‘รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์’ ต้นแบบเชื่อมระบบการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้

คาร์ลส์รูห์ คือเมืองในประเทศเยอรมนีที่สถานีรถไฟหลักไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง  ทำให้คนใช้งานน้อยจนเกือบเจ๊ง เกือบเจ๊ง แต่ไม่เจ๊งจริง เพราะคาร์ลส์รูห์คิดแผนพัฒนากู้รถไฟให้ใช้รางร่วมกับรถรางในเมืองได้ในชื่อ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ (Karlsruhe Model) นอกจากเชื่อมการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้ การเกิดขึ้นของ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ ยังลดภาวะรถติด เพิ่มมูลค่าที่ดิน และเพิ่มการจ้างงาน คาร์ลส์รูห์ เป็นเมืองขนาดกลางทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนประเทศฝรั่งเศสมากนัก เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม เพราะเป็นที่ตั้งของหนึ่งในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ และยังมีบริษัทมากมายตั้งอยู่ในเมืองนี้ แต่ที่เราจะเล่าให้ฟังคือ รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์ (Tram-train Karlsuhe) ที่เป็นความสำเร็จของเมืองในการแก้ไขปัญหาขนส่งสาธารณะ จนกลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายเมืองในยุโรปในชื่อ คาร์ลส์รูห์โมเดล (Karlsruhe Model) ปรับให้รถไฟวิ่งบนทางรถราง เรื่องราวเริ่มต้นราวๆ ปี ค.ศ. 1950 ผู้ให้บริการรถไฟรายหนึ่งในเมืองประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับ โดยสาเหตุหนึ่งคือสถานีรถไฟหลักของเมืองไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง แต่อยู่ห่างออกไปถึง 2 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารน้อย เพราะผู้คนที่เดินทางมาจากนอกเมืองต้องไปเปลี่ยนเป็นรถรางและบัสที่วิ่งในเมืองเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง บริษัทเห็นว่าการวิ่งต่อตามทางรถรางเข้าเมืองเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น จึงปรับทั้งระบบไฟฟ้าและความกว้างของรางรถไฟตามทางรถรางเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันได้ รวมรถรางและรถไฟ หลังจากนั้นไม่นานบริษัทที่ดูแลรถรางและรถไฟก็ทำงานร่วมกันภายใต้ชื่อ ‘KVV’ (Karlsruhe Transport Association) เพื่อความสะดวกในการต่อรถของประชาชน แต่ก็ยังขยายเส้นทางของทั้งรถไฟและรถรางแยกกันเรื่อยมา จนในปี ค.ศ. 1992 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.