สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่

นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]

ถนนท่าแพ ตามนักสะสมของพม่าไปชมวัดพม่าในเชียงใหม่

ใช่ว่าเชียงใหม่จะมีแค่วัดวาอารามศิลปะล้านนา หากแต่บนถนนท่าแพ ถนนสายเศรษฐกิจดั้งเดิมที่โดดเด่นด้วยทิวอาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ยังมีวัดเก่าแก่ที่สะท้อนอิทธิพลของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพม่าอายุเกินร้อยปีแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืนและสง่างาม ดังชื่อบทความ เราจะพาเดินสำรวจมรดกจากศิลปะพม่า รวมถึงย้อนรอยถึงที่มาของวัดวาอารามบนถนนสายนี้ แต่ก่อนอื่น มีบุคคลสองท่านที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘จ่อย-อินทนนท์ สุกกรี’ คือชื่อแรก ชายชาวเชียงใหม่ลูกเสี้ยวพม่าวัยสามสิบเศษ นักสะสมของเก่า และเจ้าของร้าน ‘ชเว ผ้าพิมพ์ลุนตยา’ เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จ่อยได้ร่วมกับกลุ่มแม่ข่าซิตี้แลป จัดกิจกรรม ‘Mae Kha Walk Along เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า’ พาผู้ที่สนใจไปเดินชมสถาปัตยกรรมแบบพม่าในวัดบนถนนท่าแพ ถนนสายสำคัญที่ลำน้ำแม่ข่าตัดผ่าน อันเป็นที่มาของบทความนี้ ส่วนคนที่สอง หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะมีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว ‘เมาง์ปานโหย่ว’ หรือ ‘รองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้สักจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ที่ต่อมากลายเป็นคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากดินแดนบ้านเกิดมาสู่เชียงใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งบนถนนท่าแพ อันเป็นที่มาของกิจกรรมครั้งนี้ “จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี (พ.ศ. 2101 – 2317) แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ของอิทธิพลจากศิลปกรรมจากพม่าในสมัยนั้นก็มีอยู่น้อยเต็มที ในขณะที่ศิลปะพม่ามาเบ่งบานในเมืองนี้ โดยเฉพาะบนถนนสายนี้จริงๆ คือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะเหตุผลด้านการเมือง แต่เป็นผลพวงจากการค้าขาย ซึ่งวันนี้เราจะไปตามรอยกัน” จ่อย ไกด์อาสาในทริปนี้กล่าว […]

ตรอกช้างม่อย-หลืบราชวงศ์ สำรวจพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ที่ซ่อนตัวในแหล่งการค้าเก่าของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยมีความยาวราวหนึ่งกิโลเมตร วางตัวขนานกับถนนท่าแพ เชื่อมคูเมืองโบราณใจกลางเมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่เข้ากับพื้นที่เลียบแม่น้ำปิง ส่วนถนนราชวงศ์เป็นถนนสายสั้นที่ตัดผ่านถนนช้างม่อยบริเวณซุ้มประตูทางเข้าตลาดวโรรส ทั้งสองเป็นถนนสายรองที่เรียงรายไปด้วยอาคารเก่าแก่กว่า 50 ปี ซึ่งเป็นทั้งร้านค้าและโกดังเก็บสินค้าของผู้ประกอบการรุ่นต่อรุ่น พร้อมไปกับกระแสการฟื้นฟูย่านเก่าด้วยรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก จากย่านเก่าแก่ที่หลายคนเคยมองข้าม ช้างม่อยและราชวงศ์ก็ตกอยู่ภายใต้แสงสปอตไลต์ และดูเหมือนจะถูกมองว่าเป็น ‘ย่านนิมมานเหมินท์ใหม่’ ในสายตาของนักท่องเที่ยว แม้จะมีการเปรียบเปรยเช่นนั้น แต่ช้างม่อย-ราชวงศ์ กลับมีเอกลักษณ์ที่ต่างออกไปจากพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินใหม่อย่างนิมมานเหมินท์อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากต้นทุนดั้งเดิมของย่านคืออาคารเก่า เราจึงพบรูปแบบ Mixed-use ผสานความเก่า-ใหม่ภายในพื้นที่อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ที่ซ่อนตัวอยู่บนพื้นที่ชั้นบนของร้านค้าเก่าแก่ที่ยังคงเปิดกิจการ ร้านขายเสื้อผ้าในโกดังที่เคยร้าง หรือกระทั่งโชว์รูมสินค้าดีไซเนอร์ที่ตั้งอยู่กลางชุมชน เป็นอาทิ ไม่ว่าจะตั้งใจให้เป็นหรือไม่ รูปแบบของการผสมผสานการใช้งานเหล่านี้ได้มาพร้อมการสร้างนิยามของการเป็นย่านสร้างสรรค์ให้กับเมืองเชียงใหม่ไปโดยปริยาย ทั้งจากการประยุกต์ใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด การดึงดูดให้คนทำงานสร้างสรรค์หรือผู้ที่สนใจธุรกิจเข้ามาใช้พื้นที่ รวมถึงการมีพลวัตของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คอลัมน์ Neighboroot ชวนไปเลาะตรอกซอย และเดินขึ้นชั้นสองของอาคารในย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ เพื่อสำรวจที่มาและพัฒนาการของย่าน ผ่านมุมมอง ‘คนใน’ ที่มีส่วนในการพลิกโฉมพื้นที่แห่งนี้ Brewginning : จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน เริ่มกันที่หัวถนนช้างม่อย บริเวณสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนช้างม่อยสายเก่ากับสายใหม่ อันเป็นศูนย์รวมร้านขายเครื่องหวายเก่าแก่ในย่านเมืองเก่า ที่นี่คือที่ตั้งของ Brewginning Coffee ร้านกาแฟในอาคารปูนสไตล์โมเดิร์นผสมกลิ่นอายอาร์ตเดโค อายุเกินครึ่งศตวรรษ ร้านที่เรามองว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่เปลี่ยนภาพจำของย่านนี้ไปโดยสิ้นเชิง ‘โชค-พีรณัฐ กาบเปง’ เจ้าของร้าน เคยทำงานในร้านกาแฟที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.