Sex Worker: เมื่อร่างกายฉันไปหนักหัวคนอื่น
“ประเทศเราไม่ใช่จุดหมายปลายทางด้านเซ็กซ์ หากคุณต้องการเซ็กซ์ ให้ไปประเทศไทย” ประโยคจู่โจมบ้านเราจากนายฮามัต บาห์ รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวแกมเบีย ออกมาประกาศผ่านสื่อเตือนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเที่ยวแกมเบียเพื่อเสพสุขทางเพศว่า ‘ไม่ต้องมาที่บ้านเขาหรอก โกทูไทยแลนด์ไปเลยดีกว่า’ ทำเอาชาวไทยออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้น ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ค่อนข้างไม่พออกพอใจ ถึงขั้นที่รัฐมนตรีวัฒนธรรมออกมาพูดว่า ถึงในอดีตบ้านเราจะ “เคยจัด SEX Tour” จริง แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแล้วนะ! แต่ยังมีเสียงอีกส่วนที่มองมุมกลับและลองคิดถึงสาเหตุที่นายบาห์พูดแบบนั้น เพราะว่ากันตามจริง พี่ไทยเราก็ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีการค้าบริการทางเพศรายใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชีย (เป็นน้องรองจากแดนอาทิตย์อุทัย และเมืองโสมกิมจิ) และมีสถิติผู้ขายบริการทางเพศมากถึง 2 ล้านคน เราเลยชวนมาล้วงลับเบื้องลึกเบื้องหลังของ “การขายบริการทางเพศ” ให้ลองขบคิดกัน ร่างกายเป็นต้นทุน Michel Foucault นักทฤษฎีสังคมชาวฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เรื่องอำนาจกับบริบทรอบข้าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับร่างกายในเรื่อง “Discipline and Punishment” – ร่างกายที่ว่านอนสอนง่าย (Docile Body) มองว่าร่างกายคนเราอาจถูกควบคุมโดยไม่รู้ตัวภายใต้การครอบงำด้วยความรู้ และชุดวาทกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอำนาจ ดั่งเช่น วาทกรรมว่าด้วย ร่างกายเป็นสินค้าในระบบทุนนิยม “อำนาจปฏิบัติการอยู่ทุกที่ในสังคม รวมถึง ‘ร่างกายมนุษย์’ ด้วย” จากวาทกรรมร่างกายมนุษย์เป็นสินค้าในระบบเศรษฐกิจที่ครองโลกอย่างทุนนิยม จึงเกิดความเชื่อที่ว่า ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนหรือระบบเศรษฐกิจที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ในตลาด ดังนั้น […]