A bond of Love : เมื่อความผูกพันซื้อความรักส์ไม่ได้

เมื่อเราโตขึ้นเป็นธรรมดาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทางพฤติกรรมภายนอกที่สังเกตเห็นได้ด้วยตา หรือการเปลี่ยนแปลงภายในที่ต้องใช้ใจสัมผัส หรือแม้กระทั่งฮอร์โมนสารสื่อประสาท ไปจนถึงการทำงานของเซลล์สมอง ล่วงเลยมาจนถึงห้วงเวลาสำคัญ มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการมีความรัก เมื่อใครสักคนเริ่มก้าวเข้ามาในชีวิต หลายครั้งที่ความผูกพันถูกพัฒนากลายเป็นความรัก แต่กับบางคนมันอาจไม่ใช่อย่างที่เราคิด จนทำให้บางครั้งเราสับสันและไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ และตัวตนของเขาหรือเธอคนนั้นเลย หรือจริงๆ แล้วความรักอาจไม่ใช่แค่เรื่องของหัวใจ แต่มันสามารถเข้าใจได้ด้วยหลักจิตวิทยา Attachment Theory | ทฤษฎีความผูกพัน ทฤษฎีความผูกพัน หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment theory) เป็นหนึ่งในแบบจำลองทางจิตวิทยา ที่อธิบายถึงความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่โดยพื้นฐานแล้วเด็กทุกคนเมื่อเกิดมามักจะมีความผูกพันกับผู้ที่ให้กำเนิดหรือผู้ที่เลี้ยงดู แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยนักจิตวิทยา ‘จอห์น โบลบี (John Bowlby)’ ผู้สร้างทฤษฎีความผูกพัน ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า พฤติกรรมความรู้สึกผูกพันที่เกิดขึ้นนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกระบวนการ ‘คัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection)’ และ ‘การปรับตัวที่สมดุลตามสภาพแวดล้อม (Adaptive value)’ ซึ่งหลักการเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เด็กมีโอกาสอยู่รอดในสภาวะสังคมได้มากกว่า เพราะมีพ่อแม่และครอบครัวอยู่ใกล้เพื่อให้การปกป้องเลี้ยงดู โดยหลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีนี้คือ เด็กจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงเปรียบเสมือน ‘เสาหลัก’ ในชีวิต อย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีหลักที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของทารกและเด็กในด้านต่างๆ ทั้งยังขยายไปถึงความสัมพันธ์ในแบบคู่รักด้วยนะ หลายคนอาจสงสัยว่าคนนี้ที่กำลังคุยๆ กันอยู่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.