเพศวิทยาที่อยากให้คนกล้าคุยเรื่องเพศตอนกลางวัน

ตอนที่เดินไปยังสถานที่นัดหมาย ทุกตึกบนถนนเส้นนั้นหน้าตาดูเหมือนกันไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าประตูบานนี้เป็นของร้าน Day/DM Cafe แน่นอนคือ ธงสีรุ้งและสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศที่ประดับประดาอยู่ รวมถึงโลเคชันที่อยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวตามคำบอกเล่าของเจ้าของร้าน พอเดินเข้าไปในร้าน ความรู้สึกที่ค่อยๆ เข้ามาเกาะในใจเราคือ บรรยากาศอบอุ่นที่เหมือนกับเรามาเที่ยวบ้านเพื่อน อาจจะเป็นเพราะการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ กลิ่นหอมจากเมล็ดกาแฟ รวมถึงเจ้าของร้านทั้งสองที่ชวนคุยอย่างสนิทสนม ‘เอช-ประติมา รักษาชนม์’ และ ‘แต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี’ คือคู่รักนักเพศวิทยาเจ้าของที่นี่ ผู้ร่วมกันสร้างคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน พื้นที่ปลอดภัยที่ว่าคือ พื้นที่ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยถึงหัวข้อยากๆ ที่ไม่รู้จะไปคุยกับใครอย่างเรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ ต่อให้เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศ ประจำเดือนไม่มา เคยมีอะไรกับแฟนแล้วไม่อยากมี อยากลองเล่น Sex Toy ฯลฯ ทั้งสองคนก็พร้อมให้คำปรึกษาจากองค์ความรู้ด้านนี้ที่ร่ำเรียนมา คาเฟ่ที่เกิดจากความสนใจเรื่องเพศ ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนที่ทั้งคู่ยังเรียนอยู่ เอชและแต๋มเรียนจบในคณะที่ตัวเองวาดหวังไว้ แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นเส้นทางของทั้งคู่ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เอชที่เรียนคณะครุศาสตร์ เอกศิลปะ ต้องประสบกับปัญหาเงินๆ ทองๆ จนต้องทำงานส่งตัวเองเรียน บวกกับเคยถูกบุลลี่เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาไม่ตรงตามมาตรฐานที่สังคมตั้งไว้ แถมพอจบออกมาทำงานในสำนักพิมพ์ก็ถูกกดเงินเดือน ส่วนแต๋มที่เรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ต้องไปเผชิญสังคมการทำงานที่ปิดกั้นโอกาสผู้หญิง ทั้งที่เธอมีความสามารถ อยากลองทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่แค่เพราะ ‘เพศ’ ที่เป็นเหมือนเพดานแก้วบางๆ ทำให้หญิงสาวไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ ชีวิตของทั้งสองคนพบเจออะไรหลายๆ […]

‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์

หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]

