เลาะชายแดนสวีเดน-นอร์เวย์ พบเผ่าต้นกำเนิด Elsa ฟังอดีตของวันที่ยังไม่มีเส้นแบ่งประเทศ

ย้อนกลับไปในช่วงเวลานี้ของปีที่แล้วพอดี ก่อนที่พายุโควิด-19 จะเคลื่อนตัวเข้าถล่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เรายังเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการเพื่อความยั่งยืนอยู่ในมหาวิทยาลัยประจำเมืองมัลเม่อ (Malmö) ที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เมืองที่เรากับเพื่อนๆ คนไทยตั้งชื่อเล่นให้ว่า ‘หาดใหญ่สวีเดน’ เพราะมันเป็นเมืองใหญ่ที่มีทุกอย่างเหมือนเมืองหลวง แม้จะมีอย่างละนิดละหน่อย แต่เราไม่เคยรู้สึกว่าการใช้ชีวิตในมัลเม่อเหมือนขาดอะไรไป เว้นแค่อย่างเดียว… หิมะ จากบ้านที่เมืองไทยไปเรียนไกลถึงสวีเดน เราอดหวังไม่ได้หรอกว่าจะได้ใช้ชีวิตท่ามกลาง White Winter ได้เดินทางไปเรียนท่ามกลางหิมะฟูๆ นุ่มๆ ดูสักครั้ง แต่เอาเข้าจริงหาดใหญ่สวีเดนนั้นไม่ได้มีหิมะเยอะอย่างที่คิด ตามสถิติแล้วหิมะตกแค่ปีละไม่ถึง 10 วัน ซ้ำร้ายปี 2018 – 2019 ยังเป็นปีที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างหนักในภูมิภาค ในฤดูร้อนเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ แล้วจะเอาอะไรมาหวังว่าจะมีหิมะนุ่มๆ ในฤดูหนาว และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เรากับเพื่อนสาวชาวเบลเยียมวางแผนมุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อหวังไปนอนกอดหิมะให้สาแก่ใจ ปลายทางของทริปสองสาวนักศึกษาครั้งนี้อยู่ที่เมืองคีรูน่า (Kiruna) เมืองขนาดเล็กที่อยู่เหนือสุดของประเทศสวีเดน ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาปกคลุมด้วยหิมะและป่าสน และเป็นเมืองชายแดนติดเมืองนาร์วิก (Narvik) ประเทศนอร์เวย์ นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งของเมืองคีรูน่ามีชื่อเรียกในหมู่นักเดินทางว่า Swedish Lapland ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสมองเห็นแสงเหนือในตำนานอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ช่วงเวลาที่เราเดินทางไม่ใช่ฤดูกาลล่าแสงเหนือ จึงอดไปตามระเบียบ เราตั้งใจใช้สิทธิ์ความเป็นนักศึกษาให้เต็มที่ จึงจองทริปราคาประหยัดกับเอเจนซี่ที่ให้บริการทริปสำหรับนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้ได้ทริปที่มีหมุดหมายสมใจอยากในราคาน่ารักน่าเอ็นดู ทั้งการเล่นเลื่อนหิมะกับเหล่าน้องหมาฮัสกี้ เยี่ยมชมฟาร์มเรนเดียร์ของชนพื้นเมือง เดินชมเขตเหมืองเหล็กเก่าตั้งแต่สมัยสงครามโลก ข้ามชายแดนไปแช่ทะเลสาบที่ไม่มีวันเป็นน้ำแข็ง […]

สวย ≠ ขาว SeaSun Society แบรนด์สกินแคร์สัญชาติไทยที่ขอท้าทาย Beauty Standard ในตลาดเอเชีย

คุณรู้สึกว่าตัวเองสวยไหม ถ้าไม่…แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะรู้สึกว่าตัวเองสวย Beauty Standard หรือมาตรฐานความงามที่สังคมคาดหวังไว้นั้นกลายเป็นเรื่องร้อนที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในระยะเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เพราะเราต่างตระหนักชัดว่า ‘รูปร่างหน้าตา’ ส่งผลอย่างมากต่อโอกาสในการใช้ชีวิต เราอาจได้เห็น Movement ที่น่าสนใจจากทางฝั่งตะวันตกที่ผลักดันให้ความงามมีความหลากหลายมากขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ชุดชั้นในชื่อดังที่เลือกนางแบบ Plus-size ขึ้นไปเดินบนเวทีใหญ่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน การเติบโตขึ้นของจำนวนโมเดลผิวสีบนหน้าปกนิตยสาร หรือแม้แต่วงการบันเทิงเอง เราก็ได้เห็นความพยายามทลายกรอบทั้งความงามและเชื้อชาติผ่านการคัดเลือกนักแสดงที่มีรูปลักษณ์หลากหลายมากขึ้น กลับมามองใกล้ตัวอีกนิด ในเอเชียหรือในประเทศไทยเอง สังคมของเรามีการรับรู้ที่เปลี่ยนไปอย่างไรในประเด็น Beauty Standard นี้บ้าง ลองมาฟังจาก มาดี้ รอซ (Madi Ross) และ ลักษณ์-สิริลักษณ์ กุลธรรมโยธิน สองสาวผู้ทำงานในวงการความงามมานาน จนหันมาขับเคลื่อนเรื่องมาตรฐานความงามผ่านธุรกิจ Skincare ของตัวเอง ภายใต้แบรนด์ SeaSun Society ที่ขอท้าทายความเชื่อของชาวเอเชียที่ว่า สวยเท่ากับผิวขาว สวย ≠ ขาว ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน มาดี้กับลักษณ์ได้พบกันผ่านงานของทั้งคู่ มาดี้เป็นนางแบบที่เดินทางไปทำงานทั่วโลก ส่วนลักษณ์คืออดีตนางแบบที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดการให้เธอ ชีวิตของทั้งคู่จึงวนเวียนอยู่ในวงการความสวยความงามอย่างไม่ต้องสงสัย และสิ่งที่ทั้งคู่มองเห็นตรงกันจากประสบการณ์ทำงานในประเทศไทยหรือเอเชียก็คือการตั้งมาตรฐานความงามที่ไม่โอบรับความแตกต่างของผู้คน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.