Acousticity | ภูมิจิต ชีพจร Live Session @ป้ายรถเมล์

‘เช้าที่ตื่นขึ้นมารีบขึ้นรถเมล์สาย 29 ยืนเบียดๆ เสียดๆ จุดหมายปลายทางคือหมอชิต กว่าจะลงรถก็ติดเหลือเกิน’ หนึ่งท่อนในเนื้อเพลง ‘ชีพจร’ ที่สะท้อนชีวิตและภาพของเมืองกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ความวุ่นวายจากชีวิตที่ต้องตื่นเช้าไปทำงานในทุกวันที่หลายคนคงมีจุดร่วมกันภายใต้เมืองนี้ จนหลายๆ ครั้งเรามัวแต่เสียเวลาชีวิตไปกับการทำงาน จนหลงลืมความฝันหรือจุดหมายปลายทางที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หากวันนี้พลังของคุณเหลือน้อยเต็มที เราอยากให้คุณลองฟังเพลงนี้ เพื่อหวังว่าชีพจรของคุณจะกลับมามีแรงอีกครั้งและก้าวเดินต่อไปอย่างมีพลัง วันนี้ Urban Creature ชวน ‘ภูมิจิต’ ศิลปินอิสระ มาบรรเลงเพลง ชีพจร ให้ทุกคนฟังกันที่ป้ายรถเมล์ย่านเอกมัย ในรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน สามารถติดตามวงภูมิจิตได้ที่ : www.facebook.com/poomjitband และ www.instagram.com/poomjitband

Acousticity | Whal & Dolph ดีใจรึเปล่า Live Session @GalileOasis

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ Acousticity รายการเพลงครั้งแรกของ Urban Creature ที่จะชวนศิลปินมาเล่นเพลงเวอร์ชัน Acoustic ในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน ฟังเพลง ดีใจรึเปล่า (D JAI) จาก Whal & Dolph ศิลปินจากค่าย What The Duck กับพื้นที่ที่สำคัญของ ‘ปอ’ ณ GalileOasis โรงละครใจกลางย่านราชเทวี พื้นที่โอเอซิสสีเขียวที่มีความสำคัญต่อชีวิตของปอ ทั้งเป็นสถานที่มาเดตกับภรรยาตั้งแต่ยังเป็นแฟน เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงานแต่งงาน อีกทั้งยังถ่าย Music Video ที่นี่อีก Urban Creature เลยขอชวน Whal & Dolph มาเล่นในพื้นที่นี้อีกครั้งเป็นการบันทึกความทรงจำ พบ Acousticity ทุกเดือนตลอดปีนี้ แฟนๆ ศิลปินอยากฟังเพลงไหน สถานที่ใด คอมเมนต์ไว้ได้เลย

บางเรื่องของ ‘บางลำพู’ ย่านท่องเที่ยวหลากวัฒนธรรม

‘บางลำพู’ ย่านท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง ที่มีถนนข้าวสาร จุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของชาวต่างชาติที่มาเยือนกรุงเทพฯ ชวนไปดูว่า บางลำพูปรับตัวอย่างไร จึงสามารถเอาตัวรอด ฟื้นฟูตัวเอง และกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์โรคระบาด จนรักษาชื่อให้เป็นย่านที่นักท่องเที่ยวยังคงตั้งใจมาเยือน บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

บางเรื่องของ ‘บางระมาด’ ชนบทในเมืองหลวงที่ยังหลงเหลืออยู่

‘บางระมาด’ ย่านสวนผลไม้และการเกษตรท้องถิ่น ของคนกรุงเทพฯ ที่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตชนบท ที่หาได้ยากขึ้นในเมืองกรุง ปัจจุบันบางระมาดเป็นที่รู้จักในฐานะชนบทในเมือง ด้วยบรรยากาศสีเขียว ปลีกตัวจากความวุ่นวายในเมือง เชื้อเชิญผู้คนมาท่องเที่ยวซึมซับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ลิ้มรสอาหารและผลไม้ท้องถิ่นที่หาได้ไม่ง่ายในกรุงเทพฯ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

บางเรื่องของ ‘บางรัก’ ย่านการค้าสร้างสรรค์ที่นำเทรนด์มาแต่ไหนแต่ไร

สถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นหลากยุคปะปนไปกับอาคารเก่า ร้านเพชรพลอยของประดับโบราณเก่าแก่ เคล้ากับพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ คือเสน่ห์ของ ‘บางรัก’ ที่คนในชุมชนเองยังออกปากว่า เป็นย่านที่ ‘อินเทรนด์’ มาแต่ไหนแต่ไร บางรักหรือย่านที่คนยุคใหม่คุ้นเคยในชื่อเขตเจริญกรุง มีประวัติศาสตร์ในฐานะย่านเศรษฐกิจจากการเป็น พื้นที่การค้าของแขกบ้านแขกเรือน เกิดชุมชนหรือร้านค้า ที่รองรับรสนิยมและวัฒนธรรมหลากหลายที่หลั่งไหลเข้ามา จนถึงปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่ก็ผลักดันความสร้างสรรค์ให้กับย่านแห่งนี้ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

