Social Movement 4.0 ขับเคลื่อนสังคมโดยไม่ต้องลุกจากเก้าอี้ - Urban Creature

จากคำถามบนเวทีประกวด Miss Universe 2017 ที่ผ่านมา ซึ่งสาวมารีญาของเราโดนถามว่า “อะไรคือการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญที่สุดในยุคของคุณ” ซึ่งคำถามนี้ถูกนำมาย่อยและตอบกันอย่างหลากหลายในวงกว้างแล้วว่าการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือ Social movements ในยุคนี้ที่น่าจดจำและสำคัญนั้นมีอะไรบ้าง แต่สำหรับเราชาว Urban Creature แล้วนั้นสิ่งที่น่าสนใจดันเป็นคำตอบของมารีญา ซึ่งได้พูดถึงรุ่นอายุของคนในสังคม หรือ generations นั่นเอง ว่า “เด็ก หรือคนรุ่นใหม่ คืออนาคต” จากคำตอบของเธอเราจึงได้นำมาขบคิดถึงว่า การเคลื่อนไหวทางสังคมเดี๋ยวนี้นั้น นอกจากจะเป็นการแสดงออกทางกายภาพเช่นเดินขบวนรณรงค์ หรือ ประท้วงนั้น มันยังสามารถมาในรูปแบบที่ทันสมัยกว่านั้นมาก แบบที่อะไรหลายๆ อย่างถูกริเริ่มและขับเคลื่อนไปโดยคนรุ่นใหม่ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ นาๆ โดยที่ทุกคนไม่ต้องลุกออกไปจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเลยทีเดียว

นี่คือยุคของ social movement 4.0 หรือยุคแห่งการขับเคลื่อนสังคมในโลกดิจิตอล ซึ่งทุกคนในยุคเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งได้โดยการ take action บางอย่างผ่าน platform ออนไลน์โดยไม่ต้องออกจากบ้านด้วยซ้ำ

และนี่คือวิธีต่างๆ ที่เป็น strategies ของ social movements ในยุคสมัยนี้ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง และคุณอาจจะเป็นหนึ่งในกลไกของการขับเคลื่อนความเคลื่อนไหวทางสังคมโดยที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อนก็ได้ ว่าแค่การที่คุณนั่งอยู่หน้าจอนั้น ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมแล้ว

ร่วมลงชื่อคำร้อง

การร่วมลงชื่อคำร้องหรือที่เรียกว่าการ sign petition นั้นคือการที่แคมเปญใดก็ตามต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยรวบรวมล่ารายชื่อเพื่อให้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการลงชื่อผ่านทางเว็บอย่าง change.org ที่เป็น platform สาธารณะ ใครก็สามารถเข้าไปสร้างแคมเปญได้ ก็อาจจะมีตั้งแต่เรื่องจริงจังแต่ไม่ค่อยมีสาระ อย่างเช่นการล่ารายชื่อเพื่อทวงคืนผัดกะเพราไม่ใส่ถั่วฝักยาว ไปจนถึงการลงชื่อเพื่อให้เฟซบุคเอาจริงเอาจังกับการแบนเพจและบุคคลที่ลงรูปทารุณสัตว์ ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จไปแล้วเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2015 จากการมีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 600,000 คนทั่วโลก ทำให้เฟซบุคสร้างข้อกำหนดเพิ่มขึ้นมา กำหนดว่า “ความรุนแรงต่อสัตว์” นั้นอยู่ภายใต้หัวข้ออาชญากรรมด้วย

อย่างในไทยเรา ถ้ายังจำกันได้ถึงคดีความเรื่องน้องคาร์เมน เด็กน้อยที่เกิดจากแม่อุ้มบุญ โดยคุณพ่อชาวต่างชาติ 2 คน ซึ่งมีแคมเปญ “Bring Carmen Home” บนเว็บ change.org และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2016 ศาลก็ได้มีคำตัดสินให้คุณพ่อทั้ง 2 สามาถรับน้องกลับไปเลี้ยงดูได้ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว โดยที่มีคนร่วมลงชื่อเกินแสนคนบนเว็บไซท์ เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้คดีนี้คืบหน้าอย่างรวดเร็ว

 

แคมเปญ interactive

Boston City Councillor Tito Jackson, left in suit, leads some 200 people in the ice bucket challenge at Boston’s Copley Square, Thursday, Aug. 7, 2014 to raise funds and awareness for ALS.The idea is easy: Take a bucket of ice water, dump it over your head, video it and post it on social media. Then challenge your friends, strangers, even celebrities to do the same within 24 hours or pay up for charity. (AP Photo/Elise Amendola)

แคมเปญ interactive ก็คือแคมเปญที่ให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมโดยการทำอะไรเพียงแค่ง่ายๆ และส่งต่อกันไปเรื่อยๆ อย่างเช่น “Ice Bucket Challenge” เมื่อปี 2014 ซึ่งเป็นแคมเปญสร้าง awareness โรค ALS โดยให้ทุกคนที่โดนรับคำท้า นำน้ำเย็นมาเทราดตัวเองเพื่อให้รู้สึกถึง sensation ของผู้ป่วยโรค ALS และแชร์คลิปหรือรูปภาพพร้อมส่งต่อโดยการท้าเพื่อนให้ทำกันต่อไปเรื่อยๆ เป็นลูกโซ่ ซึ่งแคมเปญนี้ประสบความสำเร็จในระดับโลก โดยที่ทำได้ง่ายๆ ทางโลกออนไลน์เท่านั้น

