ทุกครั้งที่มีการจัดอันดับประเทศในด้านดีๆ ‘ฟินแลนด์’ ดินแดนแห่งความสุขนี้ไม่เคยหลุดอันดับเลยสักครั้ง แม้จะเป็นที่รู้กันว่า นี่คืออีกหนึ่งประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ สวนทางกับสังคมผู้สูงอายุที่เติบโตขึ้นในทุกวัน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ฟินแลนด์เพิกเฉย ด้วยการแจกคูปองให้คุณปู่คุณย่าได้เข้ายิมออกกำลังกายกันแบบไม่ต้องเสียเงินสักบาท
สูงวัยได้ แต่สุขภาพต้องดี
นายกเทศมนตรีของเมืองคูร์ริกา ประเทศฟินแลนด์ ได้ลุยโปรเจกต์เพื่อสังคมสูงวัย ด้วยการแจกคูปองให้ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปได้ใช้ยิมกันแบบฟรีๆ โดยเขามองว่า สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของผู้สูงอายุนั้นจะช่วยประหยัดค่าดูแลรักษาในระยะยาว
ออกแบบยิม ที่ทำให้ผู้สูงอายุยิ้มได้
เมื่อคุณปู่คุณย่าเข้ามาใน ‘HUR’ ซึ่งเป็นยิมที่พัฒนาเพื่อผู้พิการและผู้สูงวัยโดยมหาวิทยาลัยในฟินแลนด์ ซึ่งนอกจากจะมีเสียงเพลงเปิดคลอเพื่อบำบัดสุขภาพจิตแล้ว ยังมีสายรัดข้อมือที่เชื่อมต่อกับเครื่องออกกำลังกาย โดยจะมีโปรแกรมสำหรับผู้สูงอายุ และวิธีการใช้งานที่บอกหมดทุกขั้นตอนอีกด้วย
RELATED POSTS
‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน
เรื่อง
มะเฟือง
เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]
รู้จักกับ ‘The Offline Club’ คอมมูนิตี้ที่พาทุกคนห่างไกลจากมือถือ และกลับไปใกล้ชิดกับตัวเองและคนใกล้ตัว
เรื่อง
Urban Creature
มนุษย์ปัจจุบันนี้ใช้เครื่องมือสื่อสารท่องโลกออนไลน์เป็นความเคยชิน จนบางทีเราติดกับการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานโดยไม่ได้คำนึงถึงโลกภายนอก ‘The Offline Club’ คือคอมมูนิตี้สุดเจ๋งที่ ‘Ilya Kneppelhout’ และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง ‘Valentijn Klok’ และ ‘Jordy van Bennekom’ ริเริ่มขึ้นในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พวกเขานิยามไอเดียของคอมมูนิตี้นี้ว่า ‘Swap screen time for real time.’ ที่หมายถึง เปลี่ยนเวลาที่อยู่หน้าจอให้เป็นเวลาในชีวิตจริง โดย The Offline Club จะนัดรวมตัวกันที่คาเฟ่ต่างๆ แล้วเบรกตัวเองจากการใช้โทรศัพท์มาลองทำกิจกรรมออฟไลน์อื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ พูดคุยกับคนใหม่ๆ วาดภาพ เป็นต้น โดยกิจกรรมในแต่ละครั้งของ The Offline Club จะเริ่มจากการให้ผู้คนได้พูดคุยกันในตอนแรก ต่อด้วยการอยู่กับตัวเองภายใน 45 นาที และใช้เวลาอีก 1 ชั่วโมงให้เราเชื่อมต่อกับบรรยากาศของผู้คน รวมถึงใช้เวลาอยู่เงียบๆ กับตัวเองในช่วง 30 นาทีสุดท้าย เหล่าผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้นี้เชื่อว่า The Offline […]
ชวนมองสังคมผู้สูงอายุแบบนอกกรอบที่งาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023 Out of the Box Aging’ เข้าร่วมฟรี 18 พ.ย. 66 ที่ True Digital Park
เรื่อง
Urban Creature
การก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ’ (Aged Society) เป็นความท้าทายสำคัญที่ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนวัยเกษียณทุกคน เพราะเชื่อว่าชีวิตดีๆ สร้างได้ทุกวัย สื่อที่ถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมผู้สูงวัยในมุมที่สนุกและสร้างสรรค์อย่าง มนุษย์ต่างวัย ได้จัดงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023 Out of the Box Aging’ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะชวนให้คนทุกวัยมองสังคมผู้สูงอายุแบบนอกกรอบ และลบภาพจำเดิมๆ ที่มีต่อประชากรกลุ่มนี้ ภายในงานจะมี ‘เวทีทอล์ก’ ที่ช่วยเปิดมุมมอง กระตุกต่อมคิด สร้างแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลอินไซต์จากเหล่าผู้บรรยายจากไทยและต่างประเทศ ที่จะมานำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางธุรกิจในสังคมสูงวัย ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพดีๆ ที่อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปอย่างคาดไม่ถึง รวมถึงเรื่องราวการร่วมมือกันระหว่างคนต่างวัย และประสบการณ์ชีวิตของคนรุ่นใหญ่ที่จะทำให้ใจผู้เข้าร่วมงานมีพลังในการเติบโตอย่างไม่รู้จบ เท่านั้นยังไม่พอ งานนี้ยังมี 5 เวิร์กช็อปด้านการงานและการใช้ชีวิตสำหรับคนเตรียมตัวเกษียณและทุกคนที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว แฟชั่นวินเทจ การเสริมสร้างพลังกายและพลังใจ โอกาสในโลกดิจิทัล และการเงิน รวมถึงโซน Market & Space ตลาดที่ไม่ได้ขายแค่สินค้าเท่านั้น แต่ยังนำเสนอไอเดีย สร้างแรงบันดาลใจ ชวนคนรุ่นใหญ่ให้มองเห็นโอกาสในการงานและการใช้ชีวิตในหลากหลายแง่มุม เพื่อสร้างรายได้ สร้างคุณค่าในตัวเอง […]
Song from the Past เสียงเพลงจากวันวาน
เรื่อง
เจนวิทย์ สุธนะสิริชัย
เสียงขับร้องเพลงลูกกรุงที่ผมได้ยินอย่างไม่ตั้งใจ ทำให้ขาของผมก้าวตามไปอย่างอดใจไม่ได้ อาจเพราะความทรงจำในวัยเยาว์ที่ทำให้ผมหวนรำลึกถึงท่วงทำนองและ เสียงเพลงอันคุ้นเคย ร้านคาราโอเกะเป็นแหล่งรวมตัวของผู้สูงอายุที่ล้วนมีความชอบในสิ่งเดียวกัน บางคนมาเพื่อร้องเพลง บางคนมาเพื่อนั่งฟัง และบางคนมาเพื่อคลายเหงา มาบ่อยจนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและความทรงจำ น่าเสียดายอยู่ไม่น้อยถ้าสิ่งเหล่านี้กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา เพราะสำหรับผม สิ่งเหล่านี้เปรียบได้ว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ผมผ่านมาเพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งไว้เท่านั้น ทั้งหมดเกิดจากความบังเอิญอย่างไม่ตั้งใจ ในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเหมาะแก่การออกไปข้างนอก วันนั้นผมมีธุระที่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนักที่ต้องออกไปทำ ผมโบกมือเรียกรถแท็กซี่จากหน้าคอนโดฯ แห่งหนึ่งย่านเตาปูน จุดหมายปลายทางคือวังบูรพา โชเฟอร์เลือกใช้เส้นทางผ่านหน้ารัฐสภา ซึ่งในเวลานั้นเองถนนเส้นนั้นมีการขุดถนนเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่พอดี ฝุ่นตลบอบอวลไปทั้งสองข้างทาง บดบังทัศนียภาพอันแสนสดใสของวันนั้นไป เวลาล่วงเลยมาเกือบชั่วโมงเศษๆ กับการที่ผมนั่งอยู่ในรถที่การสัญจรบนถนนเป็นไปอย่างยากลำบาก พร้อมกับสภาวะท้องไส้ปั่นป่วนของตัวเองที่ส่งสัญญาณให้รับรู้ว่าต้องการห้องน้ำที่ใกล้ที่สุด ผมตัดสินใจบอกกับลุงโชเฟอร์ว่าขอลงรถตรงตลาดศรีย่าน ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำตัวกับท่านผู้อ่าน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความสงสัยกันไปมากกว่านี้ว่าตัวผมเองนั้นคือใคร มาจากไหน ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เติบโตมาในย่านสำเพ็งเยาวราช พออายุสิบสามปีก็ย้ายที่อยู่มาอยู่แถวสี่แยกพิชัย (แถวๆ ตลาดศรีย่านนั่นแหละ) นั่นทำให้ผมมีความชำนาญพื้นที่ละแวกนั้นอยู่พอสมควร ผมรีบเดินปรี่เข้าไปหาห้องน้ำที่ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งในย่านนั้น ภาพในหัวของผมเมื่อเข้าไปที่ห้างฯ แห่งนั้น ทำให้นึกย้อนถึงวันวานสมัยยังเด็กที่ได้แวะเวียนมาใช้บริการและซื้อของเล่นเป็นบางครั้งบางคราว แต่นั่นเป็นเพียงภาพในความทรงจำเท่านั้น เพราะสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือภาพห้างฯ ที่เปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมอยู่เลย ศูนย์อาหารที่แทบจะร้าง ประตูมู่ลี่ของร้านค้าต่างๆ ปิดลง หลงเหลือไว้แต่ร่องรอยของป้ายที่บอกว่าร้านค้าเหล่านั้นเคยเป็นร้านเครื่องเสียงมาก่อน ในขณะเดียวกัน ผมได้ยินเสียงเพลงที่ไม่สามารถห้ามไม่ให้ตัวเองเดินตามเสียงเหล่านั้นไป “แม้นใจเอื้อเชื่อคำน้ำใจ จะไม่เปลี่ยนกลาย คล้ายน้ำตกหลั่งไหลไม่วาย รักคงไม่หน่ายแนบเคียงทุกครา ขอรักจนกว่าชีวาสลายลาญ” เนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงวิมานรักห้วยแก้ว โดย […]