สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่

นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]

ใจบ้านสตูดิโอ : สตูดิโอสถาปนิก ที่ใช้หัวใจในการฟื้นฟู “คลองแม่ข่า”

ถ้าให้นึกถึง ‘เชียงใหม่’ หมุดหมายปลายทางของใครหลายคน ภาพหน้าบ้านที่เห็นอาจจะเต็มไปด้วยความสวยงาม ที่โดดเด่นทั้งประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ผู้คนที่เป็นมิตร และสถานที่ท่องเที่ยวมากมายนับไม่ถ้วน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าในรั้วบ้านของชาวเชียงใหม่ มีปัญหาหนึ่งที่คนในพื้นที่เผชิญมายาวนานหลายสิบปี อย่างปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียของ ‘คลองแม่ข่า’ คลองคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่ ที่ในอดีตเคยเปล่งประกายด้วยความใสสะอาด เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำ หากินด้วยการจับกุ้ง หอย ปลา ปูในคลอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมืองขยายตัว ความเจริญค่อยๆ แทรกตัวเข้ามา สวนทางกับคลองที่เคยเป็นชีวิตของคนริมน้ำก็ค่อยๆ ตายลงไป จากที่เคยเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ก็กลายเป็นที่อยู่ของขยะและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ แทน จนเมื่อไม่นานมานี้ ปัญหาของคลองแม่ข่าได้ถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ด้วยกลุ่มคนทั้งรุ่นเก่า และใหม่ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ให้ดีขึ้น ผ่านโปรเจกต์สุดยิ่งใหญ่อย่าง โครงการ ‘Imagine Maekha’ ที่รวบรวมหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมาทำงานร่วมกัน ซึ่ง ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ ก็เป็นผู้ร่วมเดินทางกลุ่มหนึ่งที่ขับเคลื่อนโปรเจกต์นี้ การเดินทางมาเชียงใหม่ครั้งนี้ เราดีใจมากที่ ‘คุณอ้อ – แพรวพร สุขัษเฐียร’ หนึ่งในผู้บุกเบิกสตูดิโอออกแบบแห่งนี้มานั่งพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของ ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ รวมถึงโปรเจกต์ ‘Imagine […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.