The Cement City : Mocambique Modern
จากมุมมองการถ่ายภาพแบบ “Cement City” เป็นวิธีเรียก “เขตเมือง” ในประเทศโมซัมบิก เขตนี้บ่งบอกถึงลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ถาวร และแยกตัวออกจากชุมชนแออัดของคนพื้นถิ่นโดยเด็ดขาดซึ่งอาคารต่างๆ ถูกสร้างไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าอาณานิคมเพื่ออยู่อาศัยและปกครองในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองท่าสำคัญแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแนวความคิดจากโลกยุคเก่าสู่โลกยุคใหม่ แต่ความทันสมัยคือสิ่งที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เมื่อทุกสิ่งดำเนินไปความล้ำสมัยของสถาปัตยกรรมจะค่อยๆ ผสานรวมกับกาลเวลาที่คืบคลานมาอย่างช้าๆ และแล้วความจีรังของสถาปัตยกรรมก็ถูกปลดปล่อยออกมา Urban Creature จึงพามาตามติดแนวคิดของของ “เบียร์ – วีระพล สิงห์น้อย” ผ่านมุมมองของช่างภาพสถาปัตย์ | มุมมองสถาปัตยกรรมในเมืองไทยของพี่เบียร์เป็นแบบไหน สถาปัตยกรรมในเมืองไทยถ้าเรื่องการพัฒนา ความเจริญ เราก็ถือว่าโอเคเลยเรียกได้ว่าภูมิภาคนี้เราก็ไม่แพ้ใครแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่ตอนนี้คือ สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นซึ่งจริงๆ แล้วในศัพท์คำว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ความเป็นโมเดิร์นของมันอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปเท่าไหร่ ถ้าโมเดิร์นแบบสมัยใหม่ปัจจุบันนี้เราขอเรียกว่า “ Contemporary” ดีกว่า แต่ถ้าเป็นคำว่า “Modern” ก็คือช่วงสมัยประมาณ 50 – 60 ปีที่แล้ว ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2483 – 2503 ซึ่งคำว่ายุคสมัยใหม่เป็นช่วงแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป ฝั่งเลอกอร์บูซีเยซึ่งเราสนใจสถาปัตยกรรมยุคนี้ | ทำไมถึงชอบสถาปัตยกรรมยุค “โมเดิร์น” คือเรามีความประทับใจเรื่องรูปทรงอยู่แล้วพอเราศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ยิ่งหลงรักสถานที่ต่างๆ มากขึ้นซึ่งที่แรกที่ประทับใจเลยคือ […]