ปักหมุด 6 ร้านชำที่มีดีทั้งดีไซน์ คอนเซปต์ และโปรดักต์

วันหยุดนี้ชวนไปสำรวจวัตถุดิบโลคอล เสาะหาโปรดักต์ออร์แกนิก และเอนจอยกับบรรยากาศช้อปปิงในร้านขายของชำเก๋ๆ กัน! หลายคนอาจคุ้นชินกับภาพร้านโชห่วยตามซอยบ้านสมัยเด็กๆ ที่มีขนมโบราณห้อยขายเรียงรายกันอยู่ในร้าน น้ำที่แช่อยู่ในตู้แช่แบบเก่า และของใช้ที่วางขายอยู่ในตู้กระจก แต่ครั้งนี้ คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปปักหมุด 6 ร้านชำในกรุงเทพฯ ที่มีความยูนีกเฉพาะตัวด้วยดีไซน์ คอนเซปต์ และโปรดักต์ที่จำหน่าย ซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ จากที่ไหน ตั้งแต่สินค้าออร์แกนิก วัตถุดิบท้องถิ่นจากทั่วทุกสารทิศ โปรดักต์ดีไซน์น่ารักๆ ไปจนถึงการมีพื้นที่ให้พบปะพูดคุยหรือทำงานแบบชิลๆ ด้วย MADBACON ร้านชำสุดเก๋ที่ตั้งอยู่ในโซนอารีย์ โดยมีสโลแกนหลักคือ ‘Convenience Store for Today’s Lifestyle’ ทำให้สินค้าในร้านมีความหลากหลายและตอบโจทย์คนทุกเพศ ทุกวัย ภายในร้านมีทั้งของใช้จำเป็นและของใช้ที่ถูกใจหลายอย่าง โซนเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์ผู้คนหลากสไตล์ รวมถึงโซนพูดคุยเอาไว้แลกเปลี่ยนความคิดและนั่งจิบกาแฟยามบ่ายไปพลางๆ  MADBACONที่อยู่ : 6, 3 ซอยอารีย์ 5 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400วัน-เวลาให้บริการ : อังคาร-อาทิตย์ เวลา 11.00 – 19.00 น. […]

เบื้องหลังเอ็มวี strawberry ice cream เพลงเดบิวต์ MXFRUIT เกิร์ลกรุ๊ปไทยที่ดังไกลถึงเกาหลี โดยสอง ศาศวัต

ในช่วงที่กระแส T-POP ยังมาแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นศิลปินเดี่ยวหรือศิลปินกลุ่มที่ทยอยเดบิวต์กันเรื่อยๆ แต่ละวงล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ชมอย่างเราๆ จะเห็นได้จากการร้อง การเต้น และการแสดงของพวกเขาในเอ็มวี หนึ่งในวงที่เราสนใจช่วงนี้คือ ‘MXFRUIT’ (มิกซ์ฟรุต) วงเกิร์ลกรุ๊ปที่เต็มไปด้วยสีสันมากมายคล้ายผลไม้เมืองร้อน ซึ่งเหล่าสมาชิกของวงประกอบด้วย มิเคลล่า, อปป้าเพชร, สกาวเดือน, ขนมจีน และโรเชล แอบสารภาพว่าตอนฟังเพลงวงนี้ครั้งแรก เรานึกว่าเป็นวงต่างประเทศด้วยซ้ำ เพราะจากเนื้อเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ สำเนียงการร้อง รวมถึงมู้ดในเพลงที่มีความอินเตอร์ แต่พอกดเปิดดูเอ็มวีก็พบว่าจริงๆ แล้ววงนี้เป็นวงไทย แถมยังใช้สถานที่ในการถ่ายเป็นย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่ไม่ซ้ำใคร ตั้งแต่ร้านคั่วไก่ ตลาดสด จนถึงตรอกซอยเล็กๆ ที่บางแห่งเรายังไม่เคยไปด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงนัดหมาย ‘สอง-ศาศวัต เลิศฤทธิ์’ ผู้กำกับเอ็มวีเพลงเดบิวต์ของพวกเธอทันที เพราะนอกจากเขาจะดึงตัวตนที่สดใสร่าเริง และเสน่ห์ของสมาชิกวง MXFRUIT ออกมาผ่านเอ็มวีตัวแรกในชีวิตของพวกเธอได้เป็นอย่างดีแล้ว เรายังรู้มาว่าเขาคือคนหนึ่งที่อยู่กับสาวๆ มาตั้งแต่ต้น แถมยังมีส่วนกำหนดทิศทางของวงให้ออกมาเป็นมู้ดโทนอย่างที่ทุกคนเห็น เพื่อที่ผู้ชมจะได้รู้สึกหลงรักวงผลไม้ผสมนี้เหมือนอย่างที่สองรู้สึก ความเป็นธรรมชาติของ MXFRUIT ด้วยความที่สองอยู่ในวงการทำภาพยนตร์มาก่อนแล้ว และเคยกำกับเอ็มวีให้วงอื่นๆ มามากมาย การได้รับโจทย์จากค่าย ILY LAB โดยบริษัท […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.