Juumpo Family Recipes อาหารพังงาสูตรก๋ง ที่หากินได้เฉพาะครอบครัวตะกั่วป่า

เมืองกำลังจะเปิดเต็มตัว การท่องเที่ยวก็เริ่มกลับมาคึกคัก ช่วงนี้ใครมีโอกาสได้ไปเยือนพังงาแล้วแพลนยังว่างอยู่ เราขอชวนไปลองชิมอาหารแบบฉบับชาวตะกั่วป่าที่ Juumpo Family Recipes กับอาหารที่มีส่วนผสมของหลายวัฒนธรรมจากการเป็นเมืองท่าของจังหวัดพังงา และเป็นสูตรอาหารอายุกว่า 80 ปี ที่ตกทอดมาจากก๋ง ซึ่งเป็นชาวจีนที่อพยพมาเป็นคนงานในเหมืองแต่ฝีมือทำอาหารแสนโดดเด่นจนได้รับฉายาว่า ‘จุมโพ่’ หรือที่แปลว่าพ่อครัว อาหารของที่นี่จะว่าไม่เคยกินมาก่อนก็ใช่ แต่จะบอกว่าไม่คุ้นเคยก็คงไม่ถูก เพราะมีความเป็นลูกผสมและมาจากสูตรประจำตระกูลทำให้มีรสชาติไม่เหมือนใคร มีความกลมกล่อม มีเครื่องเทศ แต่ไม่ได้เผ็ดร้อนและเน้นเครื่องแกงเหมือนอาหารใต้ที่เราคุ้นเคย แต่ความอร่อยการันตีได้ว่าเด็ดจริง เพราะเป็นร้านแนะนำของมิชลิน ไกด์ด้วย  ถ้าอยากรู้ว่าอาหารของชาวตะกั่วป่าจะเด็ดแค่ไหน และมีเรื่องราววัฒนธรรมอะไรแฝงไว้บ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย! Juumpo Family Recipes ลูกหลานชาวตะกั่วป่าขนานแท้อย่าง ปีย์-ปิยธวัช อนุศาสนนันท์ เริ่มต้นเล่าที่มาของอาหารในแบบฉบับจุมโพ่ไว้ว่า เกิดขึ้นมาจาก ‘ก๋ง’ ซึ่งเป็นชาวจีนที่เดินทางจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งรกรากที่ประเทศไทย “ก๋งเริ่มจากทำงานในเหมืองแร่ ซึ่งเป็นอาชีพหลักในสมัยก่อนของคนแถบนี้อยู่แล้ว ก๋งเนี่ยถือว่าเป็นคนที่ทำอาหารอร่อย ก็จะได้รับหน้าที่หลักในการทำอาหารให้นายเหมือง เพื่อนร่วมงาน หรือกุลี ทุกคนที่ได้กินอาหารฝีมือก๋งก็จะถูกใจแล้วก็จะเรียกก๋งว่าจุมโพ่ ซึ่งภาษาจีนแปลว่าพ่อครัว แล้วคำนี้ก็กลายเป็นฉายาของก๋งมาโดยตลอด ไปไหนมาไหนก็จะเรียกจุมโพ่” ความตั้งใจของปีย์คือการหยิบเอาวัฒนธรรมบาบ๋าหรือเปอรานากันออกมาแสดงให้ทุกคนเห็น ถ้าใครมีโอกาสได้มาพักที่โรงแรมกาล เขาหลัก ซึ่งมีร้านอาหารจุมโพ่เป็นส่วนหนึ่งของที่พัก จะพบว่ามีวัฒนธรรมแบบบาบ๋าแฝงอยู่ทุกที่ ตั้งแต่การต้อนรับ การตกแต่ง ที่พัก […]

‘แท่นบูชาแดง’ ความเชื่อสุดขลังของชาวไทย-จีนฮกเกี้ยน พังงา

บ้านทุกหลังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับคนหลาดเก่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนนั้น คือการไหว้ ‘เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้’ (玉皇) ผ่าน ‘เที่ยนกวนซือฮก’ (天官賜福) แท่นบูชาสีแดงที่มักติดบริเวณหน้าบ้าน เพื่อระลึกถึงเทพฟ้าดิน ระหว่างเดินเล่นที่หลาดเก่า ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เราเห็นว่าทุกบ้านจะมีเที่ยนกวนซือฮกติดอยู่ ต่างกันที่ลักษณะและจุดสำหรับติดตั้งแท่น จึงอดไม่ได้ที่จะยกกล้องเก็บภาพความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนไว้  ชาวไทยจีนฮกเกี้ยนนับถือเทพเจ้า ‘หยกหองซ่งเต้’ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘เง็กเซียนฮ่องเต้’ ประมุขแห่งทวยเทพตามความเชื่อ ซึ่งจะพบเห็นวัฒนธรรมนี้ได้ที่จังหวัดภูเก็ตและพังงา ซึ่งทุกคนต่างเชื่อว่าท่านคือ ‘เทพแห่งฟ้าประทานพร’ ส่วนใหญ่การตั้งเที่ยนกวนซือฮก จะถูกติดตั้งที่เสาซ้ายมือหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า ‘หงอคาขี่’ หากบ้านที่ไม่มีหงอคาขี่ ก็จะถูกติดไว้ที่ด้านซ้ายของหน้าบ้านแทน ตามความเชื่อคนจีนที่ถือฝั่งซ้ายเป็นใหญ่ ธรรมเนียมการไหว้เที่ยนกวนซือฮกจะนิยมทำทุกวันตอนเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ตามด้วยไหว้เทพประจำบ้านและบรรพบุรุษ บางบ้านจะไหว้ในวันพระของไทย​หรือในวันพระของจีน โดยของที่ใช้ไหว้มีผลไม้ น้ำชา และขนม ตามขนาดความกว้างของเที่ยนกวนซือฮก แต่หลักๆ จะนิยมไหว้แค่น้ำชา 3 จอก จากนั้นจุดเทียน และธูปไหว้ 3 ดอก แม้รูปแบบของเที่ยนกวนซือฮกจะแตกต่างกัน แต่ความศรัทธาของชาวหลาดเก่านั้นมีหนึ่งเดียวคือ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ และยังคงเป็นความเชื่อที่ต้องอยู่เสาด้านซ้ายของบ้านเสมอ

ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.