ในไทยเราก็มี “Hold Your Breath Challenge” ซึ่งเป็นแคมเปญสร้าง awareness เกี่ยวกับโรค Asphyxia หรือภาวะขาดอากาศหายใจในเด็กเล็ก ให้ทุกคนทดลองกลั้นหายใจ จับเวลา และแชร์ผลลัพธ์ผ่านทางหน้าเว็บไซท์ของ Hold Your Breath Thailand ซึ่งเป็นแคมเปญดีๆ ที่ Urban Creature ก็เคยนำมาแนะนำทุกคนไปแล้ว

 

บริจาคเงินสมทบทุน

การนั่งอยู่บ้านและบริจาคเงินสมทบทุนก็ถือว่าเป็นส่วนช่วยให้ social movement เดินหน้าต่อไปได้ เช่นการบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยจากเฮอริเคนฮาร์วี่ในอเมริกา หรือการช่วยบริจาคคนละ 10 บาทเพื่อโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ของพี่ตูน

ไม่ว่าจะเป็นการโพสหาเงินสมทบทุนของมูลนิธิเพื่อหมาแมวจรจัด หรือหมาแมวที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อเป็นค่ารักษาและอาหารของน้อง ก็ถือว่าเรามีส่วนช่วยให้ความเคลื่อนไหวทางสังคมในการปกป้องสิทธิของสัตว์นั้นดำเนินต่อไปได้แล้วล่ะ

 

ติด #hashtag สร้าง awareness

ไม่ว่าจะเป็น #MeToo ที่เห็นผู้หญิงกล้าที่จะออกมาพูดถึงการโดนล่วงละเมิดในรูปแบบต่างๆ สร้างความตระหนักถึงการปกป้องสิทธิผู้หญิงมากขึ้นกับเรื่องราวที่เห็นได้บนหน้าฟีดและทวิตเตอร์ที่อ่านและจุก และไม่คาดคิดว่าผู้หญิงหลายๆ คน จะต้องเจอกับเรื่องอะไรมาบ้าง

จนถึง #BlackLivesMatter ที่โหมมาจากเหตุการณ์ยิงชายผิวสีใน Ferguson อเมริกา ซึ่งชาวอเมริกันผิวสีได้เดินประท้วงรวมถึงก่อม็อบรุนแรงเป็นการตอบโต้เหตุการณ์นี้เลยทีเดียว ซึ่งจากเหตุการณ์นั้น ก็ทำให้ชาวโลกไม่ได้นิ่งดูดาย และพร้อมกันติด #BlackLivesMatter เพื่อเป็นการรณรงค์ถึงความเท่าเทียมกันของทุกเชื้อชาติ

กด Like & Share

วิธีสุดท้ายคือวิธีที่เล็กที่สุดและง่ายที่สุดในการขับเคลื่อน social movement โดยบางครั้งจากการแค่กดแชร์หรือไลค์โพสที่แสดงจุดยืนถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการไลค์หรือแชร์โพสที่ค่อนข้างทางการเกี่ยวกับ feminism ไม่ว่าจะมาจากบุคคลมีชื่อเสียง ไปจนถึงโพสของบุคคลที่ไม่ได้มีเชื่อเสียง ไม่ได้มีอะไรเลย แต่มีการพูดถึงและแสดงจุดยืนในสิทธิสตรีนั้น ก็ถือว่าเป็นกลไกเล็กๆ ในการสนับสนุน feminism movement แล้ว

และการคลิ๊กง่ายๆ เช่นการไลค์ แชร์ เพจ นั้น อาจจะทำให้กลายเป็น social movement ที่ใหญ่ได้ อย่างเช่น movement การปกป้องวิทยาศาสตร์ ซึ่งบุคลากรในแขนงนี้ได้สร้างเพจเฟซบุค “March for Science” ขึ้นมาและสร้าง event เดินขบวนขึ้นมาเพื่อดูว่าจะมีคนกดเข้าร่วมและสนใจมากน้อยแค่ไหน หลังจากที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ ได้แสดงจุดยืนในการไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายครั้ง รวมถึงไม่ให้ความสำคัญเรื่อง global warming สุดท้ายเพจนี้มีคนกดไลค์มากกว่า 8แสนคน และมีอีเว้นท์เดินขบวนที่ถูกจัดขึ้นจริงเมื่อวัน Earth Day 22 เมษายน ปีนี้นี่เอง และมีผู้เข้าร่วมเดินขบวนนับแสนกว่าคนทั่วทั้งอเมริกา และมีการเดินขบวนรณรงค์วิทยาศาสตร์ย่อยๆ อีกหลายเมืองทั่วโลกเลยทีเดียว วิธีการนี้เป็นเหมือนกระบอกเสียงเล็กๆ ที่รวมกันแล้วจะกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่มากได้เลยล่ะ

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.