Acousticity | Purpeech รักรออยู่ไม่ไกล Live Session @Whattheduck

‘บ้าน’ สถานที่ที่หลายคนอยู่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และคงมีหลายครั้งที่เราอาจต้องห่างไกลจากบ้านหลังเดิมด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป บางคนอาจจะออกมาเพื่อเดินตามความฝันเช่นเดียวกับวงดนตรี ‘Purpeech’ ที่ห่างไกลจากเชียงใหม่และต้องย้ายมาบ้านหลังใหม่ที่กรุงเทพฯ จนทำให้เกิดเพลงที่เล่าเรื่องราวการไกลบ้านของพวกเขาอย่างเพลง ‘รักรออยู่ไม่ไกล’ Urban Creature เลยชวน Purpeech มาบรรเลงเพลงที่ ‘What The Duck’ บ้านหลังใหม่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นไม่ไกลบ้านจนกลายเป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา พร้อมทั้งคุยถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมหลังย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้

แปรรูปโกโก้ในโรงงานช็อกโกแลต Infinite Cacao | The Professional

‘โกโก้’ เครื่องดื่มหวานๆ ที่หลายคนอาจโปรดปราน แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะมาเป็นรสชาตินี้ โกโก้ถูกแปรรูปมาสารพัดวิธีเพื่อให้นำมาชงกินได้ง่ายในทุกวัน ขณะเดียวกัน ระหว่างทางการแปรรูปก็มีส่วนที่ต้องทิ้งตามรายทางไปอย่างเปล่าประโยชน์ “โกโก้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ มันจะกลายเป็นช็อกโกแลตให้เราจริงๆ แค่ห้าเปอร์เซ็นต์ ถ้าเราแกะผลสดออกมา มันจะมีเมล็ดข้างในอยู่ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือคือเปลือกเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ มันยังเหลือขยะอีกหลายๆ ส่วนที่เรายังไม่ได้ต่อยอดหรือยังไม่เห็น” Urban Creature คุยกับ ‘อาร์ม-ปฤญจ์ นิพัทธโกศลสุข’ เจ้าของโรงงานช็อกโกแลต ‘Infinite Cacao’ ในจังหวัดระยอง ผู้ซึ่งมองว่าโกโก้สามารถแปรรูปได้ทุกส่วนและต่อยอดไปได้อย่างไม่รู้จบ

‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม

‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว

Acousticity | ภูมิจิต ชีพจร Live Session @ป้ายรถเมล์

‘เช้าที่ตื่นขึ้นมารีบขึ้นรถเมล์สาย 29 ยืนเบียดๆ เสียดๆ จุดหมายปลายทางคือหมอชิต กว่าจะลงรถก็ติดเหลือเกิน’ หนึ่งท่อนในเนื้อเพลง ‘ชีพจร’ ที่สะท้อนชีวิตและภาพของเมืองกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ความวุ่นวายจากชีวิตที่ต้องตื่นเช้าไปทำงานในทุกวันที่หลายคนคงมีจุดร่วมกันภายใต้เมืองนี้ จนหลายๆ ครั้งเรามัวแต่เสียเวลาชีวิตไปกับการทำงาน จนหลงลืมความฝันหรือจุดหมายปลายทางที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หากวันนี้พลังของคุณเหลือน้อยเต็มที เราอยากให้คุณลองฟังเพลงนี้ เพื่อหวังว่าชีพจรของคุณจะกลับมามีแรงอีกครั้งและก้าวเดินต่อไปอย่างมีพลัง วันนี้ Urban Creature ชวน ‘ภูมิจิต’ ศิลปินอิสระ มาบรรเลงเพลง ชีพจร ให้ทุกคนฟังกันที่ป้ายรถเมล์ย่านเอกมัย ในรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน สามารถติดตามวงภูมิจิตได้ที่ : www.facebook.com/poomjitband และ www.instagram.com/poomjitband

Acousticity | Whal & Dolph ดีใจรึเปล่า Live Session @GalileOasis

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ Acousticity รายการเพลงครั้งแรกของ Urban Creature ที่จะชวนศิลปินมาเล่นเพลงเวอร์ชัน Acoustic ในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน ฟังเพลง ดีใจรึเปล่า (D JAI) จาก Whal & Dolph ศิลปินจากค่าย What The Duck กับพื้นที่ที่สำคัญของ ‘ปอ’ ณ GalileOasis โรงละครใจกลางย่านราชเทวี พื้นที่โอเอซิสสีเขียวที่มีความสำคัญต่อชีวิตของปอ ทั้งเป็นสถานที่มาเดตกับภรรยาตั้งแต่ยังเป็นแฟน เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงานแต่งงาน อีกทั้งยังถ่าย Music Video ที่นี่อีก Urban Creature เลยขอชวน Whal & Dolph มาเล่นในพื้นที่นี้อีกครั้งเป็นการบันทึกความทรงจำ พบ Acousticity ทุกเดือนตลอดปีนี้ แฟนๆ ศิลปินอยากฟังเพลงไหน สถานที่ใด คอมเมนต์ไว้ได้เลย