บางเรื่องของ ‘บางโพ’ ชุมชนช่างไม้หลากหลายที่สุดในกรุงเทพฯ

‘บางโพ’ ย่านที่หลายคนในกรุงเทพฯ ต่างจดจำได้ ในฐานะย่านที่มีสาวคิ้วโก้ หน้ากลม ผมยาว แต่ในอีกมุม บางโพถือเป็นชุมชนเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ ยาวนานในฐานะ ‘ย่านค้าไม้’ ที่เป็นที่นิยมที่สุดยุคหนึ่งในกรุงเทพฯ ปัจจุบันบางโพปรับตัว เพิ่มเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง เป็นย่านสร้างสรรค์ที่อยากเชิญชวนทุกคนที่มีห้องหรือบ้านในฝัน และมองหาเฟอร์นิเจอร์ไม้หลากหลายรูปแบบมาเลือกหาสินค้าประจำย่าน ที่รับรองได้เลยว่า ย่านค้าไม้แห่งนี้ ‘โก้’ ไม่แพ้สาวบางโพจริงๆ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit

จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece

บางเรื่องของ ‘บางกอก’ ชีวิตริมน้ำและรากฐานของกรุงเทพมหานคร

‘บางกอก’ พื้นที่เกาะที่เกิดจากการขุดคลองสัญจรทางน้ำ สู่ชุมชนดั้งเดิมของคนกรุงเทพฯ ที่ยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งยุค พ.ศ. 2500 ที่ยังคงใช้คำว่าบางกอกเป็นชื่อเรียกขานเมืองหลวงแห่งสยาม ขึ้นเรือสำรวจบางกอกผ่านคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ที่ตั้งของชุมชนคนเมืองดั้งเดิมอายุร่วมร้อยปี จนถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เชิงวิถีอนุรักษ์แบบใหม่ ย้อนเวลากลับไปยังครั้งที่กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญ กับการจราจรทางน้ำ ทั้งความเป็นอยู่ การค้า การขนส่ง จนถึงภูมิปัญญาการปลูก เรือนริมน้ำของคนในอดีตที่ปัจจุบันยังพบเห็นได้ทั้งสองข้างทาง บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

DRINKS ON ME เว็บไซต์บาร์ทิพย์ฮีลใจ

เมื่อเรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด เหงา หรือเศร้า หลายๆ คนคงมีการระบายความรู้สึกที่แตกต่างกันไป บางคนอาจไปออกกำลังกายให้เหงื่อออกแทนน้ำตา บางคนอาจไปดื่มเพื่อให้ลืมเธอในแต่ละวัน แต่สุดท้ายความรู้สึกนี้อาจไม่หายไปตราบที่เรายังไม่ได้พูดระบายมันออกมา จะดีกว่าไหมหากเราระบายความรู้สึกเหล่านี้แล้วไม่ต้องกลัวว่ามันจะดูไม่ดีหรือกระทบความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว drinksonme.live คือเว็บไซต์ที่จะพาคุณไปคุยกับคนแปลกหน้า พร้อมเสียงเพลงและบรรยากาศราวกับอยู่ในบาร์ เริ่มต้นบทสนทนาด้วยค็อกเทลที่บอกความรู้สึกของตัวเราในวันนี้ พร้อมสกินแต่งตัวน่ารักๆ อีกมากมายให้เราได้เลือกสรร อีกทั้งได้เริ่มมีการขยับจากการคุยในบาร์ทิพย์กลายเป็นกิจกรรมการคุยกับคนแปลกหน้าในบาร์จริงทุกๆ เดือน เพื่อที่จะได้มารีเฟลกซ์ความรู้สึกของตัวเองหรือฮีลใจกันและกัน “ทำไมการคุยกับคนไม่รู้จักกันมันถึงฮีลใจกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ อันนี้เป็นฟีดแบ็กที่คนบอกเรามาหลังจากเข้าอีเวนต์ตลอด” Urban Creature คุยกับ ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ถึงที่มาที่ไปของเว็บไซต์ และความสำคัญของการฮีลใจที่เราอาจทำไม่ได้ด้วยตัวเองก็ลองให้คนแปลกหน้าเข้ามาช่วยเรา

ป๊อก ป๊อก รับหิ้วมื้อเด็ดส่งถึงที่

หากเราขี้เกียจจะเดินออกไปกินข้าวแต่อยากกินอาหารมากมาย สิ่งที่เราทำก็คงหนีไม่พ้นการสั่ง Food Delivery ให้มาส่งถึงหน้าบ้านของเรา แต่กว่าจะเลือกอาหารที่จะกินได้ก็คงเสียเวลาเลือกร้านอาหารที่ถูกใจไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมถ้าหากมีบริการที่เลือกร้านอาหารเด็ดมาให้แล้วเราแค่เลือกจากในนั้น Pok Pok คือแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเด็ดมากมาย จนเหมือนกับเราไปเดินหาของกินใน Food Court ที่มีทั้งร้านดังที่มีชื่อเสียง หรือร้านเด็ดประจำถิ่น รับหิ้วมาให้เราในครั้งเดียว และหลายครั้งยังบริการส่งอาหารข้ามโซนโดยไม่เสียค่าส่ง อีกทั้งวิธีการที่ Pok Pok ให้ลูกค้าสั่งอาหารนั้นก็ง่ายดายจนติดใจกลุ่มผู้สูงวัยจนกลายเป็นลูกค้าประจำ Urban Creature คุยกับ ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok ถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ และความคาดหวังที่จะกลายเป็น 1 ใน Food Delivery ที่ใครๆ ก็หันมาใช้กัน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.