บางเรื่องของ ‘บางลำพู’ ย่านท่องเที่ยวหลากวัฒนธรรม

‘บางลำพู’ ย่านท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง ที่มีถนนข้าวสาร จุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของชาวต่างชาติที่มาเยือนกรุงเทพฯ ชวนไปดูว่า บางลำพูปรับตัวอย่างไร จึงสามารถเอาตัวรอด ฟื้นฟูตัวเอง และกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์โรคระบาด จนรักษาชื่อให้เป็นย่านที่นักท่องเที่ยวยังคงตั้งใจมาเยือน บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

บางเรื่องของ ‘บางระมาด’ ชนบทในเมืองหลวงที่ยังหลงเหลืออยู่

‘บางระมาด’ ย่านสวนผลไม้และการเกษตรท้องถิ่น ของคนกรุงเทพฯ ที่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตชนบท ที่หาได้ยากขึ้นในเมืองกรุง ปัจจุบันบางระมาดเป็นที่รู้จักในฐานะชนบทในเมือง ด้วยบรรยากาศสีเขียว ปลีกตัวจากความวุ่นวายในเมือง เชื้อเชิญผู้คนมาท่องเที่ยวซึมซับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ลิ้มรสอาหารและผลไม้ท้องถิ่นที่หาได้ไม่ง่ายในกรุงเทพฯ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

บางเรื่องของ ‘บางรัก’ ย่านการค้าสร้างสรรค์ที่นำเทรนด์มาแต่ไหนแต่ไร

สถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นหลากยุคปะปนไปกับอาคารเก่า ร้านเพชรพลอยของประดับโบราณเก่าแก่ เคล้ากับพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ คือเสน่ห์ของ ‘บางรัก’ ที่คนในชุมชนเองยังออกปากว่า เป็นย่านที่ ‘อินเทรนด์’ มาแต่ไหนแต่ไร บางรักหรือย่านที่คนยุคใหม่คุ้นเคยในชื่อเขตเจริญกรุง มีประวัติศาสตร์ในฐานะย่านเศรษฐกิจจากการเป็น พื้นที่การค้าของแขกบ้านแขกเรือน เกิดชุมชนหรือร้านค้า ที่รองรับรสนิยมและวัฒนธรรมหลากหลายที่หลั่งไหลเข้ามา จนถึงปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่ก็ผลักดันความสร้างสรรค์ให้กับย่านแห่งนี้ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

บางเรื่องของ ‘บางโพ’ ชุมชนช่างไม้หลากหลายที่สุดในกรุงเทพฯ

‘บางโพ’ ย่านที่หลายคนในกรุงเทพฯ ต่างจดจำได้ ในฐานะย่านที่มีสาวคิ้วโก้ หน้ากลม ผมยาว แต่ในอีกมุม บางโพถือเป็นชุมชนเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ ยาวนานในฐานะ ‘ย่านค้าไม้’ ที่เป็นที่นิยมที่สุดยุคหนึ่งในกรุงเทพฯ ปัจจุบันบางโพปรับตัว เพิ่มเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง เป็นย่านสร้างสรรค์ที่อยากเชิญชวนทุกคนที่มีห้องหรือบ้านในฝัน และมองหาเฟอร์นิเจอร์ไม้หลากหลายรูปแบบมาเลือกหาสินค้าประจำย่าน ที่รับรองได้เลยว่า ย่านค้าไม้แห่งนี้ ‘โก้’ ไม่แพ้สาวบางโพจริงๆ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit

จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece

บางเรื่องของ ‘บางกอก’ ชีวิตริมน้ำและรากฐานของกรุงเทพมหานคร

‘บางกอก’ พื้นที่เกาะที่เกิดจากการขุดคลองสัญจรทางน้ำ สู่ชุมชนดั้งเดิมของคนกรุงเทพฯ ที่ยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งยุค พ.ศ. 2500 ที่ยังคงใช้คำว่าบางกอกเป็นชื่อเรียกขานเมืองหลวงแห่งสยาม ขึ้นเรือสำรวจบางกอกผ่านคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ที่ตั้งของชุมชนคนเมืองดั้งเดิมอายุร่วมร้อยปี จนถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เชิงวิถีอนุรักษ์แบบใหม่ ย้อนเวลากลับไปยังครั้งที่กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญ กับการจราจรทางน้ำ ทั้งความเป็นอยู่ การค้า การขนส่ง จนถึงภูมิปัญญาการปลูก เรือนริมน้ำของคนในอดีตที่ปัจจุบันยังพบเห็นได้ทั้งสองข้างทาง บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.